ผู้หญิงไทยควรแลไปข้างหน้าอย่างไร
ในขณะที่หญิงส่วนใหญ่ในโรงงานเข้าใจดีว่าตนเอง
ถูกกดขี่ทางเพศ แต่เขาไม่ได้มองว่าเพศเท่านั้นคือปัญหา
สิ่งที่กังวลตลอดเวลาคือ ความมั่นคงในการทำงาน ค่าแรงที่ได้น้อยกว่าชาย
หรือจะหาเงินส่งกลับไปที่บ้านนอกอย่างไร
นี่คือสาเหตุสำคัญที่ผู้หญิงเข้ามามีส่วนร่วมในการในการเคลื่อนไหวเพื่อ
ต่อสู้กับระบบทุนนิยม
โดย นุ่มนวล ยัพราช
บทความนี้ตั้งใจเขียนขึ้นมาเพื่อที่จะเชิดชูบทบาทของการต่อสู้ทางชนชั้นของ
พี่น้องกรรมาชีพและคนชั้นล่างในสังคม
และต้องการเห็นความเท่าเทียมทางเพศอย่างสุดหัวใจ
ในเมื่อมีความหวังที่อยากจะวาดเป็นเช่นนี้ คำถามต่อมาก็คือ
ก้าวต่อไปเราควรจะทำอะไรดี
โดยเฉพาะการรื้อฟื้นแนวทางการต่อสู้ของผู้หญิงเพื่อปลดปล่อยตนเอง
ในนาทีนี้คำถามที่สำคัญที่สุดคือ
เราสามารถปลดแอกตัวเองในระบบทุนนิยมได้หรือไม่ โครงสร้างทางสังคมโดยรวม
หรือ ระบบพ่อเป็นใหญ่ อันไหนคือศัตรูอันดับหนึ่ง ????
อรุนดาที รอย นักเขียนและนักต่อสู้หญิงคนหนึ่งของอินเดียได้พูดตอนเปิดงาน W.S.F. (เวทีสมัชชาสังคมโลก) ครั้งที่ 4 ว่า
"พวกชนชั้นปกครองหรือพวกกลุ่มทุนก็ได้พยายามสร้างโลกใบใหม่มาเพื่อควบคุม คนในสังคม โลกใบใหม่ของกลุ่มทุนสร้างได้โดย อาวุธนิวเคลียร์ สงคราม การขูดรีด การเปิดเสรีทางการค้า การแปรรูป พวกนี้มันได้สร้างระเบียบวินัยขึ้นมาเพื่อบังคับคนส่วนใหญ่อย่างเป็นระบบ ประเด็นสำคัญที่ทำไมเราถึงต้องมาถกเถียงเรื่องจักรวรรดินิยมเพราะว่า การรุกรานของจักรวรรดินิยมเหมือนประเด็นของการถูกข่มขืน มันเป็นความรุนแรงต่อคนในสังคมไม่ว่าจะเป็นเพศใดก็ยากจะที่ยอมรับได้ ปัจจุบันทุกประเทศได้รับผลกระทบจากเสรีนิยม ความไร้เสรีภาพ ความหิวโหย ความรุนแรง ดังนั้น เพื่อสร้างโลกใบใหม่แค่ของพวกเราแค่พูดคุยกันมันไม่พอ มันต้องมีการต่อสู้ที่เป็นเอกภาพที่เท่าเทียมกับเอกภาพที่กลุ่มทุนสร้างขึ้น มา กลุ่มทุนทำให้วิถีชีวิตของคนเหมือนอยู่ในคุก พวกเราดำรงชีวิตเหมือนอยู่ในค่ายกักกัน แต่สำหรับกลุ่มทุนแล้วตลาดทุกพื้นที่ของโลกเปิดกว้างตลอดเวลา ดังนั้นพวกเราทุกคนน่าจะตั้งต้นเฉลิมฉลองชัยชนะของยุคใหม่…..ได้แล้ว เมื่อขบวนการการเมืองภาคประชาชนสามารถล้มการประชุมของ WTO ได้ที่ แคนคูน ก้าวต่อไปของพวกคือเริ่มสะสมชัยชนะ ทุกกลุ่มทุกหมู่เหล่าต้องมาร่วมกันต่อสู้ภายใต้ร่มต้านโลกาภิวัตน์ของกลุ่ม ทุน”
เพื่อที่จะก้าวต่อไปข้างหน้า การพิจารณารูปแบบการต่อสู้ที่เป็นอยู่ในสังคมเป็นเรื่องที่มีความสำคัญ ทั้งในแง่ของการพยายามหาจุดอ่อนจุดแข็งจากบทเรียนที่เรามี และในลักษณะข้อถกเถียงที่เกิดขึ้นในขบวนการ เพราะข้อถกเถียงต่าง ๆ จะสะท้อนระดับการต่อสู้นั้น ๆ การถกเถียงปัญหาที่เป็นประเด็นข้องเกี่ยวกับผู้หญิงในสังคมไทย สามารถแบ่งออกเป็นสองรูปแบบคร่าว ๆ รูปแบบแรกประเด็นข้อถกเถียงสำหรับผู้หญิงจะมีความเกี่ยวพันอยู่กับเรื่อง เศรษฐกิจ เช่น เรื่องค่าแรงไม่พอใช้ ปัญหาที่เกิดจากการถูกเอารัดเอาเปรียบของนายจ้าง กระบวนการกฎหมายที่ไม่เป็นธรรม ซึ่งกระบวนการต่าง ๆ เหล่านี้ไม่ได้มีลักษณะของการแบ่งแยกทางเพศ แต่จะมีลักษณะร่วมทางชนชั้น กลุ่ม N.G.O. ที่รักความเป็นธรรมค่อนข้างจะมีบทบาทตรงนี้ แต่รูปแบบการทำงานมักเน้นการช่วยเหลือเฉพาะด้าน ซึ่งออกมาในรูปของแนวสังคมสงเคราะห์ บางครั้งอาจใช้กรอบของแนวของเสรีนิยมที่ไม่ต้องการให้รัฐเข้ามาเกี่ยวข้อง คือชุมชนทำแทน หรืออาจเน้นการช่วยเหลือเฉพาะหน้า นี่คือลักษณะรวม ๆ ของภาพขบวนการการเมืองภาคประชาชน
อรุนดาที รอย นักเขียนและนักต่อสู้หญิงคนหนึ่งของอินเดียได้พูดตอนเปิดงาน W.S.F. (เวทีสมัชชาสังคมโลก) ครั้งที่ 4 ว่า
"พวกชนชั้นปกครองหรือพวกกลุ่มทุนก็ได้พยายามสร้างโลกใบใหม่มาเพื่อควบคุม คนในสังคม โลกใบใหม่ของกลุ่มทุนสร้างได้โดย อาวุธนิวเคลียร์ สงคราม การขูดรีด การเปิดเสรีทางการค้า การแปรรูป พวกนี้มันได้สร้างระเบียบวินัยขึ้นมาเพื่อบังคับคนส่วนใหญ่อย่างเป็นระบบ ประเด็นสำคัญที่ทำไมเราถึงต้องมาถกเถียงเรื่องจักรวรรดินิยมเพราะว่า การรุกรานของจักรวรรดินิยมเหมือนประเด็นของการถูกข่มขืน มันเป็นความรุนแรงต่อคนในสังคมไม่ว่าจะเป็นเพศใดก็ยากจะที่ยอมรับได้ ปัจจุบันทุกประเทศได้รับผลกระทบจากเสรีนิยม ความไร้เสรีภาพ ความหิวโหย ความรุนแรง ดังนั้น เพื่อสร้างโลกใบใหม่แค่ของพวกเราแค่พูดคุยกันมันไม่พอ มันต้องมีการต่อสู้ที่เป็นเอกภาพที่เท่าเทียมกับเอกภาพที่กลุ่มทุนสร้างขึ้น มา กลุ่มทุนทำให้วิถีชีวิตของคนเหมือนอยู่ในคุก พวกเราดำรงชีวิตเหมือนอยู่ในค่ายกักกัน แต่สำหรับกลุ่มทุนแล้วตลาดทุกพื้นที่ของโลกเปิดกว้างตลอดเวลา ดังนั้นพวกเราทุกคนน่าจะตั้งต้นเฉลิมฉลองชัยชนะของยุคใหม่…..ได้แล้ว เมื่อขบวนการการเมืองภาคประชาชนสามารถล้มการประชุมของ WTO ได้ที่ แคนคูน ก้าวต่อไปของพวกคือเริ่มสะสมชัยชนะ ทุกกลุ่มทุกหมู่เหล่าต้องมาร่วมกันต่อสู้ภายใต้ร่มต้านโลกาภิวัตน์ของกลุ่ม ทุน”
เพื่อที่จะก้าวต่อไปข้างหน้า การพิจารณารูปแบบการต่อสู้ที่เป็นอยู่ในสังคมเป็นเรื่องที่มีความสำคัญ ทั้งในแง่ของการพยายามหาจุดอ่อนจุดแข็งจากบทเรียนที่เรามี และในลักษณะข้อถกเถียงที่เกิดขึ้นในขบวนการ เพราะข้อถกเถียงต่าง ๆ จะสะท้อนระดับการต่อสู้นั้น ๆ การถกเถียงปัญหาที่เป็นประเด็นข้องเกี่ยวกับผู้หญิงในสังคมไทย สามารถแบ่งออกเป็นสองรูปแบบคร่าว ๆ รูปแบบแรกประเด็นข้อถกเถียงสำหรับผู้หญิงจะมีความเกี่ยวพันอยู่กับเรื่อง เศรษฐกิจ เช่น เรื่องค่าแรงไม่พอใช้ ปัญหาที่เกิดจากการถูกเอารัดเอาเปรียบของนายจ้าง กระบวนการกฎหมายที่ไม่เป็นธรรม ซึ่งกระบวนการต่าง ๆ เหล่านี้ไม่ได้มีลักษณะของการแบ่งแยกทางเพศ แต่จะมีลักษณะร่วมทางชนชั้น กลุ่ม N.G.O. ที่รักความเป็นธรรมค่อนข้างจะมีบทบาทตรงนี้ แต่รูปแบบการทำงานมักเน้นการช่วยเหลือเฉพาะด้าน ซึ่งออกมาในรูปของแนวสังคมสงเคราะห์ บางครั้งอาจใช้กรอบของแนวของเสรีนิยมที่ไม่ต้องการให้รัฐเข้ามาเกี่ยวข้อง คือชุมชนทำแทน หรืออาจเน้นการช่วยเหลือเฉพาะหน้า นี่คือลักษณะรวม ๆ ของภาพขบวนการการเมืองภาคประชาชน
(อ่านต่อ)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น