รายงาน: กลัวอะไรนักหนากับ FTA สหภาพยุโรป? ดูโพยคำตอบจากอินเดีย
เอฟทีเอไทย-สหภาพยุโรป (อียู) กำลังจะเริ่มต้นขึ้นในอีกไม่กี่วันนี้
ตามแผนการเดินทางเยือนสหภาพยุโรปของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ระหว่างวันที่ 4-6 มีนาคม จะมีการประกาศเปิดการเจรจาโดยมีกรอบครอบคลุมในด้านการค้า การลงทุน และลดอุปสรรคการค้า
“ยืนยันว่าไทยจะได้ประโยชน์มากกว่าเสียประโยชน์ และเอฟทีเอจะทดแทนกรณีอียูตัดการให้สิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากร(จีเอสพี)ในปี 2557” บุญทรง เตริยาภิรมย์ รัฐมนตรีพาณิชย์กล่าว
สิทธิพิเศษทางภาษีดูจะเป็นประเด็นที่รัฐบาลและภาคเอกชนให้ความสำคัญยิ่ง โดยเฉพาะเมื่อมันกำลังจะหมดลงภายในปี 2557 นี้ และหากไม่มีการเจรจาเอฟทีเอ อียูก็อาจไม่ต่อสิทธิพิเศษนี้ให้
ขณะเดียวกัน ภาคประชาสังคมก็ส่งเสียงค้านกันจ้าละหวั่น เพราะเห็นว่าในเนื้อหาส่วนที่ไม่ใช่เรื่องการค้าโดยตรง อย่างบทว่าด้วยเรื่องทรัพย์สินทางปัญญานั้นมีปัญหาที่จะทำให้ราคายาพุ่งสูง และการคุ้มครองสิทธิของนักลงทุนจะมีความสำคัญมากกว่าสวัสดิการของประชาชน
สิ่งที่เป็นคีย์เวิร์ดในเรื่องนี้ที่เราได้ยินบ่อยก็คือ “ทริปส์พลัส” หรือข้อตกลงด้านทรัพย์สินทางปัญญาที่มากไปกว่าที่องค์การการค้าโลกกำหนด และแน่นอน มันถูกบรรจุอยู่ในเอฟทีเอฉบับต่างๆ ทั้งของอเมริกาและยุโรป
แม้ว่ารัฐมนตรีพาณิชย์ จะออกมายืนยันว่า “การเจรจาจะไม่เกินหลักเกณฑ์องค์การการค้าโลก” แต่คำพูดสวยหรูนี้ก็ไม่อาจเป็นหลักประกันที่น่าเชื่อถือได้
โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อ 1. กระบวนการเจรจาขาดความโปร่งใส และการมีส่วนร่วมตลอดกระบวนการ 2. ความเคี่ยวของประเทศมหาอำนาจเอง
ในกรณีหลังนี้เราจะลองเทียบจากประสบการณ์ของอินเดียที่เริ่มต้นเจรจากับ อียูมาก่อนหน้านี้หลายปี และยังยื้อกันอยู่อย่างแข็งแกร่ง เพราะอะไร? มีอะไรน่ากังวล?
(อ่านต่อ)
http://www.prachatai.com/journal/2013/02/4554
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น