หน้าเว็บ

วันจันทร์ที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2555

"ราชาธิปไตย" ในยุคสมัยใหม่ โดย เบเนดิกต์ แอนเดอร์สัน

"ราชาธิปไตย" ในยุคสมัยใหม่ โดย เบเนดิกต์ แอนเดอร์สัน




บเนดิกต์ แอนเดอร์สัน หรือ รู้จักกันในแวดวงนักวิชาการเมืองไทยว่า “อาจารย์เบน” นักวิชาการชาวไอริชผู้โด่งดังจากการศึกษาลัทธิ “ชาตินิยม” ในหลายชาติ และเป็นผู้เชี่ยวชาญประวัติศาสตร์ไทย กล่าวบรรยายในหัวข้อ “ราชาธิปไตย โลกในยุคสมัยใหม่” เมื่อวันที่ 9 มี.ค. ที่คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

โดยเป็นส่วนหนึ่งของงานเสวนาเรื่อง “วิกฤตประชาธิปไตยในประเทศไทย”

อาจารย์เบนเริ่มต้นด้วยการอธิบายว่า “ราชาธิปไตย” ในภาษาอังกฤษใช้คำว่า “monarchy”

ซึ่งในรากศัพท์แปลว่า การปกครองโดยคนๆ เดียว ต่างจาก “คณาธิปไตย” (oligarchy) ที่แปลว่า การปกครองโดยคนกลุ่มน้อย หรือ “ประชาธิปไตย” (democracy) ที่แปลว่า การปกครองโดยคนกลุ่มใหญ่

ในโลกปัจจุบัน ราชาธิปไตยมีไม่มากเหมือนเมื่อ 100 ปีที่แล้ว ในสหประชาชาติทุกวันนี้ มีประเทศราชาธิปไตยเพียงร้อยละ 13 เท่านั้น

หากนับประเทศราชาธิปไตยทั้งหมดรวมกัน มีเนื้อที่เล็กกว่าประเทศบราซิลประเทศเดียว ประชากรรวมกัน ก็น้อยกว่าอินเดียประเทศเดียว

จึงมีคำถามสำคัญว่า ราชาธิปไตยหายไป ไหนหมด

าจารย์เบนชี้ว่า ในประวัติศาสตร์นั้นมีสิ่งท้าทายราชาธิปไตยอยู่ 3 ประการใหญ่ๆ

ประการที่หนึ่งคือ สงคราม

สงครามครั้งใหญ่ๆ มักจะเป็นจุดจบหรืออย่างน้อยก็จุดเปลี่ยนของระบอบราชาธิปไตย เช่น หลังสงครามโลกครั้งที่ 1 พระเจ้าซาร์นิโคลัสที่ 2 แห่งรัสเซียถูกโค่นล้ม

หลังสงครามโลกครั้งที่สอง จักรพรรดิญี่ปุ่นถูกฝ่ายสัมพันธมิตรลดอำนาจลงมาก ทั้งนี้เนื่องมาจากสงครามเป็นตัวเร่งให้เกิดความเปลี่ยนแปลงในสังคม

ประการที่สองคือ ขบวนการอุดมการณ์ต่างๆ

เช่น ขบวนการอนาธิปไตยในศตวรรษที่ 19 ที่ลอบสังหารประมุขราชาธิปไตยยุโรปหลายแห่ง เช่น พระเจ้าซาร์อเล็กซานเดอร์ที่ 2 ของรัสเซีย หรือจักรพรรดินีอลิซาเบธของออสเตรีย

ขบวนการชาตินิยมมักเป็นศัตรูกับระบอบราชาธิปไตยเช่นกัน เช่น กรณีมกุฎราชกุมารฟรานซ์เฟอร์ดินานด์ที่ถูกขบวนการชาติ นิยมเซอร์เบียลอบยิงในปีค.ศ.1914 จนนำไปสู่สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง และเหตุการณ์ปฏิวัติโค่นราชวงศ์ ชิงของจีน ที่นำโดยขบวนการชาตินิยมของ “ซุนยัดเซ็น”

อ.เบนอธิบายว่า เป็นเพราะในอดีต ประมุขราชาธิปไตยไม่ได้มองตัวเองว่าเป็นตัวแทนของชาติ” จึงยากที่จะหาความชอบธรรมได้เมื่อเกิดกระแส “ชาตินิยม” (แนวคิดที่ว่า คนในดินแดนเดียวกัน เชื่อมโยงเป็นชาติเดียวกัน)

ปัญหานี้ยิ่งใหญ่ในรัฐราชาธิปไตยที่มีเนื้อที่ครอบคลุมพื้นที่กว้างใหญ่หลายเชื้อชาติ หลายวัฒนธรรม เมื่อชนเหล่านี้มีแนวคิดชาตินิยม จึงมักเรียกร้องเอกราชออกจากรัฐราชาธิปไตยนั้นๆ


(อ่านต่อ)
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1331535169&grpid=&catid=03&subcatid=0305

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น