ศุกร์ 13 เพื่อไทย สยอง? (ภาคแรก)
วีรพัฒน์ ปริยวงศ์
นักกฎหมายอิสระ
http://www.facebook.com/verapat
ผู้เขียนได้เข้า
ฟังการไต่สวน ณ ศาลรัฐธรรมนูญเมื่อวันที่ 5-6 กรกฎาคม ที่ผ่านมา
และได้บันทึกสีหน้า ท่าทาง และน้ำเสียงของศาลไปพร้อมกับเนื้อหาการไต่สวน
ซึ่งมีประเด็นควรแก่การขบคิดก่อนศาลจะมีคำวินิจฉัยในวันศุกร์ที่ 13 กรกฎาคม
ดังนี้
แม้ผู้เขียนจะเป็น ‘ฝ่ายผู้ดู’ แต่ก็รู้สึกอึดอัดแทนทั้ง ‘ฝ่ายผู้ร้อง’ (ที่ต้องการยับยั้งการแก้รัฐธรรมนูญ) และ ‘ฝ่ายผู้ถูกร้อง’ (ที่ต้องการเดินหน้าแก้รัฐธรรมนูญ) ซึ่งต่างมีประเด็นที่จะอธิบายซักถามจำนวนมาก แต่กลับถูกบีบคั้นโดยกรอบเวลาที่ศาลกำหนด
ปกติคดีส่วนตัวธรรมดาระหว่างคนสองคน
ยังนำสืบพยานกันได้หลายนัดหลายวัน มาคดีนี้มีคู่ความฝ่ายละหลายราย
และอาจมีผลรุนแรงถึงขั้นยุบพรรคการเมืองที่มีประชาชนสนับสนุนจำนวนมาก
แล้วเหตุใดศาลจึงรวบรัดไต่สวนพยานเพียงสองวัน และใช้เวลาเพียง ‘วันเดียว’ ในการทำคำวินิจฉัยหลังกำหนดแถลงปิดคดี ?
แม้ศาลมีอำนาจควบคุมการไต่สวนให้มีประสิทธิภาพ (ซึ่งหลายจังหวะศาลทำได้ดี) แต่ศาลก็พึงระลึกว่า ‘ระบบไต่สวน’ ไม่ได้แปลว่าศาลจะรวบรัดเวลาได้เสมอ ตรงกันข้าม การที่ศาลแสวงหาข้อเท็จจริงได้เอง กลับทำให้ศาลต้อง ‘ซักถามสนทนา’ ถึงประเด็นที่แสวงหามา เพื่อให้คู่ความได้ทราบและชี้แจงอย่างเต็มที่ การไต่สวนจึงไม่ได้สำคัญที่ ‘การฟัง’ ของศาล หรือ ‘การอ่าน’ เอกสารในสำนวนก่อนหรือหลังวันไต่สวนเท่านั้น
แต่ปรากฏว่าตลอดสองวัน ‘ศาลซักถามน้อยมาก’
และดูไม่จดประเด็นเสียด้วย หากศาลถามได้มากและโยงเข้าเนื้อหาสำนวนได้
แสดงว่าศาลทำการบ้านอ่านสำนวนมาล่วงหน้า และจดคำตอบสำคัญโดยไม่ต้องรอถอดเทป
แต่คดีนี้ก็มีจังหวะที่ศาลเองดูไม่แน่ใจว่ามีเรื่องใดซ้ำกับเอกสาร
ปล่อยให้พยานต้องบอกว่าตอบไปแล้วในเอกสาร
‘ภาพน่าตะลึง’ อีกภาพ คือ วิธีการและจังหวะที่ประธานศาลใช้ถาม ‘นายโภคิน พลกุล’ ขณะ กำลังพูดเสร็จ แทนที่จะถามพยานตามปกติ กลับโต้เถียงประหนึ่งถามค้านพยานและสรุปความเบ็ดเสร็จเสียเอง และในขณะที่พยานมีมารยาทพอที่จะไม่เถียงศาลต่อ ก็มีเจ้าหน้าที่นำเอกสารมาให้พยานลงชื่อจนรวบรัดให้ต้องลุกไปจากเก้าอี้ (ชมคลิปได้ที่ http://bit.ly/VPCONS)
(อ่านต่อ)
http://www.prachatai.com/journal/2012/07/41446
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น