หน้าเว็บ

วันเสาร์ที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

นายกฯกรีซวอนผู้ให้กู้ขยายเวลาบรรลุมาตรการรัดเข็ดขัดเป็น 4 ปี ชี้ต้องฟื้นภาวะศก.ถดถอยก่อน

นายกฯกรีซวอนผู้ให้กู้ขยายเวลาบรรลุมาตรการรัดเข็ดขัดเป็น 4 ปี ชี้ต้องฟื้นภาวะศก.ถดถอยก่อน

 

 

สำนักข่าวต่างประเทศรายงานเมื่อวันที่ 7 ก.ค.ว่า นายอันนิส ซามาราส นายกรัฐมนตรีกรีซคนหใม่ ได้เรียกร้องให้สถาบันและชาติที่ให้กู้เงินแก่กรีซ ให้เวลากรีซมากขึ้นในการดำเนินมาตรการรัดเข็มขัด เพื่อผ่อนคลายผลกระทบต่อเศรษฐกิจและสังคมกรีซ โดยเขาต้องการให้ผู้ให้เงินกู้แก่กรีซขยายเวลาสำหรับการบรรลุเงื่อนไขให้กู้ เงินที่กำหนดขีดเส้นตายไว้ที่ปี 2014 หรือ 2 ปี สำหรับการแก้ไขตัวเลขขาดดุลงบประมาณ ยืดไปเป็น 4 ปี ระบุว่า เนื่องจากปัญหาของกรีซขณะนี้ไม่ได้อยู่ในการนำมาปฎิรูปการเงินมาใช้ แต่อยู่ที่การหาทางในการยุติภาวะเศรษฐกิจถดถอยของประเทศ และว่า เป้าหมายของรัฐบาลเขาคือเพื่อรับประกันว่า กรีซจะยังคงอยู่ในกลุ่มยูโรโซนต่อไป

รายงานระบุว่า ขณะนี้บรรดาสถาบันและประเทศผู้ให้เงินกำลังตรวจสอบว่า กรีซได้ทำตามเงื่อนไขของข้อตกลงให้เงินกู้มูลค่า 130,000 ล้านดอลลาร์หรือไม่ โดยกรีซจะต้องความสร้างเชื่อมั่นให้แก่กลุ่ม ก่อนที่จะได้รับเงินกู้งวดใหม่เพื่อนำเงินไปชำระหนี้สินในงวดปัจจุบัน โดยก่อนหน้านี้ นายกฯกรีซ ได้สัญญาว่า เขาจะพิจารณาสำหรับมาตรการรัดเข็มขัดต่าง ๆ เช่น การตัดลดเงินเดือนข้าราชการ.การขึ้นภาษี และการปลดพนักงาน

 

(อ่านต่อ)http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1341641495&grpid=&catid=06&subcatid=0600

 

คำอธิบายสำหรับชาวมาร์คซิสต์คืออะไร
 

ระบบทุนนิยมเป็นระบบที่มีปัญหาในตัวของมันเองคือเศรษฐกิจมันจะไม่ขยายตัว ตลอดเวลา มันจะมีวิกฤติอยู่เป็นระยะ เช่น หลังสงครามโลกครั้งที่สอง จะมีช่วงที่เศรษฐกิจบูมเต็มที่ในยุค 1960 แต่พอเข้าสู่ยุค 1970 (พ.ศ.2513) เศรษฐกิจเริ่มมีวิกฤติ จากนั้นเศรษฐกิจโลกจะเข้าสู่สภาวะที่เกิดฟองสบู่แล้วก็แตกเป็นวงจรอุบาทว์

มาร์คซ์ อธิบายว่าระบบการแข่งขันในระบบทุนนิยมจะนำไปสู่การลงทุนและผลิตล้นเกินและ ก่อให้เกิดแนวโน้มการลดลงของอัตรากำไรซึ่งเป็นสาเหตุของวิกฤติ นายทุนเลือกแนวทางที่จะรักษาอัตรากำไรไว้ โดยการส่งเสริมให้บริษัทใหญ่กินบริษัทที่อ่อนแอกว่าแล้วตัดระดับการผลิตและ การจ้างงาน และอีกหนทางหนึ่งคือการตัดค่าแรงอย่างโหด ซึ่งเกิดขึ้นในประเทศสหรัฐอเมริกา  (รายละเอียดเกี่ยวกับเรื่องนี้สามารถอ่านได้ในเลี้ยวซ้ายฉบับอื่นๆ ซึ่งมีการอธิบายไว้อย่างเป็นระบบ) 


ทีนี้ถ้าค่าแรงน้อยพลังการบริโภคก็จะอ่อนแอ แล้วจะทำอย่างไร? เพราะจะทำให้วิกฤติหนักขึ้นและคนตกงานมากขึ้น แนวเสรีนิยมเลือกที่จะไม่เพิ่มค่าแรงให้สอดคล้องกับความต้องการของคนส่วน ใหญ่ และไม่เห็นด้วยกับการกระตุ้นเศรษฐกิจด้วยการเพิ่มกำลังซื้อ แต่บ่อยครั้งจะเลือกส่งเสริมให้คนบริโภคผ่านการเป็นหนี้แทน


สหรัฐอเมริกา คือ ตัวอย่างอันยอดเยี่ยมในกรณีนี้ รัฐบาลสหรัฐในอดีตไม่เพิ่มค่าแรงขั้นต่ำมากว่า 30 ปี และเลือกที่จะปล่อยเงินกู้ราคาถูกเข้าสู่ระบบแทนที่จะเพิ่มค่าแรงเพื่อเพิ่ม ประสิทธิภาพของกำลังจ่าย เช่น การเปิดโอกาสให้คนจนอเมริกามีสิทธิกู้เงินราคาถูกเพื่อมาซื้อบ้าน จากนั้นเกิดการเก็งกำไรในอสังหาริมทรัพย์ เกิดฟองสบู่ และจากนั้นฟองสบู่ก็แตกเพราะคนจนใช้หนี้ไม่ได้  เรื่องมันไปกันใหญ่เมื่อนายทุนธนาคารพยายามสร้างกำไรในการเก็งกำไรจากหนี้ เสีย จนทุนธนาคารขนาดใหญ่ของอเมริกาล้มในปี 2008 (Lehman Brothers)[1] 


ธนาคารขนาดใหญ่ของยุโรปโดยเฉพาะจากเยอรมันและฝรั่งเศษได้รับผลกระทบ อย่างมหาศาลเพราะไปซื้อหนี้เน่าจากอเมริกา โดยมีความหวังว่าจะสร้างกำไรได้ ธนาคารเหล่านั้นเกือบจะล้มซึ่งทำให้รัฐบาลต่างๆ ในยุโรปต้องเข้าไปอุ้มและเอาใจเพื่อนนายทุนด้วยกันโดยปัดหนี้เสียเหล่านั้น ให้กลายเป็นหนี้สาธารณะ


หลังจากนั้นอ้างว่าต้องตัดบริการสาธารณะชนิดต่างๆ ลงอย่างเป็นระบบ รวมถึงเพิ่มภาษีมูลค่าเพิ่มอีกด้วย เพื่อเอาเงินไปจ่ายหนี้ให้กับนายธนาคาร เพื่อดึงยอดหนี้ลงมา ในวิกฤติทางการเงินปัจจุบัน คนใช้หนี้กลายเป็นคนธรรมดาๆ ที่ไม่ได้สร้างปัญหาแต่อย่างใด ในขณะที่ตัวปัญหาแท้คือพวกนายธนาคาร หรือ พวกนักเก็งกำไร (hedge funds) ซึ่งสื่อกระแสหลักที่ยุโรปจะเรียกตลาดหุ้นของนายทุนว่า
“เดอะ มาเก็ท” เหมือน กับว่ามีตัวตนอิสระจากมนุษย์และผลประโยชน์ชนชั้น พวกนักเก็งกำไร ไม่เคยถูกลงโทษ และพวกนี้มีอิทธิพลอย่างมากต่อนักการเมืองกระแสหลักในยุโรป

หนี้สาธารณะมหาศาลของกลุ่มประเทศในสหาภาพยุโรป ทางใต้ เช่น กรีส สเปน อิตาลี่ ไอร์แลนด์ หรือโปรตุเกส มาจากการที่หลายฝ่ายต้องการหาเงินมาพัฒนาประเทศเพราะถูกกดดันให้เร่งพัฒนา เศรษฐกิจให้ได้มาตรฐานของกลุ่ม EU ทั้งรัฐและเอกชนกู้เงินจากธนาคารในเยอรมันและฝรั่งเศส

แต่พอระบบธนาคารพังและรัฐต่างๆ เข้าไปอุ้มจนเกิดหนี้สาธารณะ พวกปล่อยกู้เอกชนที่คุมตลาด จะมองว่ารัฐขาดประสิทธิภาพที่จะจ่ายหนี้ เลยมีการเพิ่มอัตราดอกเบี้ย ซึ่งมีผลพวงคือหนี้สาธารณะยิ่งเพิ่มขึ้นอีก ในอดีตลักษณะการขยายตัวของเศรษฐในกลุ่มประเทศเหล่านี้เป็นการขยายตัวที่ สร้างฟองสบู่โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมอสังหาริมทรัพย์


(อ่านต่อ)
http://turnleftthai.blogspot.dk/2012/06/1.html 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น