หน้าเว็บ

วันพุธที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

'30 บาท' เก็บทั้งทีต้องดีกว่าเดิม

'30 บาท' เก็บทั้งทีต้องดีกว่าเดิม



หมอ

โดยนพ.พงศธร พอกเพิ่มดี

 

การเก็บค่าธรรมเนียมเมื่อไปใช้บริการสำหรับบัตรทองครั้งละ 30 บาท กลายเป็นประเด็นวิพากษ์วิจารณ์ในวงกว้างอีกครั้ง เมื่อรัฐบาลพรรคเพื่อไทยได้พยายามรื้อฟื้นขึ้นมา หลักจากที่ถูกยกเลิกไปในรัฐบาลพลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ ครั้งนี้พรรคเพื่อไทยอ้างเหตุผลในการกลับมาเก็บค่าธรรมเนียม 30 บาท เพื่อเพิ่มคุณภาพการให้บริการให้กับประชาชน การเก็บค่าธรรมเนียมดังกล่าวจะสามารถเพิ่มคุณภาพบริการตามที่ทางการ เมืองกล่าวอ้างได้จริงหรือไม่ หรือเป็นเพียงต้องการรีแบรนด์โครงการนี้ใหม่ จะมีความเหมาะสมหรือไม่ อย่างไร มีแง่มุมเพื่อแลกเปลี่ยน ดังนี้


ก่อนอื่นนั้นมีคำ 2 คำที่อยากทำความเข้าใจในเบื้องต้นก่อน คือ 1) การร่วมจ่ายเบี้ยประกันสุขภาพ (Co-insurance) เช่น การเก็บเบี้ยประกันสุขภาพรายเดือนของผู้ประกันตน ร่วมกับนายจ้างและรัฐบาล มีวัตถุประสงค์ เพื่อให้มีงบประมาณเพียงพอในการดูแลสุขภาพซึ่งเป็นรูปแบบระบบสวัสดิการสังคม (Social health insurance) ที่มีต้นแบบมาจากเยอรมัน และ 2) การเก็บค่าธรรมเนียมการให้บริการ ณ จุดรับบริการ (Co-payment หรือ user charge) เช่น การเก็บ 30 บาท เมื่อมารับบริการที่โรงพยาบาล มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการลด (Moral hazard) หรือการใช้บริการที่ไม่จำเป็นลง โดยเฉพาะการไปโรงพยาบาลนั้นที โรงพยาบาลโน้นที เพราะไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ

อย่างไรก็ตามแม้การเก็บค่าธรรมเนียมนั้นจะมีข้อดี แต่ก็จะส่งผลกระทบในการเข้าถึงบริการของประชาชนโดยเฉพาะคนจน หากค่าธรรมเนียมนั้นแพงเกินไป ปัญหาก็จะตกอยู่ที่คนจนที่จะไม่สามารถจะเข้าถึงบริการสุขภาพที่จำเป็น โดยเฉพาะ กิจกรรมส่งเสริมสุขภาพ ควบคุมป้องกันโรค เช่น การรับวัคซีน การฝากครรภ์ เป็นต้น เพราะค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นนั้นไม่ใช่เฉพาะค่าธรรมเนียมอย่างเดียว แต่ประชาชนยังมีค่าใช้จ่ายอื่นๆ (indirect cost) เช่น ค่าเดินทาง การขาดรายได้จากการทำงานในวันนั้น ด้วยเหตุนี้การเก็บเงินค่าธรรมเนียม จึงจะต้องออกแบบให้เหมาะสมและพิจารณาด้วยความรอบคอบ จึงจะเกิดประโยชน์สูงสุดต่อระบบสุขภาพ 

(อ่านต่อ) 
http://www.prachatai.com/journal/2012/07/41478 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น