หน้าเว็บ

วันเสาร์ที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

"ศาลเจ้า" ไม่ใช่ "ศาลราษฎร"

"ศาลเจ้า" ไม่ใช่ "ศาลราษฎร"


http://www.matichon.co.th/online/2012/07/13412881531341288359l.jpgPhoto: หยุดกฎหมายล้างผิด หยุดทำผิดให้เป็นถูก หยุดอ้างอำนาจที่ไม่ได้มาจากปวงชน

เมื่อมีการยึดอำนาจของปวงชนก็จะมีการออกกฎหมายลบล้างความผิดของพวกที่ทำการยึดอำนาจ ซึ่งเป็นความผิดฐานกบฏที่มีโทษถึงประหารชีวิต เหมือนโจรที่ปล้นบ้าน แล้วประกาศว่าการปล้นบ้านไม่เป็นความผิด

ตามด้วยประกาศและคำสั่งของพวกที่ทำการยึดอำนาจของปวงชน และยังให้มีผลทางกฎหมาย แม้ว่าคณะรัฐประหารได้ลงจากอำนาจไปแล้ว เหมือนโจรบังคับให้เจ้าของบ้านต้องปฏิบัติตามคำสั่งของพวกโจรตลอดไป แม้ว่าพวกมันจะลงจากบ้านไปแล้ว

รวมถึงการอ้างอำนาจของตุลาการที่มีจากการเลือกกันเองของข้าราชการตุลาการที่มิได้ยึดโยงกับประชาชนแม้แต่น้อยที่ใช้อำนาจโดยไม่มีขอบเขต ทั้งๆที่ตุลาการมีหน้าที่เพียงแค่การพิจารณาคดีความตามรัฐธรรมนูญและกฎหมายเท่านั้น แต่ไม่มีหน้าที่พิจารณาเรื่องทางการเมืองที่ขึ้นกับการตัดสินใจของประชาชน 
การที่ตุลาการเข้าแทรกแซงกำกับควบคุมเรื่องทางการเมือง ควบคุมการทำงานของสภาและรัฐบาล ก็เท่ากับเป็นการรวบอำนาจหรือปล้นอำนาจของปวงชนนั่นเอง เท่ากับว่ามีคนที่ไม่ใช่เจ้าของบ้านแต่มาอ้างสิทธิ์ตัดสินใจเรื่องภายในบ้านแทนเจ้าของบ้าน หรือกระทั่งจัดการขับไล่ ลงโทษหรือกลั่นแกล้งตัวแทนเจ้าของบ้าน

ประชาชนผู้เป็นเจ้าของบ้าน จงลุกขึ้นทวงสิทธิ์อันชอบธรรมของตน
จงร่วมกันปฏิเสธกฎหมายล้างผิดให้พวกกบฏที่ปล้นอำนาจของประชาชน
จงปฏิเสธบรรดาประกาศ คำสั่งและกฎหมายของโจรที่ปล้นอำนาจของพวกเรา
จงปฏิเสธตุลาการซึ่งไม่ใช่ตัวแทนของพวกเราแต่กลับมาทำลายและริดรอนอำนาจตัวแทนของพวกเรา

ประชาชนทั้งหลายจงรวมตัวกันเพื่อทวงสิทธิ์อันชอบธรรมของพวกเราคืนจากพวกโจรปล้นอำนาจทั้งหลาย ที่มาในหลากหลายรูปแบบ
เพื่อสร้างประเทศให้เป็นประชาธิปไตย เพื่อลูกหลานไทยทุกคน


 
 
 

นิธิ เอียวศรีวงศ์ วิเคราะห์ความศักดิ์ศิทธิ์และบทบาทที่ไม่เกื้อหนุนระบอบประชาธิปไตยของศาลไทยว่า ก่อนสมัย ร.5 ศาลไม่เคยศักดิ์สิทธิ์เป็นที่นับถือของใครมาก่อน แต่ความศักดิ์สิทธิ์เพิ่งถูกสร้างขึ้นในภายหลัง และยังพยายามสร้างสืบมาจนถึงปัจจุบัน โดยกลุ่มคนที่เป็นตุลาการ ซึ่งเป็นคนกลุ่มใหม่ที่เพิ่งเกิดขึ้นหลังการปฏิรูปสู่ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ของ ร.5 ซึ่ง "ความศักดิ์สิทธิ์" ของฝ่ายตุลาการนี้ มันถูกผูกโยงไว้กับอำนาจของกษัตริย์เหมือนกับสมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์ มันจึงเป็นความศักดิ์สิทธิ์ที่คลุมเครือในระบอบประชาธิปไตย อ่านบทความส่วนหนึ่งได้ดังนี้

"แต่ความศักดิ์สิทธิ์ของฝ่ายตุลาการ เป็นความศักดิ์สิทธิ์ที่ผูกไว้กับสถาบันพระมหากษัตริย์เหมือนกับสมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์ จึงเป็นความศักดิ์สิทธิ์ที่คลุมเครือในระบอบประชาธิปไตย เพราะพระมหากษัตริย์ที่เป็นฐานของความศักดิ์สิทธิ์นั้น คือพระมหากษัตริย์ในระบอบอื่น ไม่ใช่ระบอบประชาธิปไตย"

ศาลมักอ้างเสมอว่า พิจารณาพิพากษาคดี "ในพระปรมาภิไธย" ซึ่งแปลว่าอะไรไม่ชัดนักระหว่างผู้พิพากษาเป็นเพียง "ข้าหลวง" ที่โปรดให้มาทำหน้าที่แทน หรือพระปรมาภิไธยในฐานะที่เป็นตัวแทนของอำนาจอธิปไตยของปวงชน พูดอีกอย่างหนึ่งก็คือ "The People" ในศาลอเมริกัน หรือ "The Crown" ในศาลอังกฤษ เช่นเดียวกับพระบรมฉายาลักษณ์ที่ติดไว้ในห้องพิจารณาคดีของศาลทุกแห่ง หมายถึงองค์พระมหากษัตริย์หรือบุคลาธิษฐาน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น