กรณี 98 ศพ จะเอาผิดเฉพาะผู้สั่งการไม่ได้
"อย่ากลัวทหารจนอุจจาระขึ้นสมอง
และอย่าเล่นการเมืองจนลืมหลักการทางกฎหมาย
เสียชื่อที่เคยเป็นอดีตทหารเก่าและเป็นนักกฎหมายในระดับปริญญาเอก"
ผมไม่เห็นด้วยกับคุณเฉลิม อยู่บำรุง
ที่ให้สัมภาษณ์ว่าคดีชันสูตรพลิกศพที่ บชน.เป็นผู้รับผิดชอบ
และสิ่งที่ดีเอสไอทำ
เป็นไปตามที่มีคนมาร้องทุกข์ว่าให้ดำเนินการกับผู้สั่งการ
ไม่ได้ร้องให้ดำเนินคดีกับผู้ปฏิบัติ ส่วนคดีอื่นๆ หากจะให้ดำเนินการ
ก็ต้องมีคนมาร้องทุกข์ก่อน
"ผบ.ทบ.ทราบ
และเข้าใจดีว่าเราไม่มีเจตนาที่จะไปทำร้ายทำลายกองทัพ
ฝากบอกพรรคประชาธิปัตย์ ว่าถ้ามีวิธีคิดดีๆ
ว่าจะสั่งดีเอสไอเช็กบิลพรรคประชาธิปัตย์ได้
ช่วยแนะนำผมหน่อยจะได้ฉลองศรัทธา เพราะมันทำไม่ได้ ถ้าไม่ผิดก็คือไม่ผิด
และทหารตำรวจไม่เกี่ยวข้อง คนที่สั่งการต้องรับผิดชอบ และผมได้กำชับ ผบช.น.ไปแล้วว่าให้ทำงานไปตามหลักฐาน และอย่าให้สัมภาษณ์” ร.ต.อ.
เฉลิมกล่าว(http://www.khaosod.co.th
/view_news.php?newsid=TUROd01ERXdNakUzTURnMU5RPT0=§ionid=TURNd01RPT0=&day=TWpBeE1pMHdPQzB4Tnc9PQ==)
ผมไม่แปลกใจในการให้สัมภาษณ์ของคุณเฉลิมที่ออกมาในลักษณะนี้
เพราะประสบการณ์ในอดีตของคุณเฉลิมที่ได้เคยอพยพหลบหนีภัยอย่างหัวซุกหัวซุน
จากการปฏิวัติรัฐประหารโดยทหารในอดีตมาแล้ว
แต่ทว่าบัดนี้สถานการณ์เปลี่ยน เวลาเปลี่ยน ข้อเท็จจริงเปลี่ยน
ที่สำคัญก็คือผมไม่เชื่อว่าทหารจะลากรถถังมาปฏิวัติรัฐประหารอีกโดยไม่ถูก
ต่อต้านจากประชาชน
การให้สัมภาษณ์ของคุณเฉลิมในลักษณะนี้ทำให้เกิดความเข้าใจผิดว่ากรณี 98
ศพนี้จะเอาผิดได้เฉพาะ
ผู้สั่งการซึ่งเป็นฝ่ายการเมืองซึ่งหมายถึงคุณอภิสิทธิ์
เวชชาชีวะในฐานะอดีตนายกรัฐมนตรีและคุณสุเทพ
เทือกสุบรรณในฐานะผู้อำนวยการศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินหรือ ศอฉ.
นั้น ไม่เป็นความจริง ไม่ว่าจะเป็นด้วยประเด็นข้อกฎหมายหรือข้อเท็จจริง
จริงอยู่ในกรณีนี้ผู้สั่งการต้องรับผิดชอบอย่างแน่นอนและหลีกเลี่ยงไม่
ได้ แต่ผู้ปฏิบัติก็ต้องรับผิดชอบด้วย เพราะมาตรา 17 ของ
พรก.บริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 บัญญัติไว้ว่า
“มาตรา 17
พนักงานเจ้าหน้าที่และผู้มีอำนาจหน้าที่เช่นเดียวกับพนักงานเจ้าหน้าที่
ตามพระราชกำหนดนี้ไม่ต้องรับผิดทั้งทางแพ่ง ทางอาญา หรือทางวินัย
เนื่องจากการปฏิบัติหน้าที่ในการระงับหรือป้องกันการกระทำผิดกฎหมาย
หากเป็นการกระทำที่สุจริต ไม่เลือกปฏิบัติ
และไม่เกินสมควรแก่เหตุหรือไม่เกินกว่ากรณีจำเป็น
แต่ไม่ตัดสิทธิผู้ได้รับความเสียหายที่จะเรียกร้องค่าเสียหายจากทางราชการ
ตามกฎหมายว่าด้วยความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่”
ซึ่งก็แสดงให้เห็นว่าการคุ้มครองนั้นจะคุ้มครองเฉพาะ “หากเป็นการกระทำที่สุจริต ไม่เลือกปฏิบัติ ไม่เกินสมควรแก่เหตุหรือไม่เกินกว่ากรณีจำเป็น” เท่านั้น
ประเด็นจึงมีอยู่ว่า
http://www.prachatai.com/journal/2012/08/42211
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น