หน้าเว็บ

วันจันทร์ที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2555

GDP ต่อหัวของปักกิ่งใกล้ระดับร่ำรวย แต่ระดับความสุขประชาชนต่ำ

GDP ต่อหัวของปักกิ่งใกล้ระดับร่ำรวย แต่ระดับความสุขประชาชนต่ำ 


 




เมื่อเร็วๆ นี้ กรมสถิติของกรุงปักกิ่งได้ประกาศตัวเลขสถิติของปี 2554 ว่า GDP ต่อหัวของปักกิ่งอยู่ที่ 80,394 หยวน (มีมูลค่าเท่ากับ 12,447 ดอลลาร์สหรัฐ) ซึ่งใกล้ระดับของประเทศที่ร่ำรวย และสูงกว่า GDP ต่อหัวโดยเฉลี่ยของจีนเป็นเท่าตัว ทำให้ช่องว่างความแตกต่างระหว่างมณฑลหลายมณฑลของจีนเพิ่มมากยิ่งขึ้น ซึ่งถือว่าเป็นประเด็นที่สำคัญอย่างมากในกระบวนการพัฒนาเศรษฐกิจจีนในอนาคต

      

ทั้งนี้ นางหยูซิ่วฉิน รองอธิบดีของกรมสถิติปักกิ่งให้คำแนะนำว่า ตามมาตรฐานของธนาคาร World Bank ว่า หากคิดตาม GNIต่อหัว (หรือเรียกว่า GNP: Gross National Product) ต่ำกว่า 1,005 ดอลลาร์สหรัฐถือเป็นระดับประเทศที่มีรายได้ต่ำ 1,006-3,975 ดอลลาร์สหรัฐเป็นระดับประเทศที่ปานกลางค่อนข้างต่ำ 3,976-12,275 ดอลลาร์สหรัฐเป็นระดับประเทศที่ปานกลางค่อนข้างสูง 12,276 ดอลลาร์สหรัฐขึ้นไปก็ถือเป็นระดับประเทศที่ร่ำรวย แม้ว่าในประเทศจีนส่วนใหญ่คิดตาม GDP แต่ก็สามารถเปรียบเทียบมาตรฐานดังกล่าวได้ ซึ่งแสดงให้เห็นว่า GDP ต่อหัวของกรุงปักกิ่งได้เข้าสู่ระดับร่ำรวยแล้ว         

ผู้เชี่ยวชาญจากศูนย์วิจัยเศรษฐกิจจีนจาก The Chinese Academy of Social Sciences กล่าวว่า ปัจจุบันนี้ เศรษฐกิจทางด้านอุตสาหกรรมและมูลค่าเพิ่มของปักกิ่งอยู่ในระดับค่อนข้างสูง แล้ว โดยอุตสาหรรมบริการของปักกิ่งได้พุ่งสูงขึ้นถึง 1.2 ล้านล้านหยวน ครองสัดส่วน GDP ของปักกิ่งร้อยละ 75.7 สร้างรายได้ต่อการคลังท้องถิ่นถึงร้อยละ 85 แต่อย่างไรก็ตาม หากเปรียบเทียบกับต่างประเทศ ปักกิ่งยังล้าหลังอย่างมาก โดย GDP ต่อหัวเป็น 1 ใน 17 ของโตเกียว 1 ใน 8 ของนิวยอร์ และ1 ใน 7 ของลอนดอน
      


ในด้านชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน สวัสดิการของประชาชนยังค่อนข้างน้อย และรายได้โดยเฉลี่ยของปีที่แล้วอยู่เพียง 32,900 หยวนเท่นนั้น ครองสัดส่วนร้อยละ 40 ของ GDP ต่อหัว ทำให้ประชาชนไม่รู้สึกว่าอยู่ในระดับประเทศที่ร่ำรวยอย่างแท้จริง
        
ปีที่ผ่านมา อุตสาหกรรมบริการและอุตสาหกรรมวัฒนธรรมที่มีความคิดสร้างสรรค์ได้แสดงบทบาท สำคัญเป็นอย่างยิ่งในการเติบโตทางเศรษฐกิจของปักกิ่ง และในอนาต ยังมีแนวโน้มที่จะพัฒนาต่อไป แต่หากปักกิ่งมีการลงทุนในด้านการเสริมสร้างสาธารณูปโภคและสวัสดิการของ ประชาชนมากขึ้นพร้อมกัน อาจจะสามารถทำให้ระดับความสุขของประชาชนเพิ่มสูงขึ้นเท่าระดับประเทศที่ร่ำ รวยอย่างแท้จริง
 
ที่มา:ศูนย์ข้อมูลธุรกิจไทยในจีน ณ กรุงปักกิ่ง
 

(ที่มา)
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1331552168&grpid=&catid=06&subcatid=0600

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น