หน้าเว็บ

วันศุกร์ที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2556

อัพเดทท่าทีระหว่างประเทศ ประณามคำตัดสินคดีสมยศต่อเนื่อง

อัพเดทท่าทีระหว่างประเทศ ประณามคำตัดสินคดีสมยศต่อเนื่อง




หนึ่งวันหลังศาลอาญาพิพากษาให้สมยศ พฤกษาเกษมสุข บก.นิตยสาร Voice of Taksin มีความผิดตามมาตรา 112 ด้วยการจัดพิมพ์ จัดจำหน่ายและเผยแพร่นิตยสารเสียงทักษิณ (Voice of Taksin) ซึ่งมีบทความเข้าข่ายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ  ลงโทษจำคุก 10 ปี จากความผิด 2 กรรม  บวกกับโทษเดิมเมื่อปี 2552 คดีหมิ่นประมาท พล.อ.สพรั่ง กัลยาณมิตร ที่รอลงอาญาไว้อีก 1 ปี รวมเป็นจำคุก 11 ปี

องค์กรระหว่างประเทศยังคงออกแถลงการณ์แสดงความเห็นเรื่องนี้อย่างต่อเนื่อง

ผู้สื่อข่าวไร้พรมแดน ชี้คำตัดสินคดีกระทบเสรีภาพสื่อไทย
องค์กร ผู้สื่อข่าวไร้พรมแดน (RSF) ออกแถลงการณ์ต่อกรณีนี้โดยระบุว่า คำพิพากษานี้ไม่ต่างจากยุทธวิธีทางการเมืองที่ออกแบบเพื่อปิดปากการวิจารณ์ รัฐบาล ข้อเท็จจริงที่ว่า ไม่มีการฟ้องร้องต่อบทความที่ถูกกล่าวหาว่าเข้าข่ายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ จนกระทั่งหลายเดือนหลังจากการจับกุมตัวสมยศ พิสูจน์ให้เห็นว่าทางการต้องการล่าหัวเขาและเพียงใช้เป็นข้ออ้างที่จะคุมขัง เขา


องค์กรผู้สื่อข่าวไร้พรมแดนยังเรียกร้องให้มีการปล่อยตัวสมยศในทันที และกลับคำตัดสินด้วย นอกจากนี้ ยังเรียกร้องต่อประชาคมนานาชาติให้แสดงท่าทีต่อการพิจารณาคดีนี้ซึ่งเป็นการ โจมตีเสรีภาพสื่อในประเทศไทยโดยตรง กฎหมายหมิ่นกษัตริย์ฯ และมาตรา 112 ของประมวลกฎหมายอาญาจะต้องถูกยกเลิก


ฟรีดอมเฮาส์ ชี้ 112 สร้างบรรยากาศความกลัวและการเซ็นเซอร์ตัวเอง
ด้าน องค์การฟรีดอมเฮาส์ ซึ่งเป็นองค์กรรณรงค์ด้านเสรีภาพ มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่วอชิงตัน ดีซี สหรัฐอเมริกา ออกแถลงการณ์ประณามคำตัดสิน และเรียกร้องให้ปล่อยตัวสมยศทันที ทั้งนี้ ยังเรียกร้องให้รัฐบาลแก้ไขกฎหมายเพื่อคุ้มครองเสรีภาพในการแสดงความเห็น เพื่อให้เป็นไปตามมาตรฐานสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศด้วย


"น่ากังวลอย่างมากที่ผู้ที่รณรงค์เรื่องเสรีภาพในการพูดอย่างสมยศ ตกเป็นเป้า ถูกควบคุมตัว และต้องมาประสบกับคำตัดสินเช่นนี้" ซู กันนาวอร์ดเดอนา-วาน ผู้อำนวยการแผนงานเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ฟรีดอมเฮาส์ กล่าวและว่า ข้อกล่าวหาแบบที่นำมาใช้กับสมยศสร้างบรรยากาศแห่งความกลัวที่ร้ายแรงและการ เซ็นเซอร์ตัวเอง  ซึ่งกัดกร่อนพันธสัญญาต่ประชาธิปไตยที่ไทยเองเคยประกาศ

"ตามที่ได้ลงนามใน UDHR และ ICCPR ประเทศไทยมีพันธกรณีระหว่างประเทศในการปกป้องเสรีภาพการแสดงออก รวมทั้งให้หลักประกันสิทธิของนักกิจกรรมด้านสิทธิมนุษยชน ให้แสดงความเห็นได้อย่างอิสระ ทั้งในออนไลน์และออฟไลน์ โดยไม่ต้องกลัวการตอบโต้ด้วยกำลังหรือการคุกคามด้วยกฎหมาย"  

วิพากษ์กระบวนการทางกฎหมายคดีสมยศ 'ไม่ปกติ'
ฟรอนท์ไลน์ ดีเฟนเดอร์ องค์กรสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ ซึ่งมีสำนักงานใหญ่อยู่ที่กรุงดับลิน ประเทศไอร์แลนด์ เชื่อว่าคำพิพากษาและโทษที่รุนแรงจนเกินจำเป็นนี้เป็นผลจากการทำงานตามหลัก การและสันติของสมยศในฐานะนักต่อสู้ด้านสิทธิมนุษยชนและแรงงานในไทย รวมถึงเรียกร้องให้ทางการไทยรับประกันว่าจะมีการกลับคำพิพากษาด้วย


นอกจากนี้ ฟรอนท์ไลน์ดีเฟนเดอร์ยังได้ย้ำถึงความกังวลเกี่ยวกับความไม่ปกติในกระบวนการ ทางกฎหมายระหว่างการพิจารณาคดีของสมยศด้วย ว่าเป็นการฝ่าฝืนกฎหมายระหว่างประเทศ ซึ่งรวมถึง ICCPR ที่ประเทศไทยเป็นภาคี

AHRC มองคำตัดสินคดี ส่งผลสกัดการแสดงออกเสรี-ไอเดีย คนเห็นต่าง
คณะ กรรมาธิการสิทธิมนุษยชนแห่งเอเชีย (AHRC) ระบุว่า การที่ศาลตัดสินว่าบทความที่ลงในนิตยสารวอยซ์ออฟทักษิณสองบทความมีเนื้อหา ที่ดูหมิ่น หมิ่นประมาท อาฆาตมาดร้ายต่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว การพิมพ์ แจกจ่าย หรือเผยแพร่บทความจึงเป็นความจงใจดูหมิ่น หมิ่นประมาท อาฆาตมาดร้ายต่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวด้วยนั้น เท่ากับว่าใครที่เกี่ยวข้องกับการบรรณาธิการ ตีพิมพ์ เผยแพร่ หรือแจกจ่ายวัตถุซึ่งถูกตัดสินว่ามีความตั้งใจหมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือเป็นภัยต่อสถาบันฯ นั้นมีความรับผิดทางกฎหมาย


การตัดสินเช่นนี้ถือเป็นคำเตือนไปยังใครก็ตามที่เกี่ยวข้องกับการตีพิมพ์ เผยแพร่ หรือจำหน่ายสื่อสิ่งพิมพ์หรือสื่ออื่น ซึ่งคณะกรรมาธิการสิทธิมนุษยชนแห่งเอเชียมองว่าจะเป็นการสร้างบรรยากาศแห่ง ความกลัวซึ่งจะจำกัดการแสดงออกอย่างเสรีและการไหลเวียนของความคิด โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่ถูกมองว่ามีแนวคิดเชิงวิพากษ์หรือมีความเห็นต่าง แม้ว่าประเทศไทยจะไม่มีคณะกรรมการเซ็นเซอร์แบบเป็นทางการที่จะตรวจงานสิ่ง พิมพ์ก่อนตีพิมพ์ แต่จากคดีนี้ มาตรา 112 ได้กลายเป็นมาตรการเซ็นเซอร์อย่างไม่เป็นทางการ สิ่งที่เป็นอันตรายมาก คือการบังคับใช้และการตีความมาตรา 112 ซึ่งทั้งไม่คงเส้นคงวาและถูกใช้ในทางการเมืองอย่างมาก ผู้เขียนและผู้พิมพ์จะไม่ทราบเลยว่าพวกเขาได้ข้ามเส้นที่มองไม่เห็นที่ขีด ไว้ด้วยกฎหมาย จนกระทั่งตำรวจมาเคาะประตูเพื่อเอาตัวพวกเขาไป 

นอกจากนี้ คณะกรรมาธิการสิทธิมนุษยชนแห่งเอเชีย ยังเรียกร้องให้ปล่อยตัวสมยศ รวมถึงผู้ที่ถูกคุมขังจากการกระทำความผิดที่เกี่ยวข้องกับเสรีภาพในการแสดง ความเห็นภายใต้มาตรา 112 และกฎหมายที่เกี่ยวข้องด้วย  โดยระบุว่า คำตัดสินคดีสมยศเป็นอีกหนึ่งในคำตัดสินที่แสดงให้เห็นถึงอันตรายร้ายแรงที่ มาตรา 112 มีต่อเสรีภาพในการแสดงความเห็นและสิทธิมนุษยชนอย่างกว้างขวางในประเทศไทย   คณะกรรมาธิการสิทธิมนุษยชนแห่งเอเชียเรียกร้องให้รัฐบาลไทยยกเลิกมาตรา 112 และปล่อยบุคคลที่ยังเผชิญกับข้อกล่าวหาหรือถูกตัดสินว่ามีความผิดตามมาตรา 112 และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง และจนกว่าสิ่งเหล่านี้จะเกิดขึ้น  คณะกรรมาธิการสิทธิมนุษยชนแห่งเอเชียจะติดตามกรณีอื่นๆ ซึ่งถูกกล่าวหาว่าละเมิดมาตรา 112 อย่างใกล้ชิดต่อไป รวมถึงสนับสนุนให้ผู้ที่สนใจประเด็นสิทธิมนุษยชนและความยุติธรรมในประเทศไทย ทำเช่นด้วยกันด้วย

(ที่มา)
http://www.prachatai.com/journal/2013/01/44881 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น