หน้าเว็บ

วันพุธที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

1 ปธ.สภา : 39,185 ประชาชน คุยกับรากหญ้าเชียงใหม่ หลังแก้ 112 ถูกปัดตก

1 ปธ.สภา : 39,185 ประชาชน คุยกับรากหญ้าเชียงใหม่ หลังแก้ 112 ถูกปัดตก

 

 
คุยกับคนเชียงใหม่ ผู้ร่วมแก้ ม.112


บทสัมภาษณ์ประชาชนชาวเชียงใหม่ ผู้ร่วมลงชื่อสนับสนุนการแก้ไขกฎหมายอาญามาตรา 112 ตามข้อเสนอนิติราษฎร์กับ ครก.112 ลองฟังเสียงชาวนา แม่ค้า ผู้รับเหมา คนรับจ้าง ดูว่าเขาคิดอย่างไรหลังร่างกฎหมายนี้ถูกปัดตกไปเงียบๆ
“มาตรา 112 ผู้ใดหมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท หรือผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สามปีถึงสิบห้าปี”
เราอาจย้อนทบทวนถึงแรงดันสะสมของเรื่อง 112 นี้ไปได้ไกลถึงเหตุการณ์สังหารหมู่ 6 ตุลา 19 ที่ส่งผลให้ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 ซึ่งเรียกกันว่า "กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ" นี้ถูกแก้ไขเพิ่มโทษโดยคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน เมื่อวันที่ 21 ตุลาคม 2519 เป็นต้นมา 

ในยุคสมัยปัจจุบัน มีความพยายามของสังคมในการเรียกร้องต่อรัฐให้จัดการแก้ไขยกเลิกบ่อเกิดแห่ง ความอยุติธรรมนี้อยู่อย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะให้ยกเลิก ให้แก้ไข ให้ความรู้ความเข้าใจในปัญหา ให้ถกเถียงอภิปราย หรือแม้กระทั่งให้ปฏิรูปสถาบันกษัตริย์  แต่การจับกุมคุมขังดำเนินคดีก็ยังคงเกิดขึ้นต่อเนื่อง

จนเมื่อวันที่ 15 มกราคม 2555 คณะรณรงค์แก้ไขมาตรา 112 (http://www.ccaa112.org/web/) ซึ่งประกอบด้วยนักวิชาการ ปัญญาชน สื่อมวลชน นักเขียน ศิลปิน ผู้มีชื่อเสียงทางสังคม และนักเคลื่อนไหวทางสังคมจำนวนหนึ่ง ได้นำร่างแก้ไขกฎหมายนี้ของคณะนิติราษฎร์มาทำเป็นข้อเสนอเพื่อยื่นให้รัฐสภา แก้ไขกฎหมายนี้ตามกระบวนการนิติบัญญัติเท่าที่มีอยู่  มีประชาชนจากทั่วประเทศร่วมส่งเอกสารลงลายมือชื่อสนับสนุนเป็นจำนวนถึง 39,185 คน โดยนำเข้าสู่สภาด้วยกิจกรรม “ปรากฏการณ์ 112 ริกเตอร์” เมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม 2555 

ก่อนหน้านั้นไม่นานนัก แรงดันที่สั่นสะเทือนในเรื่องนี้ครั้งใหญ่คือเหตุการณ์วันที่ 8 พฤษภาคม 2555 นายอำพล ตั้งนพกุล หรืออากง SMS ผู้ต้องขังคดี 112 ที่เสียชีวิตในเรือนจำระหว่างถูกคุมขังด้วยโรคมะเร็ง โดยเขาไม่ได้รับอนุญาตให้ประกันตัวมาตั้งแต่ชั้นจับกุม

แต่แล้วเมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2555 ปรากฏว่ามีการเผยแพร่ข่าว (อย่างเงียบๆ) ว่าประธานรัฐสภาได้เขี่ยข้อเสนอร่างแก้ไขกฎหมายตกไปแล้วตั้งแต่วันที่ 26 กันยายน 2555  (http://prachatai.com/journal/2012/11/43435) โดยให้เหตุผลสั้นๆ ว่าร่างดังกล่าวไม่เข้าหมวดสิทธิเสรีภาพ  อย่างที่ไม่มีการแจ้งกลับถึงครก.112 ผู้นำในการเสนอหรือเรียกให้ไปชี้แจงแต่อย่างใด
 
(อ่านต่อ)
http://www.prachatai.com/journal/2012/11/43773

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น