"จรัญ ภักดีธนากุล" ถอนตัวจากองค์คณะตุลาการ คดีแก้รัฐธรรมนูญ
หลังจรัญ ถูกร้องว่ามีส่วนเกี่ยวข้องกับคดี เพราะเคยเป็นกรรมาธิการร่าง รธน.50 ทำให้ขณะนี้เหลือตุลาการศาล รธน.อีก 2 ราย คือนายนุรักษ์ มาประณีต และนายสุพจน์ ไข่มุกด์ ซึ่งเคยเป็นกรรมาธิการยกร่าง รธน.50 นั่งบังลังก์ตุลาการศาล วินิจฉัยคดีนี้
มติชนออนไลน์ รายงานว่า เมื่อเวลา 14.05 น. วันที่ 5 กรกฎาคม 2555 หลังพักการไต่สวนพยานบุคคลฝ่ายผู้ร้องในช่วงเช้า เมื่อเปิดบัลลังก์พิจารณาไต่สวนต่อในช่วงบ่าย นายวสันต์ สร้อยพิสุทธ์ ประธานศาลรัฐธรรมนูญ ได้แจ้งให้ฝ่ายผู้ร้องและผู้ถูกร้องทราบว่านายจรัญ ภักดีธนากุล ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ได้ขอถอนตัวจากการเป็นองค์คณะตุลาการทั้ง 5 สำนวน เพราะเนื่องจากถูกร้องว่ามีส่วนเกี่ยวข้องกับคดีที่ประชุมของตุลาการศาลรัฐ ธรรมนูญได้มีมติอนุญาตให้ถอนตัวได้ เพื่อความเป็นกลาง อย่างไรก็ตาม องค์คณะยังทำหน้าที่วินิจฉัยต่อไปได้ ทำให้เหลือ 8 จากองค์คณะ 9
โดยประธานศาลรัฐธรรมนูญ กล่าวชี้แจงต่อไปว่า หากนายจรัญ ภักดีธนากุล ร่วมตัดสินใจคดีดังกล่าวทั้ง 5 สำนวน อาจถูกวิจารณ์ว่า รู้คำตอบล่วงหน้า
(อ่านต่อ)http://www.prachatai.com/journal/2012/07/41396
จรัญ ภักดีธนากุล (5 ปีที่แล้ว) เสนอให้รับ รธน.50 แล้วค่อยแก้มาตราเดียวเพื่อยกร่างใหม่
2007 constitution debate Charan Pakdeethanakul#final: Vote Yes
http://www.youtube.com/watch?v=ve0kcWmbwGw&feature=player_embedded
หมายเหตุ: ตามที่ในวันนี้ (5 ก.ค. 55) ที่ศาลรัฐธรรมนูญ นายจรัญ ภักดีธนากุล ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ซึ่งนั่งบัลลังก์ศาล ได้ชี้แจงต่อผู้ถูกร้องจากพรรคเพื่อไท
ก่อนหน้านี้เมื่อ 5 ปีที่แล้ว เมื่อวันที 3 ส.ค. ปี 2550 มูลนิธิองค์กรกลางเพื่อประชาธิไตยได้จัดดีเบตระหว่างฝ่ายที่สนับสนุน และฝ่ายคัดค้านร่างรัฐธรรมนูญปี 2550 โดยหนึ่งในผู้อภิปรายฝ่ายสนับสนุนคือจรัญ ภักดีธนากุล สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญในขณะนั้น ปัจจุบันดำรงตำแหน่งตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ โดยในช่วงที่ 2 ของการอภิปราย นายจรัญได้เสนอให้รับรัฐธรรมนูญปี 2550 ไปก่อน เพราะเป็น "สิ่งที่จำเป็นที่สุดของการกลับคืนมาแห่งอำนาจของประชาชนอย่างราบรื่น ชัดเจน แน่นอน " และหลังจากนั้นสามารถแก้ไขมาตราเดียวแบบเดียวกับที่เริ่มร่างรัฐธรรมนูญปี 2540 โดยนายจรัญยืนยันว่าเป็นวิธีการที่ "ราบรื่น" กว่าการปฏิเสธร่างรัฐธรรมนูญปี 2550 โดยมีรายละเอียดของการอภิปรายดังนี้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น