การเมืองในเสื้อแดง โดย นิธิ เอียวศรีวงศ์
"ปัจจัย
เดียวที่จะรักษาขบวนการเสื้อแดงไว้ได้ คือปัจจัยภายนอก
เช่นหากเกิดรัฐประหารขึ้น, ยุบพรรคเพื่อไทย, หรืองดใช้รัฐธรรมนูญบางมาตรา,
หรือตั้งรัฐบาลแห่งชาติ ฯลฯ"
..................................การเคลื่อนไหวของคนเสื้อแดงเป็นการเคลื่อนไหวมวลชนที่ใหญ่สุด เท่าที่เคยมีมาในประวัติศาสตร์ไทย ครอบคลุมผู้คนกว้างขวาง ทั้งในเขตเมืองและชนบท ด้วยจุดมุ่งหมายทางการเมืองที่แตกต่างกัน อย่างที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน
ความหลากหลายของจุดมุ่งหมายทางการเมือง เป็นทั้งพลังและเป็นทั้งความอ่อนแอ ในส่วนที่เป็นพลังอาจเห็นได้จาก เมื่อกลุ่มคนที่ถูกเรียกว่า "แกนนำ" ถูกจับกุมคุมขัง มวลชนถูกล้อมปราบอย่างป่าเถื่อน แต่ชั่วเพียงไม่นานก็เกิด "แกนนอน" และการรวมตัวเคลื่อนไหวอย่างคึกคักและต่อเนื่องยิ่งกว่าเดิม ขบวนการฟื้นกลับมาใหม่ในเวลาไม่นาน
อันที่จริง การถูกล้อมปราบในเมษายน-พฤษภาคม 2553 กลับเป็นโอกาสให้ขบวนการเสื้อแดงได้เรียนรู้การเคลื่อนไหวทางการเมืองได้อีก หลายรูปแบบ จนในที่สุดแม้ขาดการจัดองค์กรที่มีประสิทธิภาพ ก็สามารถเลือกพรรคเพื่อไทยขึ้นมาเป็นรัฐบาลได้ด้วยคะแนนเสียงท่วมท้น
ขบวน การเสื้อแดงเพิ่งเกิดขึ้นหลังรัฐประหารเกือบ 2 ปี ในระหว่างที่ พธม.ยึดทำเนียบรัฐบาลอยู่นั้น ในวันที่ 2 กันยายน 2551 ฝ่ายต่อต้านการรัฐประหาร กลุ่มที่มีคุณเนวิน ชิดชอบ เป็นผู้นำ ได้วางแผนยกกำลังไปล้อมทำเนียบ เพื่อตัดการส่งเสบียงอาหารให้ฝ่ายเสื้อเหลือง แต่แผนการนี้ไม่ได้แจ้งให้ผู้นำกลุ่มต่อต้านรัฐประหารอื่นๆ ทราบ ผลจึงเป็นความล้มเหลวไม่เป็นท่า เพราะเกิดการปะทะกันระหว่างคนสองกลุ่ม จนเป็นผลให้ผู้ประท้วงของ นปช.เสียชีวิตไปหนึ่งคน เกิดความตึงเครียดภายในของกลุ่ม นปช.
จากความล้มเหลวครั้งนี้ ในที่สุดก็ปรับเปลี่ยนยุทธวิธี คือหันมาสู่การชุมนุมด้วยมวลชนจำนวนมหาศาล ซึ่งสวมเสื้อแดงพร้อมกัน และชุมนุมตามโรงคอนเสิร์ตใหญ่ๆ หรือสนามกีฬา นับจากนั้นจึงเกิดอัตลักษณ์ขบวนการคนเสื้อแดงอันเป็นที่รู้จักของทุกฝ่าย ขึ้น
นับจากเมื่อเกิดขบวนการเสื้อแดงในปลายปี 2551 การเคลื่อนไหวของกลุ่มเสื้อแดงครั้งใหญ่คือ การขับไล่รัฐบาลอภิสิทธิ์ที่มาจากค่ายทหารในสงกรานต์เลือด 2552 (เพิ่ง 8 เดือนหลังรวมตัวเป็นเสื้อแดง) และการประท้วงใหญ่ที่สะพานผ่านฟ้าฯ-ราชประสงค์ใน 2553 (20 เดือนหลังรวมตัว) แม้ว่าประสบความล้มเหลวจนบาดเจ็บล้มตายกันมากทั้งสองครั้ง แต่ก็แสดงให้เห็นการขยายตัวอย่างรวดเร็วของขบวนการไปทั่วประเทศ ในขณะเดียวกันก็แสดงให้เห็นความอ่อนประสบการณ์ในการดำเนินการทางการเมืองไป พร้อมกัน เพราะประสบการณ์ทางการเมืองของคนเสื้อแดงส่วนใหญ่ คือการลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง (ซึ่งการตัดสินใจของเขาก็มักถูกผู้มีอำนาจล้มล้างไปเสมอ) และการประท้วงบนท้องถนน
(อ่านต่อ)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น