หน้าเว็บ

วันศุกร์ที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2555

ส่งสำนวน 98 ศพเพิ่มให้ไอซีซี

ส่งสำนวน 98 ศพเพิ่มให้ไอซีซี








 

(คลิกฟัง)


ผู้ได้รับผลกระทบเหตุสลายการชุมนุม จัดกิจกรรม เผาพริกเผาเกลือ ยืนยันว่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเป็นการกระทำของเจ้าหน้าที่รัฐ ขณะที่ประธาน นปช. เตรียมจัดงานครบรอบ 6 ปี 19 กันยายน 2549 เหตุการณ์รัฐประหาร 
 
นาง พะเยาว์ อัคฮาด มารดาของ นางสาวกมนเกด อัคฮาด พยาบาลอาสาที่ถูกยิงเสียชีวิตในวัดปทุมวนาราม พร้อมด้วยกลุ่มตัวแทนผู้ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์สลายการชุมนุมในปี 2553 จัดกิจกรรมที่หน้ากองบัญชาการกองทัพบก โดยมีการเผาพริกเผาเกลือเป็นชื่อพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้บัญชาการทหารบก เพื่อตอบโต้ในกรณีที่นายวินธัย สุวารี รองโฆษกกองทัพบก กล่าวว่ากรณีผู้เสียชีวิตในเขตวัดปทุมวนาราม 6 ราย นั้นไม่ได้เป็นฝีมือของทหาร และ ตอบโต้ถึงคำให้สัมภาษณ์ของพลเอกประยุทธ์ในอีกหลายกรณีที่พาดพิงการเสียชีวิต ของผู้ชุมนุม
 
โดยนางพะเยาว์กล่าวว่า ที่ออกมาชี้แจงในวันนี้เพราะกลัวประชาชนจะเกิดความเข้าใจผิดจากการให้ สัมภาษณ์ของทางกองทัพ โดยนางพะเยาว์กล่าวต่อว่า หากพลเอกประยุทธ์ไม่ยอมรับว่าการเสียชีวิตของประชาชนในเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น เป็นการกระทำของเจ้าหน้าที่รัฐ ก็อาจจะมีการยกระดับการเคลื่อนไหว โดยจะทำเรื่องไปถึงนายกรัฐมนตรี
 
ทางด้านความเคลื่อนไหวของ กลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติหรือ นปช. นางธิดา ถาวรเศรษฐ ประธาน นปช.ได้เปิดเผยเกี่ยวกับความคืบหน้าในการนำสำนวนคดีการเสียชีวิตในเหตุการณ์ สลายการชุมนุมช่วงเดือนเมษายน - พฤษภาคม 2553 ทั้ง 98 ศพ ยื่นต่อศาลอาญาระหว่างประเทศหรือไอซีซีว่า ขณะนี้นายโรเบิร์ต อัมเตอร์ดัม ทนายความกำลังรวบรวมสำนวนคดีการสอบสวนที่เจ้าหน้าที่ตำรวจสอบสวนแล้วเสร็จ ทั้ง 21 ศพส่งไปให้เจ้าหน้าที่ศาลอาญาระหว่างประเทศเพิ่มเติม หลังจากที่ได้ส่งข้อมูลหลักฐานข้อเท็จจริงบางส่วนไปแล้ว
 
นาง ธิดา เปิดเผยอีกว่า นปช.กำลังเตรียมจัดงานครบรอบ 6 ปี 19 กันยายน 2549 เหตุการณ์รัฐประหารเพื่อย้ำเตือนให้สังคมได้รับรู้ว่า แม้ปัจจุบันรัฐบาลจะมาจากการเลือกตั้งแล้ว แต่ผลพวงจากการทำรัฐประหารเมื่อวันที่ 19 กันยายน 2549 ยังมีอยู่และ นปช.จึงขอประกาศจุดยืนต่อต้านการทำรัฐประหารทุกรูปแบบและกำจัดผลพวงจากการทำ รัฐประหารด้วยการผลักดันให้รัฐบาลเดินหน้าแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับ 2550
 
ส่วน การไต่สวนคำสั่งถอดถอนนายจตุพร พรหมพันธุ์ ออกจากตำแหน่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเพราะไม่ไปใช้สิทธิ์เลือกตั้งในวันที่ 7 กรกฎาคม 2554 เนื่องจากนายจตุพรอยู่ระหว่างการถูกคุมขัง ซึ่งขณะนี้สหภาพรัฐสภาสากล ได้บรรจุเรื่องดังกล่าวเข้าที่ประชุมคณะกรรมาธิการสิทธิมนุษยชนของสมาชิก รัฐสภาแห่งสหภาพรัฐสภาสากลเพื่อศึกษาเกี่ยวกับขั้นตอนการพิจารณาความของศาล รัฐธรรมนูญ อีกทั้งเห็นว่ากรณีของนายจตุพรไม่เคยปรากฎมาก่อนในกระบวนการยุติธรรมสากลจึง ขอนำเรื่องดังกล่าวเข้าศึกษา

(ที่มา)
http://news.voicetv.co.th/thailand/47155.html

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น