หน้าเว็บ

วันพฤหัสบดีที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2555

คอป. เห็น 'ตุลาการ' ชัดกว่า 'ชายชุดดำ'

คอป. เห็น 'ตุลาการ' ชัดกว่า 'ชายชุดดำ'

 

โดยวีรพัฒน์ ปริยวงศ์
นักกฎหมายอิสระ
http://www.facebook.com/verapat



อ วีรพัฒน์ ปริยวงศ์ รายงาน คอป และเรื่องคดี พัน คำกอง 20 9 2012
http://www.youtube.com/watch?v=P1I5z8hYAQE 


รายงานฉบับสมบูรณ์ โดย ‘คณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อการปรองดองแห่งชาติ’ (คอป.) ได้ กล่าวถึง ประเด็น ‘สถาบันตุลาการ’ ไว้พอสมควร ซึ่งผู้เขียนจะขอนำเนื้อหาบางส่วนมาชวนสังคมร่วมกันคิดต่อว่า ‘ตุลาการ’ เป็นส่วนหนึ่งของ ‘รากเหง้า’ ความขัดแย้งหรือไม่ ? และ ‘ตุลาการ’ ควรจะปรับตัวเพื่อร่วมสร้างความปรองดองในสังคมไทยอย่างไร ? ดังนี้


1. นักการเมืองซุกหุ้น แต่ตุลาการ หักดิบ’ กฎหมาย
คอป. เล่าถึงบริบทความขัดแย้งตาม ‘แบบฉบับมาตรฐาน’ โดยนำยุคสมัย ‘รัฐบาลไทยรักไทย’ มาเป็นจุดเริ่มต้นของลำดับเหตุการณ์  รายงาน คอป. ระบุว่า

“[รัฐบาลไทยรักไทย] ถูกกล่าวหาว่าละเมิดหลักการประชาธิปไตย หลักนิติธรรม คุณธรรมและสิทธิมนุษยชน ใช้อำนาจแสวงหาผลประโยชน์ทางการเมืองและธุรกิจ แต่ระบบตรวจสอบกลับอ่อนแอและขาดประสิทธิภาพและถูกกล่าวหาว่าถูกแทรกแซงโดย ฝ่ายบริหาร จนทำให้ผู้นำกองทัพทำรัฐประหารในปี 2549 ซึ่งเป็นการใช้อำนาจนอกระบบในการแก้ปัญหาและเป็นการละเมิดหลักประชาธิปไตย อย่างร้ายแรง แทนที่จะเป็นการแก้ปัญหาทางการเมือง การรัฐประหารกลับกลายเป็นเงื่อนไขที่ทำให้ความขัดแย้งทางการเมืองขยายตัว มีความซับซ้อนและเป็นบาดแผลทางการเมืองที่ร้าวลึกมาจนถึงปัจจุบัน” (หน้า 53-54)

จากนั้น คอป.  จึงวิเคราะห์เชื่อมโยงความเกี่ยวข้องระหว่าง ตุลาการและความรุนแรงทางการเมือง โดยให้ความสำคัญอย่างมากกับ คดีซุกหุ้น ซึ่งศาลรัฐธรรมนูญได้มีคำวินิจฉัยเมื่อปี 2544 ว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร มิได้กระทำผิดกฎหมาย โดยรายงาน คอป. ระบุว่า

อำนาจตุลาการซึ่งควรต้องมีบทบาทและหน้าที่ในการผดุงไว้ซึ่ง หลักนิติธรรม กลับไม่สามารถทำหน้าที่ในการยุติความขัดแย้งทางการเมืองได้ และยังถูกวิพากษ์วิจารณ์ว่าเป็นผู้ละเมิดหลักนิติธรรมเสียเอง (รายงานหน้า 54, เน้นคำหนาโดย คอป.) และระบุต่อว่า กรณีจึงกลายเป็นปัญหารากเหง้าและปมปัญหาของความขัดแย้งในระยะต่อมา…”  (หน้า 54, เน้นคำโดยผู้เขียน) 

ยิ่งไปกว่านั้น คอป. ได้วิเคราะห์ถึงปัญหาทางกฎหมายของคำวินิจฉัยดังกล่าวอย่างเจาะจง และอ้างถึงความคิดเห็นของตุลาการรายบุคคลสองท่าน ก่อนจะติติงอย่างเข้มข้นถึงคำวินิจฉัย ‘คดีซุกหุ้น’ดังกล่าวว่า

เป็น การปฏิบัติที่ผิดหลักกฎหมายโดยแท้ และเป็น ความผิดพลาดของศาลรัฐธรรมนูญ ซึ่ง เป็นการบิดเบือนหรือหักดิบกฎหมาย อันเป็นจุดเริ่มต้นที่ทให้สังคมเกิดความเคลือบแคลงในหลักนิติธรรมของประเทศไทย  (รายงานหน้า 55, เน้นคำโดยผู้เขียน)

(อ่านต่อ)
http://www.prachatai.com/journal/2012/09/42735

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น