หน้าเว็บ

วันศุกร์ที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

ต่อต้านทักษิณ โดยไม่ต่อต้านประชาธิปไตย เป็นไปได้ไหม?และต้องทำอย่างไร?

ต่อต้านทักษิณ โดยไม่ต่อต้านประชาธิปไตย เป็นไปได้ไหม?และต้องทำอย่างไร?


 








โดย เกษียร เตชะพีระ

 

ส่วน เรื่องที่ไม่เอานิรโทษกรรม ตนได้พูดกับ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เพียงคำเดียวว่า ′ดิฉันไม่เอา นิรโทษกรรม′ เท่านั้น จากนั้นก็มีข่าว จาก พ.ต.ท.ทักษิณออกมาบอกว่าให้ลืมๆ กันไป เดินหน้าปรองดอง ตนไม่เชื่อคำพูดใครทั้งสิ้น..."

นางพะเยาว์ อัคฮาด มารดาของ น.ส.กมนเกด อัคฮาด 

พยาบาลอาสาที่ถูกยิงบริเวณวัดปทุมวนารามในการสลายการชุมนุมเมื่อ 19 พ.ค. 2555

(http://www.bangkokbiznews.com, 26 เม.ย.2555)


เมื่อ เร็วๆ นี้ ผมตั้งคำถามเป็นการบ้านให้นักศึกษาโครงการปริญญาเอกวิชาสัมมนาการเมือง การปกครองไทยที่รัฐศาสตร์ ธรรมศาสตร์ ลองตอบดูว่า :

"จาก บทอ่านเรื่อง Kasian Tejapira, "Toppling Thaksin" (๒๐๐๖, www.newleftreview.org/?view=2615) และ Thongchai Winichakul, "Toppling Democracy" (๒๐๐๘, www.sameskybooks.org/wp-content/uploads/2008/02/j-of-contem-asia-2008-thongchai-winichakul-toppling-democracy.pdf) ให้นักศึกษาลองวิเคราะห์วิจารณ์ว่า การต่อต้านทักษิณโดยไม่ต่อต้านประชาธิปไตยไปด้วยนั้น เป็นไปได้หรือไม่? และต้องทำอย่างไรบ้าง?"

คำ ตอบของนักศึกษาเลขทะเบียน 5403300022 มีประเด็นแหลมคมชวนคิดน่าสนใจ อีกทั้งสอดรับกับสถานการณ์การเมืองปัจจุบัน ผมขออนุญาตคัดบางตอนมานำเสนอโดยแก้ไขปรับแต่งถ้อยคำบ้างเล็กน้อย ดังนี้ : 

"...พิจารณาจากหลักการพื้นฐานที่สำคัญของประชาธิปไตยดังนี้ :

1) รัฐบาลมาจากความยินยอมของประชาชน ประชาชนถืออำนาจอธิปไตย แต่งตั้งถอดถอน รัฐบาลได้ผ่านกระบวนการที่ตกลงไว้

2) ระบอบการปกครองฟังเสียงข้างมาก โดยมิได้ละเมิดล่วงเกินสิทธิขั้นมูลฐานของฝ่าย ข้างน้อย

3) ปกครองโดยหลักนิติธรรม ยุติธรรมเสมอหน้า

4) ค้ำประกันสิทธิมนุษยชนของประชาชน และ

5) มีการสืบทอดอำนาจโดยสันติ

จากหลักการทั้ง 5 ประการสามารถสรุปอำนาจประชาธิปไตยได้เป็นสองส่วนคือ ที่มาของ อำนาจ กับ กระบวนการใช้อำนาจ

ซึ่งกรณีทักษิณ เกษียรให้ความสำคัญกับกระบวนการใช้อำนาจของทักษิณ

ใน ขณะที่ธงชัยให้ความสำคัญกับที่มาของอำนาจของทักษิณ แต่เน้นความสนใจไปที่การใช้อำนาจของสถาบันชนชั้นนำตามประเพณีเป็นเรื่องหลัก อันแสดงให้เห็นว่าข้อถกเถียงระหว่างทั้งสองเป็นเรื่องอัตวิสัยในการพิจารณา ความสำคัญของกระบวนการประชาธิปไตย

อย่าง ไรก็ตาม การต่อต้านทักษิณกับการพยายามไม่ให้สถาบันชนชั้นนำตามประเพณีแทรกแซงกระบวน การประชาธิปไตยอาจเป็นเรื่องเดียวกัน กล่าวคือเป็นเรื่องของประชาธิปไตยที่ก้าวข้าม การพึ่งพิงตัวบุคคลผู้นำที่มีบุคลิกแบบอำนาจนิยมและต่อต้านอำนาจรวมศูนย์ทุน นิยมพวกพ้อง ควบคู่กับการหลีกเลี่ยงไม่นำสถาบันชนชั้นนำตามประเพณีมาเป็นเครื่องมือทาง การเมืองโดยอาศัยภาพผู้พิทักษ์ประชาธิปไตย พยายามแยกทั้งทักษิณและสถาบันชนชั้นนำตามประเพณีออกจากภาพแทนประชาธิปไตย

อย่าง ไรก็ตาม ต้องยอมรับว่าต้องมีพื้นที่ให้ทักษิณดำรงอยู่ ไม่ผลักออกไปจากการเมืองโดย อ้างเรื่องคุณธรรม แต่จะทำอย่างไรให้เขาอยู่ในสังคมการเมืองได้โดยไม่ฉกฉวยผลประโยชน์เฉพาะ กลุ่มหรือกล่าวอีกนัยหนึ่งว่าจะจัดการกับกลุ่มทุนอย่างไรไม่ให้ทำลาย ประชาธิปไตย

การ ต้านทักษิณโดยไม่ต่อต้านประชาธิปไตยสามารถกระทำได้โดยสร้างระบบกลไกที่ไม่ ต้องพึ่งพิงตัวบุคคลสถาบันชนชั้นนำตามประเพณีให้เข้ามามีอำนาจนำทางการเมือง ดังนี้ :

1) ต้องยอมรับว่าทักษิณและพวกพ้องที่ผ่านมาไม่ได้เท่ากับประชาธิปไตย หรือประชาธิปไตยไม่ใช่แค่การเลือกตั้ง ทว่ารัฐบาลทักษิณเป็นประชาธิปไตยเพียงครึ่งเดียวคือ ในแง่การได้มาซึ่ง อำนาจ แต่ในแง่การใช้อำนาจนั้น รัฐบาลทักษิณไม่สามารถรักษาความชอบธรรมไว้ได้ จนนำมาสู่ความขัดแย้งและทำลายรัฐบาลของตัวเอง ทั้งนี้ ชี้ให้เห็นว่าการทำลายประชาธิปไตยปรากฏได้เสมอ แม้ภายใต้รัฐบาลที่มาจากเสียงข้างมาก


กระนั้น พึงตระหนักด้วยว่าการฟื้นฟูประชาธิปไตยมิใช่จะทำได้ด้วยการโค่นล้มรัฐบาลที่ ละเมิดสัญญาประชาคมโดยวิธีรัฐประหาร หรือดึงสถาบันชนชั้นนำตามประเพณีมาใช้ แต่อยู่ที่การผลักดันของภาคสังคมผ่านกลไกที่เป็นทางการหรือผ่านขบวนการ เคลื่อนไหวอื่นๆ

2) ความเข้มแข็งของภาคประชาชนยังมีความจำเป็นในการเฝ้าระวังกลุ่มทุนต่างๆ รวมทั้ง อำนาจการจัดการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและชุมชนก็จำเป็นเช่นกัน กล่าวคือการกระจายอำนาจยังเป็นสิ่งจำเป็น มิใช่การรวมศูนย์อำนาจไว้ที่ตัวนายกรัฐมนตรี

อย่าง ไรก็ตาม ไม่อาจปฏิเสธได้ว่าต้องทำให้ทั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและส่วนภูมิภาคที่ เคยเป็นแขนขาให้นักการเมืองระดับชาติมีอิสระในการทำงานและมีกลไกที่ภาค ประชาชนเข้าไปตรวจสอบการทำงานได้มากขึ้น 

 
นอก จากนี้ ปัญญาชนสาธารณะต้องมีบทบาทในการเฝ้าระวังตรวจสอบการทำงานของรัฐบาลโดยกลุ่ม คนเหล่านี้ควรเป็นคนที่มีความคิดแนวขวากลางหรือซ้ายกลาง ไม่สุดโต่งไปทางใด ทางหนึ่ง เพื่อติดตามการเคลื่อนไหวของกลุ่มทุน นโยบายที่รุกรานทรัพยากรสิ่งแวดล้อม สิทธิ มนุษยชน หรือสิทธิพื้นฐานของชุมชน รวมไปถึงการใช้งบประมาณรัฐ การใช้เงินของพรรคการเมือง 

อนึ่ง การแสดงความไม่เห็นด้วยกับการตัดสินใจของรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งมิได้ หมายถึงการทำลายประชาธิปไตย ตรงกันข้าม การผลักไสคน/กลุ่มคนที่คัดค้านนโยบายบางประการของรัฐบาลออกไปโดยอ้างว่า เป็นพวกเสื้อสีตรงข้ามกับตน-นั่นต่างหากที่บ่อนทำลายประชาธิปไตย ดังที่เกิดขึ้นในกรณีคัดค้านการสร้างเขื่อน กรณีเซ็นเซอร์ภาพยนตร์ เป็นต้น เพราะเท่ากับเป็นการลดพื้นที่ตรวจสอบการทำงานของรัฐ เปิดโอกาสให้รัฐใช้อำนาจได้ตามอำเภอใจโดยอ้างเสียงข้างมาก

อย่าง ไรก็ดี การเคลื่อนไหวคัดค้านการตัดสินใจของรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งก็พึงระวัง ไม่ชักนำกองทัพหรือสถาบันชนชั้นนำตามประเพณีมาเป็นเครื่องมือในการต่อต้าน รัฐบาลเช่นกัน 

3) การออกกฎหมายหรือรัฐธรรมนูญเพื่อกีดกันบุคคลหรือกลุ่มการเมืองใดให้ออกไปจากเวทีการเมืองมิใช่ทางออกที่เหมาะสม

เพราะ การเมืองเป็นเรื่องที่ต้องให้ทุกกลุ่มมีพื้นที่มีส่วนในอำนาจ การป้องกันการผูกขาด อำนาจหรือใช้อำนาจโจมตีคู่แข่งอย่างผิดกติกาการเมืองต่างหากที่จำเป็น


4) การสกัดกั้นกลุ่มทุนทักษิณซึ่งเป็นภาพแทนทุนโลกาภิวัตน์โดยเปลี่ยนกระแส เสียงข้างมากนั้น ต้องใช้เวลา รอโอกาส เพราะที่จริงก็คือ ต้องสู้กับกระแสเศรษฐกิจระดับโลกไปพร้อมกัน อันมิใช่เรื่องง่าย


(ที่มา)




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น