โพลล์ไทยอีนิวส์: เสื้อแดงควรตั้งพรรคการเมืองเองหรือไม่
สำรวจจากท่านผู้อ่านไทยอีนิวส์ระหว่างวันที่ 27 ม.ค. - 2 ก.พ. 53 โดยมีจำนวนโหวตทั้งสิ้น 1,452 ครั้ง
การ
ต่อสู้ของมวลชน... ชัยชนะหรือความพ่ายแพ้...
การเสียเลือดเนื้อของประชาชน... การเลือกตั้ง...
การปรองดองของชนชั้นปกครองบนซากศพวีรชน... ฆาตกรลอยนวล...
อำนาจอำมาตย์ถูกปกป้อง... พรรคการเมืองทำลายความฝันของประชาชน: นั้นคืออ่างน้ำเน่าของการเมืองไทยในรอบห้าสิบกว่าปีที่ผ่านมา
ทุก
วันนี้การจัดตั้งของทหาร การจัดตั้งของพรรคเพื่อไทย บวกกับการคุมมวลชนของ
นปช.ให้คล้อยตามการปรองดองของเพื่อไทย
ทำลายการต่อสู้ของเสื้อแดงที่ต้องการมากกว่านั้น
สาเหตุหลักคือเราไม่มีพรรคฝ่ายซ้ายของเราเองที่จะชาวงชิงมวลชนจาก นปช.
และเพื่อไทย เพราะคนก้าวหน้าในสังคมไทย
ไม่ว่าจะเป็นเสื้อแดงหรือนักสหภาพแรงงาน
ไม่สนใจและไม่เข้าใจความสำคัญของการสร้างพรรค
ในยุคหลังป่าแตก สมัยรัฐบาลแปรม
อดีตนักต่อสู้พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย จะผิดหวังกับ พคท.
และหันหลังให้การสร้างพรรค ส่วนหนึ่งกลายเป็น เอ็นจีโอ
แล้วการเมืองก็ลื่นไหลไปสู่การจับมือกับพันธมิตรฟาสซิสต์เพราะไม่ให้ความ
สำคัญกับการวิเคราะห์การเมืองและการต่อสู้กับอำนาจรัฐ
แต่
หลายปีผ่านไปแล้ว ข้ออ้างเรื่อง พคท.
เพื่อปฏิเสธการสร้างพรรคและเน้นเครือข่ายหลวมๆ ตอนนี้ฟังไม่ขึ้น
มันกลายเป็นเรื่องของ “ความเคยชินในการทำงาน” หรือ
“การหวงความเป็นใหญ่หรือความอิสระของตนเองในกลุ่มเล็กๆ” มากกว่าอะไรอื่น
และในขณะที่นักเคลื่อนไหวพูดในนามธรรมว่า “ควรสร้างพรรค”
แต่ไม่เคยทำอะไรเพื่อให้เกิดขึ้น
ผลคือการหักหลังขบวนการเสื้อแดงโดยเพื่อไทย ทักษิณ และ นปช.
และในเมื่อขบวนการเสื้อแดงเคยเป็นขบวนการมวลชนที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในประวัติ
ศาสตร์ไทย เราต้องสรุปว่าเป็นการเสียโอกาสมหาศาล
และเป็นการละเลยภาระกิจโดยคนก้าวหน้า
ทำไมต้องสร้างพรรคในรูปแบบที่เลนินเคยสร้าง?
พรรค
สังคมนิยมในรูปแบบของ เลนิน คือพรรคที่อาศัยการจัดตั้งกรรมาชีพ
ซึ่งเป็นชนชั้นที่มีอำนาจซ่อนเร้นทางเศรษฐกิจ บวกกับคนหนุ่มสาว
และปัญญาชนก้าวหน้า
หลายคนเข้าใจผิดว่าแนวคิดแบบ เลนิน เป็นสิ่งเดียวกันกับแนวคิดแบบ
สตาลิน-เหมา ที่ พคท. เคยใช้ แต่ในความเป็นจริงแนวคิดแบบ เลนิน
จะเน้นสิทธิเสรีภาพ การเปิดกว้าง
และการพัฒนากรรมาชีพและคนอื่นให้นำตนเองจากล่างสู่บนในระดับสากลเป็นหลัก
ซึ่งถือว่าเป็นแนวคิดมาร์คซิสต์เดิม ในขณะที่แนว สตาลิน
เน้นเผด็จการจากบนลงล่างและการยอมจำนนต่อความสามัคคีระหว่างชนชั้นเพื่อ
พัฒนาความเป็นชาติ ตัวอย่างที่ดีที่สุดของแนวสตาลินในไทยในยุคปัจจุบัน
คือการนำของอ.ธิดาและแกนนำอื่นๆ ของนปช.
สำหรับนักมาร์คซิสต์อย่าง เลนิน
รูปแบบการสร้างพรรคมันมาจากลักษณะการต่อสู้ทางชนชั้นของกรรมาชีพในโลกจริง
ปัญหาหลักคือการต่อสู้ของกรรมาชีพจะมีลักษณะต่างระดับและหลากหลายเสมอ
เช่นจะมีบางกลุ่มที่ออกมาสู้อย่างดุเดือดเพื่อล้มระบบ
ในขณะที่กลุ่มอื่นออกมาสู้แค่เพื่อเรื่องปากท้องเท่านั้น
หรือบางกลุ่มอาจไม่สู้เลย และในมิติเวลาที่ต่างกัน
กลุ่มที่กล้าสู้หรือก้าวหน้าที่สุดในยุคหนึ่งอาจจะเป็นกลุ่มที่ล้าหลังในยุค
ต่อไป ดังนั้นปัญหาของชาวมาร์คซิสต์คือ
จะทำอย่างไรเพื่อให้มีการรักษาประสบการณ์ความรู้ในการต่อสู้ของกรรมาชีพส่วน
ที่ก้าวหน้าที่สุดเพื่อถ่ายทอดสู่คนรุ่นต่อไป
เองเกิลส์ เคยยกตัวอย่างทหารในสนามรบว่า
ภายใต้การกดดันของการต่อสู้ทหารบางหน่วยจะค้นพบวิธีการต่อสู้ที่ก้าวหน้าที่
สุด
และบทบาทสำคัญของผู้บังคับบัญชาที่ดีคือการนำบทเรียนที่ก้าวหน้าอันนั้นไป
เผยแพร่กับกองทหารทั้งกองทัพ นี่คือที่มาของแนวคิด "กองหน้า"
ในการสร้างพรรคของ เลนิน
เพราะหลักการสำคัญคือพรรคต้องเป็นตัวแทนของส่วนที่ก้าวหน้าที่สุดของ
กรรมาชีพ ไม่ใช่ตัวแทนของกรรมาชีพทั้งชนชั้นที่มีจิตสำนึกต่างระดับกัน
และพรรคต้องแยกตัวออกจากความคิดล้าหลังของสังคม
เพื่ออัดฉีดความคิดก้าวหน้าที่สุดกลับเข้าไปในขบวนการกรรมาชีพ
ถ้าไม่ทำเช่นนั้นก็จะไม่เกิดการพัฒนาการต่อสู้และจิตสำนึกเลย
สรุปแล้วพรรคสังคมนิยมกรรมาชีพมีหน้าที่สร้างผู้ปฏิบัติการจากคนที่เข้าใจ
ประเด็นการเมืองทางชนชั้น
เพื่อให้ผู้ปฏิบัติการขยายความคิดนี้ไปสู่คนส่วนใหญ่ที่มีความคิดกลางๆ
ระหว่างความก้าวหน้ากับความล้าหลัง หรือระหว่างความเป็นซ้ายกับความเป็นขวา
พรรคไม่ได้ตั้งเป้าหมายหลักในการทำงานกับคนที่ล้าหลังที่สุด
ถูกกดขี่มากที่สุด
หรือเข้าใจการเมืองน้อยที่สุดเพราะคนกลุ่มนี้ยังไม่พร้อมจะเปลี่ยนความคิด
ง่ายๆ
นั้นคือสาเหตุที่พรรคฝ่ายซ้ายควรทำงานกับคนเสื้อแดงก่อนที่ขบวนการนี้จะสูญ
หายไปภายใต้นโยบายของ นปช. และเพื่อไทย
แต่ถึงกระนั้น ถ้าจะมีการเปลี่ยนสังคมอย่างถอนรากถอนโคน
ซึ่งจะนำไปสู่เสรีภาพแท้ได้
การเปลี่ยนสังคมดังกล่าวต้องเป็นการกระทำของมวลชนส่วนใหญ่เอง จากล่างสู่บน
ไม่ใช่การกระทำของกลุ่มเล็กๆ หรือ "กองหน้า"
ไม่เหมือนพรรคนายทุน
พรรคสังคมนิยมของกรรมาชีพไม่เหมือนพรรคแบบนายทุนที่เห็นอยู่ทุกวันนี้ในสามแง่คือ
ในแง่ที่หนึ่งพรรคกรรมาชีพต้องยึดถือผลประโยชน์ชนชั้นกรรมาชีพและคนจนเป็น
หลัก ไม่ว่าจะเป็นกรรมาชีพภาคบริการ ภาคอุตสาหกรรม หรือพนักงานปกคอขาว
และไม่ว่าจะเป็นคนจนที่เป็นชาวนา ลูกจ้างภาคเกษตร ชนกลุ่มน้อย
หรือคนจนในเมือง พรรคต้องเป็นปากเสียงของผู้ถูกกดขี่ทุกคนโดยไม่คำนึงถึงเพศ
เชื้อชาติ ศาสนา และวิถีชีวิต
พรรคต้องไม่เสนอให้มีการสร้างแนวร่วมระหว่างกรรมาชีพและคนจนกับศัตรูของเรา
เช่นนายทุนในพรรคเพื่อไทย หรือคนอย่างทักษิณ และทหารอำมาตย์เป็นอันขาด
เราปฏิเสธการทำงานอย่างที่ พคท.
เคยทำที่มัวแต่สามัคคีชนชั้นตลอดเวลาจนกรรมาชีพและคนจนต้องกลายเป็นเหยื่อ
ของชนชั้นปกครอง และที่สำคัญเราต้องไม่หลงคล้อยตามกระแส “เพื่อชาติ” ซึ่งในรูปธรรมแปลว่า “เพื่อนายทุนและการรักษาระบบเดิม” ดัง
นั้นพรรคของกรรมาชีพต้องเรียกร้องอัตราค่าจ้างขั้นต่ำที่สูงกว่าปัจจุบัน
หรือการเก็บภาษีจากคนรวยเพื่อสร้างรัฐสวัสดิการเป็นต้น
ในขณะเดียวกันพรรคจะต้องปลุกระดมให้คนลุกขึ้นมายกเลิกระบบทุนนิยมในระยะยาว
ในแง่ที่สองพรรคจะต้องมีประชาธิปไตยภายใน ไม่ใช่เป็นพรรคของ “ผู้ใหญ่” คน
ใดคนหนึ่ง
ดังนั้นต้องมีโครงสร้างและระเบียบที่ชัดเจนเพื่อให้สมาชิกธรรมดาเป็นผู้ควบ
คุมนโยบาย ผู้นำ และผู้แทนของพรรคตลอดเวลา
ตรงนี้นอกจากจะต่างกับพรรคนายทุนแล้วจะต่างกับพรรคเผด็จการ สตาลิน-เหมา แบบ
พคท. อีกด้วย เพราะเราต้องปฏิเสธการสั่งจากบนลงล่าง
และเราควรเข้าใจอีกด้วยว่าขั้นตอนของการตั้งพรรคไม่เกี่ยวอะไรเลยกับ “การไปเชิญผู้มีชื่อเสียงคนโน้นคนนี้มาเป็นหัวหน้า”
ในแง่สุดท้ายพรรคสังคมนิยมของกรรมาชีพต้องอาศัยเงินทุนที่เก็บจากสมาชิกใน
อัตราก้าวหน้าเป็นหลัก
คือสมาชิกที่มีเงินเดือนสูงจ่ายมากและคนที่มีรายได้น้อยจ่ายน้อย
แต่ทุกคนต้องจ่ายค่าสมาชิกเพื่อให้พรรคเป็นพรรคแท้ของกรรมาชีพและคนจน
ไม่ใช่ไปพึ่งเงินทุนจากที่อื่นและตกเป็นเครื่องมือของคนอื่น
และถึงแม้ว่าพรรคจะมีทุนน้อย
แต่สิ่งที่ทำให้ได้เปรียบพรรคนายทุนทุกพรรคคือการเป็นพรรคของมวลชนจริง
การดึงคนมาสนับสนุนพรรคจึงทำภายใต้นโยบายที่ชัดเจน
และผู้สนับสนุนพรรคจะไม่เข้ามาร่วมภายใต้นโยบายของพรรคเท่านั้น
แต่จะได้รับการส่งเสริมให้นำตนเอง
และมีส่วนร่วมในการเสนอนโยบายด้วยสิทธิเท่าเทียมกัน
เน้นการต่อสู้นอกรัฐสภาเพื่อเปลี่ยนสังคมอย่างถอนรากถอนโคน
พรรคสังคมนิยมกรรมาชีพไม่ใช่พรรคประเภทบนลงล่าง “คุณเลือกเราเป็น ส.ส. แล้วเราจะทำให้คุณทุกอย่าง” พรรค
ต้องไม่ตั้งเป้าหลักที่การเลือกตั้งสมาชิกรัฐสภา
เพราะรัฐสภาไม่ใช่ศูนย์กลางอำนาจแท้ในระบบประชาธิปไตยครึ่งใบของนายทุน
ทั้งนี้เนื่องจากอำนาจแท้ของ "เผด็จการเงียบของนายทุน"
ในระบบประชาธิปไตยทุนนิยมอยู่ที่การควบคุมการผลิตมูลค่าทั้งปวงในสังคม
ดังนั้นนักมาร์คซิสต์มองว่า รัฐ รัฐธรรมนูญ รัฐสภา และกฏหมายต่างๆ
เป็นองค์ประกอบของเครื่องมือปกครองทางชนชั้นของนายทุน
ซึ่งหมายความว่าเราจะไม่หวังว่ารัฐสภาเป็นเป้าหมายหลักในการต่อสู้
ในระยะยาวเราต้องปฏิวัติเพื่อล้มโครงสร้างของนายทุนและสร้างโครงสร้างการ
ปกครองของกรรมาชีพแทน เช่นระบบสภาคนงานและเกษตรกรคนจนเป็นต้น
การจดทะเบียนพรรคไม่สำคัญ อย่างไรก็ตามการเลือกตั้ง ส.ส.
ในระบบปัจจุบันอาจเป็นโอกาสดีสำหรับการโฆษนาแนวคิดในอนาคต
ดังนั้นเราไม่ควรปฏิเสธการร่วมในการเลือกตั้งตลอดไป
เมื่อพรรคไม่เน้นการเลือกตั้งในรัฐสภานายทุนเป็นหลัก พรรคต้องทำอะไรแทน? พรรค
จะต้องเป็นแหล่งรวมของประสบการณ์และทฤษฎีการต่อสู้
แหล่งรวมของนักเคลื่อนไหวไฟแรง
และเป็นเครื่องมือในการประสานงานและปลุกระดมการต่อสู้ในหมู่กรรมาชีพและคนจน
เลนิน เคยเสนอว่าพรรคต้องเป็นปากเสียงของผู้ที่ถูกกดขี่ทั้งปวงในสังคม
พรรคที่เน้นการทำงานในกรอบรัฐสภาเป็นหลัก หรือพรรคที่เรียกกันว่า
"พรรคปฏิรูป" ต่างๆ เช่นพรรคสังคมนิยมประชาธิปไตยในยุโรปหรือญี่ปุ่น
พรรคแรงงานในอังกฤษ หรือพรรคที่ถูกสร้างจากขบวนการสหภาพแรงงานโดยทั่วไป
ถึงแม้ว่าอาจเริ่มต้นมองว่าควรทำงานทั้งภายในและภายนอกรัฐสภา
แต่ในไม่ช้าแรงดึงดูดจากวิธีการแบบรัฐสภาจะพาพรรคไปทำงานในสภาเท่านั้น
เพราะแทนที่จะค่อยๆ
ขยายฐานการสนับสนุนแท้โดยไม่หวังชนะการเลือกตั้งในระยะสั้น
ทุกอย่างที่พรรคทำจะมีเป้าหมายหลักในการชนะการเลือกตั้งรอบตอบไป
ซึ่งมีผลทำให้ผู้นำเน้นกลไกการหาเสียงและการประนีประนอมทางอุดมารณ์กับ
นักการเมืองพรรคอื่นเสมอ
ต้องอาศัยพลังมวลชน ไม่ใช่บารมีผู้นำ
นัก
ปฏิวัติสังคมนิยมชาวรัสเซียสองเคยคนเสนอบทบาทสำคัญของพรรคไว้ดังนี้ ลีออน
ตรอทสกี
เสนอว่าในการเปลี่ยนแปลงสังคมไปสู่สังคมนิยมต้องอาศัยพลังของมวลชนกรรมาชีพ
โดยที่สมาชิกพรรคทำการเปลี่ยนแปลงแทนมวลชนกรรมาชีพไม่ได้
แต่พลังกรรมาชีพที่ไร้เป้าหมายทางการเมืองที่ชัดเจนจะเสมือนพลังไอน้ำที่ไม่
มีลูกสูบ มันจะสำแดงพลังแล้วสูญสลายไปกับตา
ดังนั้นต้องมีทั้งพรรคและพลังมวลชน
เลนิน
อธิบายว่าสมาชิกพรรคไม่ควรตั้งตัวขึ้นมาเป็นศาสดาองค์ใหญ่ที่สอนกรรมาชีพ
เพราะพรรคต้องเรียนรู้จากการต่อสู้ของกรรมาชีพพื้นฐานตลอด
ทั้งในยุคนี้และยุคอดีต
ดังนั้นพรรคต้องเป็นคลังรวบรวมประสบการณ์การต่อสู้ของชนชั้นกรรมาชีพทั่วโลก
เพื่อนำเสนอประสบการณ์ดังกล่าวกลับเข้าไปสู่ชนชั้นกรรมาชีพในขณะที่กำลัง
ต่อสู้อยู่
อันโตนีโอ กรัมชี่ นักปฏิวัติสังคมนิยมชาวอิตาลี่เคยเตือนว่าพรรคไม่สามารถ “ป้อนความรู้” ใส่
สมองกรรมาชีพเหมือนพี่เลี้ยงป้อนอาหารให้เด็ก
แต่พรรคต้องเสนอประสบการณ์จากอดีตทั่วโลกกับคนที่กำลังเปิดกว้างเพื่อแสวงหา
ทางออกเนื่องจากเขาอยู่ในสถานการณ์การต่อสู้
ดังนั้นสมาชิกพรรคต้องร่วมในการต่อสู้พื้นฐานของกรรมาชีพเพื่อเสนอความคิด
และแนวทางในการต่อสู้ที่ท้าทายความคิดกระแสหลักของทุนนิยมเสมอ
ไม่ใช่นั่งอยู่แต่ในห้องประชุม
อีกประเด็นที่สำคัญยิ่ง
คือการไว้ใจและอาศัยพลังและความสร้างสรรค์ของคนหนุ่มสาว โดยเฉพาะนักศึกษา
พรรคควรจะเปิดกว้างให้คนหนุ่มสาวมีบทบาทสำคัญในการนำพรรค
ไม่ใช่สร้างองค์กรที่มีระบบอาวุโส
หนังสือพิมพ์คือนั่งร้านในการสร้างพรรค
วิธี
หนึ่งที่สำคัญในการสื่อแนวคิดเพื่อสร้างพรรคคือการใช้หนังสือพิมพ์และสื่อ
อื่นๆ เช่นเวปไซท์ หรือ เฟสบุ๊ก เลนิน มองว่าหนังสือพิมพ์เป็น “นั่งร้าน” ใน
การสร้างพรรค คำพูดนี้หมายความว่าในประการแรกหนังสือพิมพ์หรือสื่ออื่นๆ
ของพรรคผลิตออกมาเพื่อเป็นแหล่งข้อมูลและแหล่งทฤษฏีให้กับสมาชิกพรรคเอง
อาจมองได้ว่าเป็นอาวุธทางปัญญาในการขยายงานของพรรค
นอกจากนี้หนังสือพิมพ์และสื่ออื่นๆ
ของพรรคเป็นคำประกาศจุดยืนต่อสาธารณะอย่างชัดเจน
การที่สมาชิกต้องขายหนังสือพิมพ์และโฆษณาสื่ออีเลกทรอนิคให้คนภายนอกพรรค
เป็นวิธีการในการสร้างความสามัคคีทางความคิดภายในพรรค
เพราะสมาชิกต้องถกเถียงเพื่อปกป้องแนวคิดของพรรคเสมอ
ดังนั้นสมาชิกต้องอ่านสื่อของพรรคและขายหนังสือพิมพ์
นอกจากนี้การขายหนังสือพิมพ์หรือหนังสืออื่นๆ แทนการแจกฟรี
เป็นวิธีการในการพึ่งตนเองทางเงินทุนและเป็นวิธีการทดสอบว่าคนภายนอกสนใจแนว
คิดของพรรคมากน้อยแค่ไหน
ความสำคัญของการประชุมเป็นระบบ
หลาย
คนสงสัยว่าทำไมสมาชิกพรรคต้องประชุมทุกสัปดาห์อย่างเป็นระบบ
บางคนมองว่าเป็นการเสียเวลาและเป็นการมัวแต่นั่งคุยกันโดยไม่ออกไปต่อสู้ใน
โลกจริง แต่คำตอบคือ
(1)
การประชุมเป็นประจำ และเป็นระบบ เป็นวิธีสำคัญในการรักษารูปแบบขององค์กร
การประชุมเป็นโอกาสที่จะแลกเปลี่ยน ฝึกฝนการพูด วิเคราะห์สถานการณ์ทั่วโลก
และพัฒนาความคิดและความสามารถทางด้านทฤษฎีของสมาชิก
ในขณะที่การอ่านหนังสือคนเดียวไม่มีวันให้ประโยชน์เพียงพอ
(2)
การประชุมเป็นประจำเป็นวิธีเดียวที่จะประสานการต่อสู้ประจำวันของสมาชิก
เพื่อนำประสบการณ์เข้ามาในพรรคและเพื่อพัฒนาการต่อสู้ให้มีประสิทธิภาพมาก
ขึ้น
(3) การประชุมเป็นประจำเป็นวิธีเดียวที่สมาชิกสามารถควบคุมนโยบายและผู้นำของพรรคได้
สื่อ
อีเลกทรอนิคสมัยใหม่อย่าง เฟสบุ๊ก อีเมล์ หรือทวิตเตอร์
อาจช่วยในการจัดตั้ง โทรศัพท์มือถือก็เช่นกัน
แต่ถ้าเราไม่มีการประชุมและการปฏิบัติอย่างเป็นประจำของสมาชิกพรรค
เราจะสร้างพรรคไม่ได้
(ที่มา)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น