หน้าเว็บ

วันจันทร์ที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2555

หลากทรรศนะ "ผ่าทางตัน" เดินหน้าประชามติ-แก้รธน.

หลากทรรศนะ "ผ่าทางตัน" เดินหน้าประชามติ-แก้รธน.

 

หมายเหตุ - นักวิชาการได้แสดงทรรศนะความเห็นเกี่ยวกับการจัดทำประชามติของรัฐบาลเพื่อ แก้ไขร่างรัฐธรรมนูญ 2550 มาตรา 291 เพื่อให้ได้เสียงเกินกึ่งหนึ่งของผู้มีสิทธิออกเสียงประมาณ 24.3 ล้านเสียง

วีรพัฒน์ ปริยวงศ์
นักกฎหมายอิสระ


เห็น ข่าวว่าจะมีการประชุมคณะทำงานของรัฐบาลเพื่อศึกษาการทำประชามติ ในวันที่ 24 ธันวาคมนี้ และมีผู้เป็นห่วงเรื่องการออกเสียงประชามติ ตลอดจนเรื่องที่อาจจะมีผู้ไปร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญว่าประชามติผิดรัฐธรรมนูญ นั้น ขอเสนอความเห็นว่า ทางออกหนึ่งที่เป็นไปได้ คือการที่รัฐบาลและรัฐสภาควรยึดหลักอธิบายว่า รัฐธรรมนูญ มาตรา 3 ได้วางหลักการแบ่งแยกการใช้อำนาจอันเป็นหลักกฎหมายพื้นฐานที่สุดของรัฐ ธรรมนูญ ดังนั้น คณะรัฐมนตรี (ครม.) จึงไม่อาจทำประชามติตามมาตรา 165 เพื่อหาข้อยุติอันเป็นการก้าวล่วงอำนาจของรัฐสภาในกรณีที่เกี่ยวข้องกับ อำนาจในการแก้ไขรัฐธรรมนูญอันเป็นอำนาจเฉพาะของรัฐสภาได้

อย่างไรก็ ดี เพื่อเป็นการแก้ปัญหาความขัดแย้ง ครม. เมื่อรัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายมหาชน แม้ผมจะไม่เห็นด้วยกับการทำประชามติ เพราะโดยส่วนตัวไม่เห็นด้วยกับการมีวาระซ่อนเร้นของรัฐบาลในการแทรกวาระที่ 2.5 ของการแก้ไขรัฐธรรมนูญขึ้นมา แต่ถ้าจำเป็นต้องทำประชามติ ผมเสนอให้ทำตามมาตรา 165 โดยดำเนินการให้มีการออกเสียงประชามติเพื่อให้คำปรึกษาแก่ ครม.เพื่อร่วมหาทางออกในการบริหารราชการแผ่นดินในสภาวะที่สังคมมีความขัด แย้ง อันเป็นอำนาจของฝ่ายบริหาร ใช้เพียงเสียงข้างมากของผู้มีสิทธิออกเสียงเท่านั้น ด้วยการให้ประชาชนออกมาใช้สิทธิออกเสียงให้เยอะเพียงอย่างเดียว อีกทั้งสามารถเสนอผลเพื่อหารือกับรัฐสภาได้ ส่วนรัฐสภาจะพิจารณาผลประชามติอย่างไร ก็ถือว่าเป็นอำนาจของรัฐสภา การที่ประชาชนออกมาให้คำปรึกษากับ ครม. แม้จะไม่ผูกพันต่อรัฐสภา แต่ ครม.อาจเปิดอภิปรายในรัฐสภาได้ เมื่อได้มีการทำประชามติในกรณีขอคำปรึกษา


(อ่านต่อ) 
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1356314898&grpid=01&catid=&subcatid=

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น