3 แนวทาง แก้รัฐธรรมนูญ ใน เพื่อไทย
มี
ความเป็นไปได้มากเพียงใดที่ข้อเสนอ "ต้าน" การทำประชามติอันมาจาก
ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง อันมาจาก นายจตุพร พรหมพันธุ์ จะประสบผลสำเร็จ
อย่างน้อยก็ประสบผลสำเร็จในที่ประชุมพรรคเพื่อไทยในวันที่ 25 ธันวาคม
หากมองเพียงภาพของ ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง หากมองเพียงภาพของ นายจตุพร พรหมพันธุ์ ก็อาจมีความเป็นไปได้
เพราะ ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง มากด้วยความจัดเจนทางการเมือง
เพราะที่ยืนอยู่เบื้องหลัง นายจตุพร พรหมพันธุ์ คือ นปช.แดงทั้งแผ่นดินอันทรงพลานุภาพอย่างยิ่ง
ชี้ต้นตาย ชี้ปลายเป็นให้กับพรรคเพื่อไทย ให้กับรัฐบาล
เพราะ ความต้องการของ ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง คือการแก้ไขรัฐธรรมนูญเป็นรายมาตราขณะที่ความต้องการของ นายจตุพร พรหมพันธุ์ และ นปช.คือเดินหน้าโหวตวาระ 3 ไปเลย
อย่ามองข้ามความปรารถนาดีของ 2 คนนี้อย่างเด็ดขาด
"ถามหัวใจคนเสื้อแดง เดินหน้าโหวตวาระ 3 ให้จบสิ้นไปเลย ขอเสียงให้ได้ยินถึงทำเนียบรัฐบาล โหวตวาระ 3 เราชนะ ลงประชามติเราแพ้"
อย่างน้อยก็ประสบผลสำเร็จในที่ประชุมพรรคเพื่อไทยในวันที่ 25 ธันวาคม
หากมองเพียงภาพของ ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง หากมองเพียงภาพของ นายจตุพร พรหมพันธุ์ ก็อาจมีความเป็นไปได้
เพราะ ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง มากด้วยความจัดเจนทางการเมือง
เพราะที่ยืนอยู่เบื้องหลัง นายจตุพร พรหมพันธุ์ คือ นปช.แดงทั้งแผ่นดินอันทรงพลานุภาพอย่างยิ่ง
ชี้ต้นตาย ชี้ปลายเป็นให้กับพรรคเพื่อไทย ให้กับรัฐบาล
เพราะ ความต้องการของ ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง คือการแก้ไขรัฐธรรมนูญเป็นรายมาตราขณะที่ความต้องการของ นายจตุพร พรหมพันธุ์ และ นปช.คือเดินหน้าโหวตวาระ 3 ไปเลย
อย่ามองข้ามความปรารถนาดีของ 2 คนนี้อย่างเด็ดขาด
"ถามหัวใจคนเสื้อแดง เดินหน้าโหวตวาระ 3 ให้จบสิ้นไปเลย ขอเสียงให้ได้ยินถึงทำเนียบรัฐบาล โหวตวาระ 3 เราชนะ ลงประชามติเราแพ้"
เป็นไปได้มากน้อยแค่ไหน
หาก ประเมินจากถ้อยแถลงของ นายพร้อมพงศ์ นพฤทธิ์ โฆษกพรรคเพื่อไทย การประชุมในวันที่ 25 ธันวาคม มิใช่การประชุมเพื่อเลือกหนทางแก้ไขรัฐธรรมนูญ
หากแต่เป็นการประชุมเพื่อกำหนดรายละเอียดว่าพรรคจะรณรงค์เรื่องประชามติอย่างไร
อย่า ได้แปลกใจไปเลยที่โฆษกพรรคเพื่อไทยจะแถลงเช่นนี้ เพราะก่อนหน้าข้อเสนอของ ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง และของ นายจตุพร พรหมพันธุ์ จะปรากฏขึ้นมีบทสรุปในเรื่องการทำประชามติเสนอมาแล้ว
1 ผ่านคณะศึกษาพรรคร่วมรัฐบาลเพื่อแก้ไขรัฐธรรมนูญตามมาตรา 291
1 แถลงการณ์ร่วมของพรรคร่วมรัฐบาลเห็นด้วยกับการทำประชามติอันมาจากคณะศึกษาพรรคร่วมรัฐบาล
เป็นแถลงการณ์ร่วมอันมี 4 หัวหน้าพรรคร่วมรัฐบาลเห็นชอบและร่วมลงนาม
1 ครม.มีมติเมื่อวันที่ 18 ธันวาคมเห็นชอบในเรื่องการทำประชามติและจัดตั้งคณะทำงานศึกษาแนวทางการทำประชามติ
หากพรรคเพื่อไทยเห็นชอบกับข้อเสนอ ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง และ นายจตุพร พรหมพันธุ์
นั่นหมายความว่าพรรคเพื่อไทยจะล้มมติเบื้องต้นของ ครม.จะล้มรายละเอียดอันปรากฏผ่านแถลงการณ์ร่วมพรรคร่วมรัฐบาล
เท่ากับเป็นการล้มแนวทาง "ประชามติ" โดยสิ้นเชิง
หาก มติของพรรคเพื่อไทยในวันที่ 25 ธันวาคม ไม่ว่าจะเป็นไปตามข้อเสนอของ ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง ไม่ว่าจะเป็นไปตามข้อเสนอของ นายจตุพร พรหมพันธุ์
ต้องถือเป็นเรื่องใหญ่
เป็น เรื่องใหญ่ไม่เพียงเพราะ นายจารุพงศ์ เรืองสุวรรณ หัวหน้าพรรคเป็น 1 ในคณะทำงานศึกษาแนวทางการทำประชามติในฐานะของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
หากที่สำคัญยังเป็นเรื่องใหญ่เพราะเท่ากับแย้งกับ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ด้วย
จาก การแถลงของ นายนพดล ปัทมะ ยืนยัน "พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร บอกว่า อยากเห็นประเทศออกจากความขัดแย้ง การทำประชามติไปถามเจ้าของประเทศเป็นแนวทางที่ถูกต้อง"
เช่นเดียวกับการโฟนอินเข้าไปยังที่ชุมนุมคนเสื้อแดง ณ เขาใหญ่
"ถาม ว่าถ้าจะประชามติต้องมีเสียงสนับสนุนถึง 24.3 ล้านเสียงจะผ่านได้ ผมไม่หนักใจ ผมเคยผ่านการเลือกตั้งมา หมูมาก คิดว่าประชาชนจะออกมาใช้เสียงกันมากเพื่อให้ได้รัฐธรรมนูญที่เป็น ประชาธิปไตย"
เช่นเดียวกับการปราศรัยของ นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ ในคืนเดียวกันนั้น
"ถ้าคิดโหวตวาระ 3 ก็ขอให้ดูทิศทางลม ดูความคิด พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เป็นหลัก เพราะท่านเป็นคนมีความสามารถ เป็นคนเก่ง"
เก่งไม่เก่ง อีกไม่เกินเดือนกรกฎาคม 2556 มีคำตอบ
ไม่ว่าแนวทางประชามติ ไม่ว่าแนวทางแก้รายมาตรา ไม่ว่าแนวทางโหวตวาระ 3 ท้าทายอย่างยิ่ง
ท้าทายว่าแนวทางของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ท้าทายแนวทางของ ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง ท้าทายแนวทาง นายจตุพร พรหมพันธุ์ ถูกหรือผิด
น่าสนใจก็ตรงที่คำตอบจะอยู่ที่ "ประชาชน"
(ที่มา)
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1356317963&grpid=01&catid=&subcatid=
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น