คบไฟ ปรองดอง จากมือ สนธิ บุญยรัตกลิน กระแส ทางสังคม
ไม่ว่าจะเป็นความพยายามของ พล.ต.สนั่น ขจรประศาสน์ ไม่ว่าจะเป็นความพยายามของ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ที่เรียกร้องให้
1 สถาบันพระปกเกล้า ถอนผลการวิจัย
1 คณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาแนวทางสร้างความปรองดองแห่งชาติ สภาผู้แทนราษฎร ถอนรายงาน
สายไปเสียแล้ว
กล่าว
สำหรับ สถาบันพระปกเกล้า
อาจสามารถแสดงท่าทีห่วงใยและถอนจากความเกี่ยวข้องได้
แต่กล่าวสำหรับคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาแนวทางสร้างความปรองดองแห่ง
ชาติ สภาผู้แทนราษฎร
ยากและยากส์ อย่างยิ่ง
ยากและยากส์เพราะ
ว่ารายงานของคณะกรรมาธิการมิได้อยู่ในความรับผิดชอบของคนใดคนหนึ่งหรือแม้
กระทั่ง พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน ซึ่งเป็นประธาน
พลันที่ที่ประชุม
รัฐสภาลงมติด้วยคะแนนเสียง 348 ต่อ 163 นั่นหมายความว่า
รายงานของคณะกรรมาธิการได้อยู่ในความรับผิดชอบของรัฐสภาแล้วอย่างบริบูรณ์
ยิ่งกว่านั้น ที่สำคัญเป็นอย่างยิ่งคือเนื้อหาอันปรากฏในการวิจัยและรายงานของคณะกรรมาธิการ
กระบวนท่าอันสำแดงผ่านพรรคประชาธิปัตย์โดย นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หรือแม้กระทั่งการออกโรงหนุนโดย พล.ต.สนั่น ขจรประศาสน์
เสมือนเป็นเพียงกลยุทธ์ 1 ในทางการเมือง
เพราะ
ในความเป็นจริง พรรคประชาธิปัตย์ก็มีอยู่เพียง 159 เสียง
เพราะในความเป็นจริงเสียงของ พล.ต.สนั่น ขจรประศาสน์
ก็มิได้หมายรวมว่าเป็นเสียงของพรรคชาติไทยพัฒนา
แม้จะอยู่ในฐานะที่ปรึกษาของพรรคก็ตาม
กระนั้น
แม้ว่ากลยุทธ์นี้ของพรรคประชาธิปัตย์และของ พล.ต.สนั่น ขจรประศาสน์
จะประสบความสำเร็จเมื่อมีการถอนผลวิจัยของสถาบันพระปกเกล้า
แต่ที่ไม่ควรมองข้ามก็คือ เรื่องทั้งหมดอันปรากฏผ่านผลการวิจัย
เรื่องทั้งหมดอันดำรงอยู่ภายในรายงานของคณะกรรมาธิการ ซึ่ง 348
เสียงให้ความเห็นชอบมิได้ดำรงอยู่อย่างสถิต
ตรงกันข้าม เป็นสภาพที่ดำรงอยู่อย่างมีพลวัต ดำรงอยู่อย่างมีกัมมันต์ (แอ๊กทีฟ) และพร้อมส่งแรงสะเทือนออกไปอย่างไม่หยุดนิ่ง
อย่าคิดว่าคำถามเรื่องเบื้องหลังรัฐประหารเดือนกันยายน 2549 จะไม่มีความหมาย
อย่า
คิดว่าข้อเสนอให้ล้มเลิกบทบาทและความหมายของคณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่
ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ (คตส.) จะหายไป ในความว่างเปล่าแห่งพาหิรากาศ
(อ่านต่อ)
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1333166146&grpid=01&catid=&subcatid=
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น