หน้าเว็บ

วันศุกร์ที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2555

ปฏิรูปที่ดินในระบบทุนนิยม

ปฏิรูปที่ดินในระบบทุนนิยม


โดย นิธิ เอียวศรีวงศ์


การปฏิรูปที่ดินในประเทศไทยเป็นเหมือนเด็กกำพร้า แม่ทิ้งตั้งแต่ยังแบเบาะ และไม่มีผู้ชายคนไหนรับเป็นพ่อจนถึงบัดนี้ ซ้ำผู้ชายอีกมากในวงวิชาการยังอยากเห็นมันตายๆ ไปเสียด้วย

ผมเดาเอา เองว่า ส่วนหนึ่งคงเป็นเพราะ เมื่อพูดถึงการปฏิรูปที่ดินในประเทศไทย เห็นได้ชัดว่าผู้ที่น่าจะมีบทบาทสำคัญคือรัฐ และไอ้หมอนี่แหละครับ ที่น่าระแวงสงสัยแก่นักวิชาการ ในขณะที่ในประเทศทุนนิยมตะวันตก การปฏิรูปที่ดินเป็นผลมาจากความเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ และผู้ที่มีบทบาทสำคัญในการจัดการคือตลาด หรือพลังตลาด ซึ่งเป็นบุคคลที่น่าเลื่อมใสศรัทธาแก่นักวิชาการไทยอยู่มาก

เช่นใน สหรัฐจนถึงทุกวันนี้ ราคาที่ดิน (เพื่อการเกษตร) ย่อมผันเปลี่ยนไปตามแต่ว่า การผลิตด้านการเกษตรในช่วงหนึ่งๆ จะทำกำไรให้ได้มากน้อยเพียงไร เป็นต้น (ถึงอย่างไร สหรัฐก็ใหญ่โตมโหฬารเสียจน การเก็งกำไรที่ดิน (เพื่อการเกษตร) ไม่น่าจะทำกำไรได้ดีอยู่แล้ว)

ว่าที่จริง นักวิชาการไทยที่ระแวงการปฏิรูปที่ดินก็ไม่ผิดเสียทีเดียว เพราะการปฏิรูปที่ดินซึ่งมีหัวเรือใหญ่เป็นรัฐนั้น มักไม่สำเร็จหรือน่าสยดสยองเกินไป เช่น ในเวียดนาม (เหนือ) ระหว่าง พ.ศ.2496-2499 การปฏิรูปที่ดินซึ่งทำให้ชาวนาจนเข้าถึงที่ดินได้ถึง 2 ล้านคน แต่ก็ต้องฆ่าล้างผลาญกันไป (ตามการประเมินของฝ่ายตะวันตก) ถึง 283,000 ชีวิต ในจีนว่ากันว่าเกิน 10 ล้านชีวิต ส่วนในซิมบับเว ใช้วิธียึดที่ดินเจ้าที่ดินรายใหญ่ (ส่วนใหญ่คือไร่ชาของฝรั่งเจ้าอาณานิคม) มาแจกชาวบ้าน แต่กลับทำให้ความยากจนเพิ่มสูงขึ้น และผลิตอาหารได้น้อยลง

ที่ ประสบความสำเร็จ ก็มีข้อยกเว้นบางอย่างซึ่งไทยคงไม่อยากถูกยกเว้นอย่างนั้น ในฟิลิปปินส์สมัยมาร์กอส สามารถปฏิรูปที่ดินที่ใช้ปลูกข้าวและข้าวโพด และเพิ่มผลผลิตของพืชสองอย่างนี้ได้

ถึงขนาดฟิลิปปินส์สามารถส่งออก พืชอาหารได้เป็นครั้งแรก เพราะวางกลไกให้ชาวนาที่ได้ที่ดินเหล่านี้สามารถเข้าถึงแหล่งเงินกู้ได้ง่าย ขึ้นด้วย
 

(อ่านต่อ)
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1344237234&grpid=&catid=02&subcatid=0200

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น