การปฏิวัติรัสเซีย 1917 มีความสำคัญอย่างไร
การปฏิวัติสองขั้นตอน
ที่ชะลอไว้ที่ขั้นตอน “ทุนนิยมประชาธิปไตย” หมดสมัยและความก้าวหน้าไปทั่ว
โลกตั้งแต่ ค.ศ. 1848 ในสมัยนี้ไทยไม่ใช่กึ่งศักดินากึ่งทุนนิยม
แต่เป็นทุนนิยมเต็มตัวไปนาน ถ้าจะสร้างรัฐไทยใหม่ต้องก้าวสู่สังคมนิยม
ไม่เช่นนั้นก็จะถอยหลัง
โดย ลั่นทมขาว
การปฏิวัติรัสเซียในปี 1917 เป็นตัวอย่างสำคัญของความพยายามในการยึดอำนาจรัฐเพื่อสร้างสังคมนิยม เราสามารถเรียนบทเรียนอะไรจากเหตุการณ์นี้ได้
สภาพสังคมรัสเซีย และลำดับเหตุการณ์ที่นำไปสู่การปฏิวัติ
รัสเซียสมัยนั้นปกครองโดยเผด็จการของกษัตริย์ซาร์ แต่ทั้งๆ ที่หลายส่วนของสังคมมีสภาพที่ตกค้างจากระบบฟิวเดิลก่อนทุนนิยม รัสเซียถูกลากเข้าไปในระบบทุนนิยมโลกาภิวัตน์แล้ว ลีออน ตรอทสกี้ นักมาร์คซิสต์รัสเซียเรียกสภาพเช่นนี้ว่าเป็น “การพัฒนาแบบองค์รวมและต่างระดับ” องค์ รวมเพราะมีสภาพร่วมกับสังคมทุนนิยมอื่นๆ ในประเทศที่พัฒนา แต่ต่างระดับเพราะบางส่วนของสังคมรัสเซียล้าหลังมาก โดยเฉพาะสภาพความเป็นอยู่ของเกษตรกรในชนบท
แต่ในเมืองเพทโทรกราด(Petrograd) ซึ่งเป็นเมืองอุตสาหกรรมใหญ่ใกล้พรมแดนกับฟินแลนด์ มีโรงงานอุตสาหกรรมสมัยใหม่ขนาดใหญ่ซึ่งจ้างคนงานหลายพันคน ในขณะเดียวกันโรงงานอุตสาหกรรมโดยทั่วไปในสหรัฐมีคนงานแค่หลักร้อย โรงงานที่ทันสมัยที่สุดในรัสเซียก้าวหน้ากว่าของสหรัฐ แต่โดยรวมแล้วสหรัฐอเมริกาพัฒนาไปไกลกว่ารัสเซีย เราจะเห็นความขัดแย้งแบบนี้ในระบบทุนนิยมทุกวันนี้ด้วย
สภาพเช่นนี้ของรัสเซียมีผลต่อภารกิจของชนชั้นกรรมาชีพผู้ทำงาน ซึ่งเป็นคนส่วนน้อยในสังคม เพราะทั้งๆ ที่เขาเป็นคนส่วนน้อย แต่เขาทำงานในแผนกเศรษฐกิจที่ทันสมัยที่สุดและสร้างมูลค่ามหาศาล ยิ่งกว่านั้นเกษตรกรรายย่อยที่เป็นคนส่วนใหญ่ มีฐานะทางชนชั้นเป็นนายทุนน้อยยากจนที่แข่งขันกันเอง ในการผลิตและขายสินค้า
ดังนั้นกรรมาชีพจะต้องเป็นผู้นำการปฏิวัติสังคมนิยมเพื่อการยึดระบบการผลิต มาเป็นของส่วนรวม และต้องนำการปฏิวัติด้วยความคิดทางการเมืองสมัยใหม่ที่มาจากการศึกษาและการ ทำงานในระบบอุตสาหกรรมอีกด้วย แต่ในขณะเดียวกันกรรมาชีพต้องดึงเกษตรกรรายย่อยมาเป็นแนวร่วม และต้องพิสูจน์ให้เกษตรกรเห็นว่าสังคมนิยมจะเป็นประโยชน์กับเขา
ความก้าวหน้าทันสมัยของลัทธิการเมืองมาร์คซิสต์ในหมู่กรรมาชีพ เมื่อเปรียบเทียบกับลัทธิการเมืองของเกษตรกรที่อยากเปลี่ยนสังคม เห็นได้จากความแตกต่างในเป้าหมายและยุทธวิธี ลัทธิการเมืองของเกษตรกรเน้นการหมุนนาฬิกากลับไปสู่ยุคที่เกษตรกรแต่ละครอบ ครัวมีที่ดินทำกินของตนเอง วิธีที่จะไปสู่เป้าหมายคือการลอบฆ่านักการเมืองหรือเจ้าของที่ดิน ซึ่งมีผลในการถูกปราบปรามเท่านั้น ส่วนนักมาร์คซิสต์ต้องการสร้างสังคมสมัยใหม่ด้วยเทคโนโลจีที่ก้าวหน้าที่สุด เพื่อให้คนส่วนใหญ่ร่วมกันปกครองตนเอง และตั้งเป้าหมายในการยึดอำนาจรัฐโดยมวลชน
ในปี 1905 ภายหลังจากที่รัสเซียพ่ายแพ้สงครามแย่งชิงอำนาจกับญี่ปุ่น มีการพยายามปฏิวัติของกรรมาชีพท่ามกลางปัญหาเศรษฐกิจที่ตามมา การประท้วงตอนแรกนำโดยหลวงพ่อกาปอนมีการชูรูปเจ้าเพื่อขอความเมตตาจาก กษัตริย์ซาร์ แต่ซาร์โต้ตอบด้วยกระสุนและความตาย ซึ่งสร้างกระแสการปฏิวัติท่ามกลางความโกรธแค้น
ในยุคนั้นกรรมาชีพก่อตั้งสภาคนงานเป็นครั้งแรกในเมืองเพทโทรกราด ซึ่งเรียกว่า Soviets(โซเวียต) เพื่อประสานงานการปฏิวัติ นับว่าเป็นการคิดค้นรูปแบบสภาประชาธิปไตยที่ก้าวหน้ากว่ารัฐสภาในระบบทุน นิยม เพราะควบคุมทั้งการเมืองและเศรษฐกิจพร้อมๆ กัน เนื่องจากสถานที่ทำงานทุกแห่งมีสภาคนงาน นอกจากนี้มีระบบตรวจสอบถอดถอนผู้แทนตลอดเวลา แต่การปฏิวัติครั้งนี้ถูกปราบซึ่งทำให้มีการเรียนบทเรียนในการต่อสู้สำหรับ อนาคต
ในปี 1914 สงครามโลกครั้งที่หนึ่งระเบิดขึ้น รัสเซีย อังกฤษ ฝรั่งเศส รบกับ เยอรมัน เพื่อแย่งชิงความเป็นมหาอำนาจจักรวรรดินิยมในโลก พรรคสังคมนิยมทั้งหลายในยุโรปที่เคยมีจุดยืนต้านสงคราม กลับยอมจำนนต่อแนวชาตินิยมและสนับสนุนสงครามในประเทศของตนเองข้อยกเว้นคือ พรรคบอลเชวิค(Bolshevik)ในรัสเซีย และนักต่อสู้มาร์คซิสต์อย่างตรอทสกี้ โรซา ลัคแซมเบอร์ค คาร์ล ไลปนิค กับ จอห์น มะเคลน ในประเทศรัสเซีย เยอรมัน และอังกฤษ
(อ่านต่อ)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น