หน้าเว็บ

วันเสาร์ที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

ธเนศ วงศ์ยานนาวา ชี้การอ่านในโลกดิจิตอลเหนือการควบคุมของรัฐชาติ

ธเนศ วงศ์ยานนาวา ชี้การอ่านในโลกดิจิตอลเหนือการควบคุมของรัฐชาติ

 

 


(5 พ.ค.55) ธเนศ วงศ์ยานนาวา อาจารย์คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ บรรยายในหัวข้อ "การอ่านในยุคดิจิตอล" ในค่ายเขียนงานสร้างสรรค์กรุงเทพมหานคร จัดโดย Bookmoby ร่วมกับหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร โดยกล่าวว่า สื่อกระดาษที่เป็นรูปแบบหนึ่งของข้อมูลและเทคโนโลยีแบบดั้งเดิมและอักษรใน ฐานะเทคโนโลยีแบบหนึ่ง กำลังจะถูกเปลี่ยนให้กลายเป็นสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งจะทำให้รูปแบบการอ่านเปลี่ยนไป ปริมาณการอ่านหนังสือผ่านหนังสือในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์มีปริมาณเพิ่มขึ้น ทั้งที่เมื่อเทียบกันแล้วการอ่านจากบนจอช้ากว่าการอ่านผ่านกระดาษ 20-30% แต่ในมิติของการเรียนรู้ พบว่า สื่อดิจิตอลจะดึงดูดความสนใจสำหรับเด็กมากกว่า จนทำให้เด็กมีความสามารถในการเรียนรู้เพิ่มมากขึ้น

เขากล่าวว่า การอ่านผ่านโลกยุคดิจิตอลในแบบที่ hypertext (การคลิกลิงก์ไปยังข้อความต่างๆ) ที่พร้อมที่จะทำให้เกิดการย้ายตัวบทไปสู่ตัวบทใหม่ๆ เสมอ แสดงให้เห็นถึงความไม่ต่อเนื่องในการอ่าน แต่ก็กลับเป็นการแสดงให้เห็นถึงการเชื่อมต่อกับตัวบทที่มีการข้ามตัวบทจาก ตัวบทหนึ่งไปสู่อีกตัวบทหนึ่ง สถานะของ hypertext จึงไม่มีขั้นตอนว่าอะไรอยู่ในตำแหน่งที่สูงกว่าที่จะจำเป็นต้องเข้าถึงก่อน หรือเป็นส่วนสรุปสุดท้าย ซึ่งหมายถึง hypertext ไม่มีลำดับชั้น เมื่อไม่ลำดับขั้นก่อนหลังและสูงต่ำ เส้นทางของความเป็นเสรีประชาธิปไตยในการอ่านก็มีเพิ่มมากขึ้นไปด้วย

ทั้งนี้การอ่านใน hypertext ก็ทำให้การอ่านอยู่ในโลกของความเป็นอนันต์ (infinity) เพราะอาณาเขตของตัวบทเป็นสิ่งที่กำหนดได้ยาก แต่ละประโยคมีช่องทางออกเสมอ ช่องทางที่จะนำพาผู้อ่านไปสู่โลกใหม่ๆ ที่ไม่มีอาณาเขตของความรู้ ไม่มีการแยกกันระหว่างสาขาต่างๆ เพราะทุกอย่างถูกเชื่อมโยงถึงกันได้หมด แต่ก็ใช่ว่าจะทำให้เกิดการบูรณาการของความรู้ได้ เมื่อทุกอย่างดำเนินไปอย่างไม่มีที่สิ้นสุด ก็ทำให้ทุกอย่างไม่มีจุดเริ่มและไม่มีจุดจบ ทุกๆ ที่เป็นจุดเริ่มและจุดจบได้ในเวลาเดียวกัน เมื่อเป็นอะไรที่ไม่มีที่สิ้นสุดก็ทำให้ยากจะรู้ว่าสิ่งที่ไม่มีที่สิ้นสุด มีรูปร่างหน้าตาเป็นอย่างไร รวมถึงกลับทำให้วิตกกังวลกับอะไรที่ไม่รู้ถึงจุดที่สิ้นสุด ราวกับว่าไม่มีใครสามารถควบคุมมันได้

นอกจากนี้ เมื่อบวกกับความหลากหลายของตัวบทอิเล็กทรอนิกส์ที่เปิดโอกาสให้มีการเปลี่ยน แปลงแก้ไขเรื่องราวต่างๆ ได้ ก็ยิ่งเพิ่มความหลากหลายขึ้นอีก โดยยกตัวอย่างกรณีวิกิพีเดีย ที่ไม่สามารถหาผู้ประพันธ์ได้อย่างแท้จริง เพราะทุกๆ คนเข้าไปแก้ไขได้ แต่ก็ไม่มีใครที่ได้คะแนนหรือเงินจากการประพันธ์ในลักษณะนี้ เพราะทุกคนเป็นผู้ประพันธ์นิรนาม

"พื้นที่ของตัวบทแบบวิกิพีเดียจึงเป็นโลกในอุดมคติของศาสนาที่ไม่มีใคร สามารถที่จะแสดงความเป็นเจ้าของ หรือถ้าจะกล่าวอีกนัยหนึ่ง ทุกๆ คนก็เป็นเจ้าของ นี่เป็นอุดมคติของคอมมิวนิสต์ที่ได้เกิดขึ้นจริงแล้วในโลกดิจิตอล ทุกๆ คนมีส่วนร่วมในการสร้างความรู้ที่ไม่ต้องเสียเงินเสียทองให้กับสถาบันการ ศึกษาที่นับวันค่าใช้จ่ายสำหรับการศึกษาก็มีแต่สูงขึ้น"

ทั้งนี้ การอ่านในโลกคอมพิวเตอร์ไม่ได้เป็นเพียงแค่การอ่านหนังสืออย่างเดียวเท่า นั้น แต่ยังเป็นการอ่านวัตถุแบบอื่นหรือสื่ออื่นไปพร้อมกันด้วย เช่น การอ่านอีเมล เป็นต้น ผู้อ่านเองพร้อมเสมอที่จะเปลี่ยนไปสู่การอ่านแบบอื่นๆ เพียงเวลาไม่กี่นาที การอ่านในโลกดิจิตอลจึงเป็นการอ่านที่มีเสรีภาพ แม้ว่าเสรีภาพดังกล่าวจะหมายถึงความไม่อดทนต่อการอ่านอะไรอย่างใดอย่างหนึ่ง เป็นระยะเวลายาวนานก็ตาม

นอกจากนี้ในโลกของ hypertext ที่ทุกอย่างไม่ได้พุ่งเป้าไปสู่จุดสุดยอดหรือมีเป้าหมายเพียงหนึ่งเดียว สถานะของผู้ประพันธ์จึงไม่ได้มีอำนาจแบบเดิมอีก เพราะผู้อ่านสามารถเริ่มต้นเรื่องราวเรื่องหนึ่งแล้วเดินแยกไปตามแต่ความ ต้องการของผู้อ่านว่าจะสนใจและต้องการทำความเข้าใจประเด็นใดก่อนหรือหลังได้ ด้วย

ธเนศ กล่าวว่า ในโลก hypertext ในโลกของการเขียนแบบนี้ มันไม่สามารถจะทำให้ "ประเทศไทยรวมเลือดเนื้อชาติเชื้อไทย" อีกแล้ว มันไม่สามารถทำให้คุณมีโฟกัสร่วมกันอีกได้ง่ายๆ แบบเดิม คุณกำหนดไม่ได้เลยว่าคนอ่านจะอ่านอะไร เพราะถึงแม้ว่ากูเกิลจะขึ้นให้คุณ 10 ที่ แต่มันก็สามารถจะพาคุณไปไหนต่อไหนได้ เพราะฉะนั้น ถ้าพูดแบบง่ายๆ ในนัยยะทางการเมือง คือ คุณเลิกคิดได้แล้วว่าทุกคนจะคิดในแบบเดิม เพราะไม่ต้องพูดถึงเนื้อหา คุณจะบอกว่ารักชาติศาสน์กษัตริย์แบบที่คุณประยุทธ์ (จันทร์โอชา) พูด อ่านใน text นี้ แต่มันพาคุณไปไหนก็ไม่รู้ อาจจะไปลงท้ายที่สังคมนิยม คอมมิวนิสต์ก็ได้ คุณคุมมันไม่ได้ เหมือนกับที่เราบอกว่าอินเทอร์เน็ตคุณคุมมันไม่ได้ มันล็อคอยู่ในโครงสร้าง มันไม่เหมือนเขียนหนังสือที่ฟอร์มของหนังสือมันตายตัว

(ที่มา)
http://www.prachatai.com/journal/2012/05/40367

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น