หน้าเว็บ

วันพฤหัสบดีที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2555

ความเหลื่อมล้ำในละตินอเมริกา ลดลงได้อย่างไร.?

ความเหลื่อมล้ำในละตินอเมริกา ลดลงได้อย่างไร.?


โดย ผาสุก พงษ์ไพจิตร


กลุ่มประเทศละตินอเมริกาได้ชื่อว่ามีความเหลื่อมล้ำด้าน รายได้สูงที่สุดในโลก โดย"ค่าจีนี่" เฉลี่ยสำหรับทั้งภูมิภาคสูงถึง 0.53          เมื่อปีพ.ศ.2549 เทียบกับแอฟริกา ซึ่งเหลื่อมล้ำสูง

ระดับ ถัดไปที่0.46 ตามด้วยเอเชียตะวันออกและแปซิฟิกที่ราวๆ 0.4 (ค่าจีนี่แสดงระดับความเหลื่อมล้ำค่ายิ่งสูงระดับความเหลื่อมล้ำยิ่งสูง)

สำหรับทั้งภูมิภาค ข้อมูลจาก 17 ประเทศ แสดงค่าจี่นี่ลดลงโดยเฉลี่ยร้อยละ 1.1 ต่อปี

นับ ว่าความเหลื่อมล้ำด้านรายได้ลดลงอย่างน่าทึ่งมากทีเดียว แม้ว่าละตินอเมริกาจะยังเป็นภูมิภาคที่มีค่าเฉลี่ยจี่นี่สูงที่สุดอยู่ก็ตาม

มูลเหตุของความเหลื่อมล้ำสูงนั้น มีหลายประการ คือ
(1) ระบบการเมืองที่มีชนชั้นนำเป็นผู้ควบคุมนโยบาย (2) ตลาดเงินกู้ที่กีดกันคนระดับล่าง ทำให้ขาดโอกาสเข้าถึงทางการเงินเพื่อสร้างเสถียรภาพให้แก่ครัวเรือน ขณะที่คนรวยกว่ามีโอกาสมากกว่า (3) โอกาสได้รับการศึกษาไม่เท่าเทียมกัน ทำให้ค่าจ้างแรงงานระหว่างคนงานมีฝีมือกับคนงานไร้ฝีมือต่างกันมาก (4) การเหยียดผิวและการกีดกันผู้หญิง (5) การพุ่งขึ้นของภาคการเงิน (โดยเฉพาะธนาคาร) เมื่อทศวรรษ 1990 ทำให้รายได้ในกลุ่มนี้สูงมากกว่ากลุ่มอื่น
สำหรับคำอธิบายความเหลื่อมล้ำลดลงได้อย่างไรนั้น งานศึกษาของ Lopez Calva และ Lustig เกี่ยวกับ 3 ประเทศที่อ้างถึงข้างต้น

ชี้ ไปที่ปัจจัยหลัก 2 ประการคือ (1) การขยายการศึกษา (จำนวนปี) และการฝึกงาน ที่ได้เกิดขึ้นมาก่อนหน้าคือ เมื่อทศวรรษ 1980 ได้ทำให้ความต่างระหว่างค่าจ้างของคนงานมีฝีมือกับไร้ฝีมือลดลง และ (2) รัฐบาลได้เพิ่มเงินอุดหนุน (transfers) ให้กับคนจน

ปัจจัย (1) นั้นหมายความว่า คนงานไร้ฝีมือมีค่าแรงเพิ่มขึ้น จึงเปิดช่องให้ส่งลูกไปเรียนหนังสือได้มากกว่าเดิมด้วย ดังนั้น นโยบายเพิ่มโอกาสการศึกษาให้แก่สมาชิกครัวเรือนระดับล่างจึงมีผลลดความ เหลื่อมล้ำถึง 2 สถาน เป็นผลดีกับอัตราความเติบโตทางเศรษฐกิจในระยะยาวอีกด้วย

ปัจจัย (2) นั้น มีรายละเอียดบางประการที่

(อ่านต่อ)
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1345606844&grpid&catid=12&subcatid=1200

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น