หน้าเว็บ

วันจันทร์ที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2555

สถานการณ์แรงงานประจำสัปดาห์ 29 ก.ค. - 4 ส.ค. 2555

สถานการณ์แรงงานประจำสัปดาห์ 29 ก.ค. - 4 ส.ค. 2555


การนัดหยุดงานเป็นเพียง “โรงเรียนการทำสงคราม” ไม่ใช่สงครามจริง การนัดหยุดงานเป็นเพียงแง่หนึ่งของการต่อสู้ทางชนชั้นของกรรมาชีพ จากการนัดหยุดงานของกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งกรรมาชีพต้องพัฒนาการต่อสู้ไปสู่การ ต่อสู้ของกรรมาชีพทั้งชนชั้นเพื่อการปลดแอกตนเอง สิ่งนี่กำลังค่อยๆ เกิดขึ้นทั่วโลกอยู่แล้ว เมื่อกรรมาชีพที่มีจิตสำนึกทางชนชั้นพัฒนาตนเองเป็นนักสังคมนิยม // Lenin “Collected Works” เล่ม 4
 

 
เผยแรงงานได้ค่าแรงจริงไม่ถึง 300 บ. 
นายเกียรติอนันต์ ล้วนแก้ว ผู้อำนวยการศูนย์วิจัย มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ เปิดเผยว่า จากการศึกษาดัชนีค่าครองชีพในช่วง 5 เดือนที่ผ่านมาพบว่า แม้ผู้ใช้แรงงานทั่วประเทศจะได้รับการขึ้นค่าจ้าง 40% ตั้งแต่ 1 เม.ย. ที่ผ่านมา โดยมี 7 จังหวัด ที่มีค่าแรงขั้นต่ำถึง 300 บาทแล้ว ประกอบด้วย กรุงเทพมหานคร (กทม.) นนทบุรี ปทุมธานี สมุทรสาคร สมุทรปราการ นครปฐม และภูเก็ต แต่พบว่าอำนาจการซื้อหายไป 10 บาท เนื่องจากสินค้าประเภทอาหาร พลังงานและสิ่งของจำเป็นภายในบ้านเพิ่มราคาขึ้น เหลือใช้กำลังซื้อที่แท้จริงเพียง 290 บาท และหากปรับเพิ่มเป็น 300 บาททั่วประเทศในปี 2556 อำนาจการซื้อของแรงงานทั่วประเทศจะลดลงยิ่งกว่านี้
 
ขณะเดียวกัน จากการติดตามผลกระทบและการปรับตัวในช่วง 100 วันหลังการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาท พบว่า ธุรกิจเอสเอ็มอีใน 7 จังหวัดข้างต้น มีกลุ่มตัวอย่าง 87.5% ได้รับผลกระทบจากการขึ้นค่าแรง แต่ 73.2% ของกลุ่มที่ได้รับผลกระทบระบุว่ายังสามารถรับมือได้ ส่วนอีก 14.3% ไม่สามารถรับมือกับต้นทุนการผลิตที่เพิ่มขึ้นได้
 
นายเกียรติอนันต์ กล่าวว่าข้อเสนอแนะต่อรัฐบาลคือในระยะเวลา 5 เดือน ที่เหลือก่อนสิ้นปี รัฐจะต้องช่วยเหลือผู้ประกอบการด้วยการบริหารความเสี่ยงทางธุรกิจในภาพรวม เช่น สภาพแวดล้อมทางธุรกิจ ต้องไม่มีความเสี่ยงด้านการเมือง อย่าให้ต้นทุนธุรกิจเพิ่มมากกว่านี้ เช่น ดูแลค่าเงินบาทไม่ให้อ่อนค่าลงกว่าเดิม ดูแลราคาพลังงานอย่าให้ปรับเพิ่มเร็วเกินไป ตลอดจนสร้างบรรยากาศความเชื่อมั่นให้ประชาชนมั่นใจในการบริโภค และนักลงทุนกล้าลงทุนมากขึ้น
 
(โพสต์ทูเดย์, 30-7-2555)

(อ่านต่อ)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น