หน้าเว็บ

วันเสาร์ที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2555

ประวัติศาสตร์สำนึกบุญคุณ vs.ประวัติศาสตร์ก้าวหน้า

ประวัติศาสตร์สำนึกบุญคุณ vs.ประวัติศาสตร์ก้าวหน้า

 


โดยสุรพศ ทวีศักดิ์


สำนึกทางประวัติศาสตร์ของคนในชาติเกี่ยวข้องอย่างสำคัญ กับสภาพสังคมที่เป็นอยู่กับสังคมที่ควรจะเป็น เพราะสภาพสังคมปัจจุบันเป็นอย่างอย่างไร หรือสังคมในอนาคต "ควรจะเป็น" อย่างไร สำนึกทางประวัติศาสตร์ของคนในชาติคือรากฐานของ "จินตภาพ" (vision) แห่งสังคมที่เป็นอยู่ หรือที่ควรจะเป็น

สำหรับสังคมไทยดูเหมือนจะมีการต่อสู้ระหว่างสำนึกทางประวัติศาสตร์ที่ขัดแย้งกันในสาระสำคัญมานาน คือการต่อสู้ระหว่าง "สำนึกทางประวัติศาสตร์อนุรักษ์นิยม" กับ "สำนึกทางประวัติศาสตร์ก้าวหน้า"


สำนึกทางประวัติศาสตร์อนุรักษ์นิยม คือ "ประวัติศาสตร์เพื่อปลูกฝังสำนึกบุญคุณ" ในหมู่ประชาชน ดังบทกลอน "คุณธรรม: คุณค่าประวัติศาสตร์" จากสกู๊ป "คมธรรมประจำวันของท่าน ว.วชิรเมธี" ที่ว่า


"เพราะไม่เรียน ประวัติศาสตร์ จึงขาดรักษ์
ไม่รู้จัก คุณแผ่นดิน ทุกถิ่นฐาน
เป็นคนไทย ถ้าไร้ราก ซากวิญญาณ
จึงดักดาน เดินดุ่ม สู่หลุมดำ"


นี่คือบทกลอนที่ "เกาะกระแส" ข้ออ้างเรื่อง "ไม่รู้ประวัติศาสตร์ ไม่รู้บุญคุณแผ่นดิน" ซึ่งเป็นข้ออ้างหลักอย่างหนึ่งของฝ่ายอนุรักษ์นิยมที่ใช้ในการคัดค้านแนวคิด การสร้างประชาธิปไตยที่ใช้หลักการสากล คือหลักสิทธิ เสรีภาพ ความเสมอภาคกับทุกสถาบันทางสังคม


เช่น แนวคิดที่เสนอให้มีการปฏิรูปสถาบันทางการเมืองต่างๆ เช่น กองทัพ ให้เป็นประชาธิปไตย มีความโปร่งใสภายใต้หลักการสากล คือการมีระบบกฎหมายรองรับให้ประชาชนผู้เป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตยมีสิทธิ เสรีภาพในการวิพากษ์วิจารณ์ตรวจสอบได้ เป็นต้น

ส่วนสำนึกทางประวัติศาสตร์ก้าวหน้า คือ "ประวัติศาสตร์สืบค้นความจริงของอดีตอย่างรอบด้าน เพื่อเป็นบทเรียนสร้างปัจจุบันและอนาคตที่ดีกว่า" สำนึกทางประวัติศาสตร์เช่นนี้คือสำนึกรักความจริง ความถูกต้องตามหลักการอุดมการณ์ประชาธิปไตย เรียกร้องการสืบค้นความจริงทั้งด้านบวก ด้านลบ หรืออย่างรอบด้านที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ เพื่อนำมาสู่การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ วิพากษ์วิจารณ์ถกเถียง และสรุป "บทเรียน" ให้เกิดความความรู้ ความคิด ปัญญาของคนในชาติ เพื่อสร้างสังคมปัจจุบัน และอนาคตให้ก้าวหน้า หรือน่าอยู่ยิ่งขึ้นเรื่อยๆ


(อ่านต่อ)
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1333192544&grpid&catid=02&subcatid=0207 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น