หน้าเว็บ

วันศุกร์ที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2556

วันสำคัญเดือนพฤษภา วันสว่างคาตา ( ตอนที่ 1 )

วันสำคัญเดือนพฤษภา วันสว่างคาตา ( ตอนที่ 1 )




โดย ยังดี โดมพระจันทร์

ดือนพฤษภานี้มีวันสำคัญไล่เรียงกันไปอยู่หลายวัน วันเหล่านี้มีสิ่งที่ร่วมกันคือเป็นวันประวัติศาสตร์หรือวันในอดีตที่ถูกบิด เบือนไปจากวันที่ควรจะเป็น เช่น 1 พฤษภา วันกรรมกรสากล 5 พฤษภา วันจิตร ภูมิศักดิ์ 11 พฤษภา วันปรีดี พนมยงค์ 17 พฤษภา วันพฤษภาทมิฬ และ วันที่ 19 พฤษภา วันตาสว่าง แต่ละวันมีบันทึกเรื่องราวที่น่าสนใจให้เราท่านมาช่วยกันติดตาม

1 พฤษภา วันกรรมกรสากล วันนี้ถูกเปลี่ยนเป็นวันแรงงานแห่งชาติ

วันกรรมกรสากล หรือ วันเมย์เดย์ (May Day) มีจุดกำเนิดมาจากการต่อสู้ของชนชั้นกรรมาชีพในยุโรปและอเมริกา ในยุคของการปฏิวัติจากสังคมเกษตรไปสู่สังคมอุตสาหกรรมส่งผลให้ผู้คนอพยพไป เป็นแรงงานภาคอุตสาหกรรม และถูกกดขี่ขูดรีดจากนายทุน ถูกบังคับใช้งานเยี่ยงทาส ทำงานหนัก 14-16 ชั่วโมงต่อวันโดยไม่มีวันหยุด ไม่มีทั้งสวัสดิการและมาตรฐานคุ้มครองความปลอดภัยในการทำงาน สภาพดังกล่าว เป็นสาเหตุให้กรรมกรผู้ใช้แรงงานเคลื่อนไหวเพื่อต่อสู้ และลุกลามไปหลายประเทศทั้งในยุโรป อเมริกา ละตินอเมริกา ญี่ปุ่น และออสเตรเลีย จากเหตุการณ์เดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2429 คนงานแห่งเมืองชิคาโก ประเทศอเมริกา ได้นัดหยุดงานครั้งใหญ่และจัดการชุมนุมเดินขบวนเพื่อเรียกร้องระบบสามแปด คือ ทำงาน 8 ชั่วโมง พักผ่อน 8 ชั่วโมง และศึกษาหาความรู้ 8 ชั่วโมง รัฐนายทุนได้ใช้กำลังเข้าปราบปรามอย่างรุนแรง ต่อมาสหพันธ์คนงานแห่งอเมริกาซึ่งได้รับอิทธิพลแนวคิดสังคมนิยมก็ได้ฟื้นการ ต่อสู้เรียกร้องระบบสามแปดอีกครั้งหนึ่งโดยมีมติให้เดินขบวนทั่วประเทศเมื่อ วันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ.2433 เรียกร้องให้ลดชั่วโมงทำงานตามที่สหพันธ์คนงานแห่งอเมริกาได้กำหนดไว้ และได้กำหนดให้วันที่ 1 พฤษภาคมของทุกปีเป็นวันกรรมกรสากล เป็นสัญลักษณ์แห่งการสามัคคีต่อสู้เพื่อปลดปล่อยชนชั้นกรรมกร ซึ่งกรรมกรทั่วโลกจะจัดให้มีการชุมนุมเดินขบวน เพื่อสร้างวัฒนธรรมการต่อสู้เพื่อปลดปล่อยจากการกดขี่ขูดรีดของทุนนิยม  

สำหรับประเทศไทยเคยมีการจัดงานวันกรรมกรสากลอย่างเปิดเผยครั้งแรก ในวันที่ 1 พฤษภาคม 2489 ที่สนามหน้าสำนักงานสมาคมไตรจักร์ (สามล้อ) พระราชวังอุทยานสราญรมย์ มีผู้เข้าร่วมประมาณสามพันคน และปีต่อมามีการชุมนุมวันกรรมกรสากลที่ท้องสนามหลวง ภายใต้คำขวัญ “ กรรมกรทั้งหลาย จงสามัคคีกัน” แต่หลังการรัฐประหารยึดอำนาจเมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน 2490 รัฐบาลเผด็จการสฤษดิ์ ธนะรัตน์ ได้ห้ามจัดงานวันกรรมกรสากลอย่างเด็ดขาด จนกระทั่งในปี 2499 กรรมกร 16 หน่วย รวมตัวกันเป็นขบวนการเพื่อรณรงค์ให้รัฐบาลเร่งออกกฎหมายรับรองสิทธิด้าน ต่างๆ และเคลื่อนไหวให้มีการจัดงานวันกรรมกรสากลขึ้นอีก ผลการเจรจาต่อรองกับรัฐบาล ทำให้กรรมกรจำต้องยอมรับเงื่อนไขให้เปลี่ยนชื่อ วันกรรมกรสากล เป็น วันแรงงานแห่งชาติ การควบคุมแทรกแซงโดยรัฐบาลเผด็จการทำให้วันกรรมกรสากลถูกแทรกแซงตลอดมา ( ข้อมูลจากกลุ่มประชาธิปไตยเพื่อรัฐสวัสดิการ http://www.thaingo.org/writer/view.php?id=750 )  

ขบวนการขวาพิฆาตซ้าย และสังหารหมู่กดการต่อสู้ของกรรมกร

ในการรัฐประหาร 6 ตุลา 2519 ชนชั้นปกครองรวมหัวกันสร้างขบวนการขวาพิฆาตซ้าย และสังหารหมู่นักศึกษาประชาชนที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ คณะนายทหาร 3 เหล่าทัพและอธิบดีกรมตำรวจ นำโดย พลเรือเอกสงัด ชลออยู่ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด เข้ายึดอำนาจจากรัฐบาลพลเรือนของ หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช โดยใช้ชื่อว่า คณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน ออกประกาศคณะปฏิรูปออกมาหลายฉบับ โดยมากมีเนื้อหาควบคุมเพื่อสถานการณ์ให้อยู่ในความสงบเรียบร้อย และตั้งให้ นายธานินทร์ กรัยวิเชียร (ปัจจุบันเป็นองคมนตรี) ขึ้นดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี โดยนายทหารในคณะปฏิรูปการปกครองได้เปลี่ยนสถานะของตัวเองเป็น สภาปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน มีสมาชิก 340 คน ทำหน้าที่เหมือนรัฐสภาและฝ่ายนิติบัญญัติ ให้การสนับสนุนรัฐบาลนายธานินทร์ โดยที่คณะรัฐบาลนายธานินทร์มีคณะรัฐมนตรีเพียง 17 คนเท่านั้น และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมก็คือ พลเรือเอกสงัด ชลออยู่ นั่นเอง ซึ่งนายธานินทร์ได้ให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนต่อมาว่า รัฐบาลเสมือนหอยที่อยู่ในเปลือก โดยมีนัยถึงเป็นรัฐบาลที่มีคณะนายทหารคอยให้ความคุ้มกัน จึงได้รับฉายาว่า รัฐบาลหอย รัฐบาลคณะนายธานินทร์ กรัยวิเชียร ดำเนินนโยบายทางการเมืองอย่างขวาตกขอบ มีการจับกุมและทำร้ายผู้ที่สงสัยว่าอาจกระทำการเป็นคอมมิวนิสต์อย่างรุนแรง โดยอาศัยรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2519 มาตราที่ 21 จึงทำให้นายกรัฐมนตรีมีอำนาจสูงสุด การจัดกิจกรรมในวันแรงงานแห่งชาติในปี 2520 จึงต้องงดไป

การดำเนินงานของคณะรัฐบาลนายธานินทร์ กรัยวิเชียร ประสบกับปัญหาตลอดด้วยนโยบายขวาตกขอบที่โลกไม่ยอมรับ ในที่สุดคณะนายทหารในสภาปฏิรูปการปกครองแผ่นดินชุดเดิมที่นำโดย พลเรือเอกสงัด ชลออยู่ จึงกระทำการรัฐประหารอีกครั้งในวันที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2520 และแต่งตั้ง พลเอกเกรียงศักดิ์ ชมะนันท์ ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรีแทน สถานการณ์ต่างๆจึงเปลียนไปมีการผ่อนคลายทางการเมืองมากขึ้น จากรูปแบบการปราบปรามฝ่ายก้าวหน้ามาเป็นการหลอกลวง รัฐบาลเกรียงศักดิ์อาศัยการสร้างความสัมพันธ์กับผู้นำกรรมกร ได้ดึงเอาผู้นำบางส่วนมาหนุนอำนาจรัฐ รูปแบบการจัดงานวันกรรมกรนับแต่ยุคนี้จึงกลายเป็นการผลักดันของรัฐบาล และกระทรวงแรงงาน โดยเชิญหัวหน้ารัฐบาลหรือตัวแทนมาร่วมเป็นประธานจัดงาน เพื่อควมคุมการเคลื่อนไหวของกรรมกร โดยเน้นกิจกรรมบันเทิงสนุกสนานแข่งกัฬา เตะตะกร้อ แจกถุงยางอนามัย ฯลฯ ภายหลังการเลือกตั้งปี 2522 แนวทางการสร้างความปรองดองที่พลเอกชวลิต ยงใจยุทธ ใช้ได้ผลคือ คำสั่ง 66/2523 ปรากฏเป็นผลงานทางการเมืองชิ้นสำคัญ นักศึกษา ประชาชน และผู้นำแรงงานที่เคยหลบหนี และเข้าไปต่อสู้ร่วมกับพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยในเขตป่าเขาต่างทะยอยก ลับสู่เมือง รัฐบาลพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ นายกรัฐมนตรีที่ไม่ต้องมาจากการเลือกตั้งขณะนั้นได้มาเป็นประธานในงานวัน กรรมกรที่ท้องสนามหลวง

การจัดงานวันกรรมกรกลับถูกจำกัดให้อยู่แค่ในพื้นที่สนามกีฬา
 

ในปีที่มีการรัฐประหารปี 2534 คณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ (รสช.) ได้ยึดอำนาจจากรัฐบาล ซึ่งมีพลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ เป็น นายกรัฐมนตรี โดยให้เหตุผลว่า มีการโกงกินคอร์รัปชั่นอย่างหนักในรัฐบาล และรัฐบาลแทรกแซงสถาบันทหาร วันที่ 26 กุมภาพันธ์ รสช.มีคำสั่งให้บรรดาผู้นำสหภาพแรงงานเข้ารายงานตัวที่หอประชุมกองทัพบก เพื่อ แถลงนโยบายและเหตุผลในการยึดอำนาจ โดยมีพลเอกสุจินดา คราประยูร เป็นผู้ชี้แจง เขาพูดเอาใจกรรมกรว่า "ทุกข์ของกรรมกรถือเป็นทุกข์ของทหาร" แต่การจัดงานวันกรรมกรกลับถูกจำกัดให้อยู่แค่ในพื้นที่สนามกีฬาไทย- ญี่ปุ่นดินแดง แถมมีรถโคชมาคอยรับส่งเพื่อไม่ให้เดินขบวน เสรีภาพถูกปล้น ผู้กรรมกรถูกคุกคาม ห้ามพูดห้ามแสดงความคิดเห็นทางการเมือง โดยเฉพาะสำหรับทนง โพธิอ่านผู้นำกรรมกรคนสำคัญ เมื่อ รสช. ประกาศจะยกเลิก

สหภาพแรงงานของคนงานรัฐวิสาหกิจ ทนงได้ให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนว่า "ถ้าคณะ รสช.ยังยืนยันจะดำเนินการในเรื่องนี้ ไม่เฉพาะคนงานในสหภาพรัฐวิสาหกิจเท่านั้นที่จะเคลื่อนไหว แต่ผู้ใช้แรงงานทุกระดับคงคัดค้านแน่" เขาประณามการประกาศใช้กฎอัยการศึกว่า เป็นการปิดหูปิดตาประชาชน ทนงได้เรียกประชุมสภาแรงงานแห่งประเทศไทยเพื่อพิจารณามาตรการตอบโต้คณะ รสช.ในประเด็นแยกรัฐวิสาหกิจออกจากกฎหมายแรงงาน ภายหลังการประชุมเขาได้แสดงทัศนะอย่างแข็งกร้าวต่อคณะ รสช.ว่า "ทหารกำลังสร้างปัญหาให้กับกรรมกรด้วยการยุบสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจและออกประกาศ รสช. ฉบับที่ 54 และขอฝากเตื่อนถึงบิ๊กจ๊อด อย่านึกว่าเป็นใหญ่ในแผ่นดินแล้วจะทำอะไรก็ได้ ต้องฟังเสียงประชาชนบ้าง เวลานี้ทหารทำให้กรรมกรเป็นทุกข์ ดังนั้นควรทำอะไรให้รอบคอบ วันนี้สามช่า วันหน้าอาจไม่มีแผ่นดินอยู่"  การ เคลื่อนไหวของทนงจึงได้รับการตอบสนองจากขบวนการแรงงานสากลอย่างกว้างขวาง ในฐานะตัวเชื่อมระหว่างขบวนการแรงงานไทยกับขบวนการแรงงานสากล ทำให้ทนงถูกเพ่งเล็งเป็นพิเศษ วันที่ 14 มิถุนายน 2534 สภาแรงงานแห่งประเทศไทยภายใต้การนำของทนงได้จัดการประชุมใหญ่กลางท้องสนาม หลวงเย้ยอำนาจ รสช.เรียกร้องให้คืนสหภาพแรงงานให้คนงานรัฐวิสาหกิจและยกเลิกประกาศ รสช.ฉบับ 54 แล้ววันที่ 19 มิถุนายน 2534 เขาก็ได้ถูกทำให้หายตัวไปอย่างลึกลับไร้ร่องรอย จากนั้นก็ไม่มีผู้ใดพบเห็นหรือได้ข่าวที่แท้จริงเกี่ยวกับทนงอีกเลย ( ข้อมูลจากประชาไท http://prachatai.com/journal/2006/06/8720 )



 

แม้จะมีรัฐบาลประชาธิปไตยครึ่งใบ เต็มใบ วันนี้ก็ยังคงถูกซ่อนเร้นจากความเป็นสากล ทั้งเนื้อหา และรูปแบบของการจัดงานยังคงถูกควบคุมโดยรัฐบาล และบริษัทเอกชนที่เป็นผู้ให้การสนับสนุนงบประมาณในการจัดงาน กรรมกรแทนที่จะภูมิใจในชนชั้นตน ในฐานะผู้สร้างโลก กลับปฏิเสธคำๆนี้ เลี่ยงไปใช้ว่า ผู้ใช้แรงงานแทน ไม่เท่านั้นยิ่งในยุคหลังรัฐประหาร 2549 ยุคที่สีเหลืองเฟื่องฟู ยุคที่รัฐบาลอำมาตย์เข่นฆ่าพี่น้องประชาชนบนท้องถนน ปล้นประชาธิปไตยและความยุติธรรมในสังคม ยุคที่พี่น้องเราต้องถูกคุมขังจองจำด้วยข้อหาลมๆแล้งๆ กรรมกรยุคนี้ต้องสวมใส่เสื้อสีเหลืองเอาใจอำมาตย์ในการเคลื่อนขบวนวัน เมย์เดย์ กรรมกรต้องใส่เสื้อสีชมพูกันสลอนในรัฐบาลที่แต่งตั้งมาโดยทหาร กรรมกรไทยต้องนำวันอันเป็นสากลไปผูกติดกับการยกย่องประมุขของประเทศ แทนการยกย่องกรรมกรผู้ใช้แรงงานด้วยกัน การรัฐประหารแต่ละครั้งทำให้ขบวนการกรรมกรหดเล็กลงๆ กรรมกรไม่มีศีกดิ์ศรีแม้แต่จะกำหนดวันของตนเอง



คงมีแต่พลังคนเสื้อแดงที่มีดวงตาสว่างไสวจะช่วยกันชุบชีวิต ฟื้นคืนการต่อสู้ร่วมกับกรรมกรฝ่ายก้าวหน้าให้วันกรรมกรกลับมามีคุณค่าและ ความหมายอีกครั้ง เพื่อปกป้องศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ผดุงความยุติธรรม และรังสรรค์วัฒนธรรมของชาวกรรมาชีพต่อไป วันที่ 1 พฤษภานี้ขอเชิญกรรมกรแดงผู้รักประชาธิปไตยไปร่วมกันเดินขบวน แปดโมงเช้าที่ลานพระรูป
( พบกับเรื่องราวของ วันที่ 5 พฤษภา วันจิตร ภูมิศักดิ์ วันที่ 11 พฤษภา วันปรีดี พนมยงค์ 17 พฤษภา วันพฤษภาทมิฬ วันที่ 19 พฤษภา วันตาสว่าง ในนสพ.เลี้ยวซ้าย เดือนถัดไป )






(ที่มา) 
http://turnleftthai.blogspot.dk/2013/04/1.html 
         

Wake Up Thailand

Wake Up Thailand
 

Coffee with : นนทวัฒน์ นำเบญจพล และ ภาณุ อารี

Wake Up Thailand ประจำวันที่ 26 เมษายน 2556  ตอนที่ 2
Coffee with : นนทวัฒน์ นำเบญจพล และ ภาณุ อารี 
http://www.dailymotion.com/video/xzby3y_coffee-with-yyyy-yy 


อย่าปล่อยให้เรื่องน้ำมันเสี้ยม'แดง' 

Wake Up Thailand ประจำวันที่ 26 เมษายน 2556  ตอนที่ 1
อย่าปล่อยให้เรื่องน้ำมันเสี้ยม'แดง' 
http://www.dailymotion.com/video/xzbxeb_yy-yyy 


สภาอุตสาหกรรม เลิกเป็นลูกแหง่สักที  
 
Wake Up Thailand ประจำวันที่ 25 เมษายน 2556  ตอนที่ 2
เพื่อไทยทำลายมรดกไทยรักไทย ? 
http://www.dailymotion.com/user/VoiceTV/1#video=xzaqsu


สภาอุตสาหกรรม เลิกเป็นลูกแหง่สักที

Wake Up Thailand ประจำวันที่ 25 เมษายน 2556  ตอนที่ 1
สภาอุตสาหกรรม เลิกเป็นลูกแหง่สักที 
http://www.dailymotion.com/user/VoiceTV/1#video=xzaok4 

 
เป็นชนกลุ่มน้อยอยู่ยาก...ต้องเป็นชนชั้นปกครอง 
 
Wake Up Thailand ประจำวันที่ 24 เมษายน 2556  ตอนที่ 2 
เป็นชนกลุ่มน้อยอยู่ยาก...ต้องเป็นชนชั้นปกครอง
http://www.dailymotion.com/user/VoiceTV/2#video=xz9m5h 


ตรวจสอบม็อบ หรือ จะตรวจสอบศาลรัฐธรรมนูญ

Wake Up Thailand ประจำวันที่ 24 เมษายน 2556  ตอนที่ 1
ตรวจสอบม็อบ หรือ จะตรวจสอบศาลรัฐธรรมนูญ 
http://www.dailymotion.com/user/VoiceTV/2#video=xz9lfw 

จาตุรนต์ ฉายแสง: ไม่ใช่นักมวยไล่ชกกรรมการ กรรมการต่างหากที่ไล่ชกนักชกมวย

จาตุรนต์ ฉายแสง: ไม่ใช่นักมวยไล่ชกกรรมการ กรรมการต่างหากที่ไล่ชกนักชกมวย

 



เห็นข่าวคุณจรัญบอกว่างงที่นักมวยไล่ชกกรรมการ และก็พูดทำนองว่าไม่อยากต่อความยาวสาวความยืดเพราะมีงานต้องทำ ผมก็เข้าใจได้ทันทีว่าตุลาการศาลรัฐธรรมนูญหลายๆคนกำลังจะจนมุมเข้าทุกที แล้ว

ใช้คำว่า"จนมุม"ก็ดูจะเข้ากับบรรยากาศดีทีเดียวเพราะเป็นเรื่องหมัดๆ มวยๆ

คุณจรัญ นับได้ว่าเป็นระดับมันสมองของศาลรัฐธรรนูญที่คอยทำหน้าที่ปกป้องรัฐธรรมนูญ ฉบับนี้อย่างหัวชนฝามาตลอด ด้วยความสามารถระดับคุณจรัญ ถ้าไม่จนมุมจริงๆคงไม่ออกลูกนี้แต่ที่ต้องมาเปรียบเทียบเป็นนักมวยกับ กรรมการก็เพราะเรื่องที่กำลังโต้แย้งเกี่ยวกับบาทบาทที่เลยเถิดของศาลรัฐ ธรรมนูญกันอยู่ในขณะนี้ ฝ่ายศาลรัฐธรรมนูญไม่มีทางโต้แย้งด้วยเหตุผลได้เลย

ยิ่งโต้กันไปโต้กันมา คนทั้งบ้านทั้งเมืองก็ยิ่งเห็นตรงกันว่าศาลรัฐธรรมนูญเป็นฝ่ายผิดเต็มประตู คือกระทำการขัดต่อรัฐธรรมนูญเสียเอง ก้าวก่ายการทำหน้าที่ของรัฐสภาในการแก้ไขรัฐธรรมนูญทั้งๆที่ตนเองไม่มีอำนาจ และตั้งตัวอยู่เหนือรัฐธรร,นูญ

เมื่อรู้ว่าโต้ไปก็ยิ่งแพ้ ยิ่งเข้าเนื้อ คุณจรัญจึงใช้วิธีเปรียบเทียบที่ง่ายๆและคงหวังว่าสังคมไทยจะคล้อยตามได้ง่าย

แต่ผมคิดว่าในหลายปีมานี้ สังคมไทยได้เรียนรู้อะไรๆ มามากพอที่จะรู้เท่าทันคุณจรัญแล้ว
ความจริงเรื่องระหว่างรัฐสภากับศาลรัฐธรรมนูญนั้นซับซ้อนเกินกว่าที่จะ เปรียบเทียบว่าฝ่ายหนึ่งเป็นนักมวยและอีกฝ่ายเป็นกรรมการ ต้องอธิบายกันหลายแง่มุม

แต่ถ้าจะเปรียบอย่างที่คุณจรัญเปรียบคงต้องบอกว่าขณะนี้ไม่ใช่นักมวยไล่ ชกกรรมการ แต่คนดูทั้งสนามเขาเห็นว่ากรรมการนั้นไม่เป็นกลางและทราบกันโดยทั่วไปว่า กรรมการนั้นสังกัดค่ายมวยค่ายหนึ่ง ค่ายมวยนี้นักมวยชกไม่เป็นแต่ที่ยังมีนักมวยชกอยู่ได้และบางทีก็ชนะเสียด้วย ก็เพราะมีกรรมการคอยช่วยอยู่เรื่อย มาช่วงหลังๆนักมวยก็ยิ่งชกไม่เป็น ภาษามวยเขาเรียกว่า"ออกทะเล" กรรมการก็เลยใจร้อน โดดเข้าช่วยนักมวยในสังกัดเดียวกัน ถึงขั้นชกเสียเองเลย

(อ่านต่อ)
http://www.prachatai.com/journal/2013/04/46405


Divas Cafe

Divas Cafe




Divas Cafe ประจำวันที่ 26 เมษายน 2556 
360องศา รอบสะดือ ดีว่าส์ 
http://www.dailymotion.com/user/VoiceTV/1#video=xzbzl2 
   
Divas Cafe ประจำวันที่ 25 เมษายน 2556
อย่าให้กระทรวงวัฒนธรรมประหารปัญญา 
http://www.dailymotion.com/user/VoiceTV/1#video=xzarw6 
 
Divas Cafe ประจำวันที่ 24 เมษายน 2556 
กรุงเทพเมืองไสยศาสตร์โลก 
http://www.dailymotion.com/user/VoiceTV/2#video=xz9nxr 

รายงานฮิวแมนไรท์ วอทช์ เผยรายละเอียด "การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์" ต่อชาวโรฮิงญา

รายงานฮิวแมนไรท์ วอทช์ เผยรายละเอียด "การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์" ต่อชาวโรฮิงญา

 


 
"สิ่งที่คุณทำได้ คือการภาวนาให้รอดชีวิต" รายงานของฮิวแมนไรท์วอทช์เปิดเผยการ "ฆ่าล้างเผ่าพันธุ์" ต่อชาวโรฮิงญา ในขณะที่ปธน. เต็งเส่งได้รับรางวัล 'สันติภาพดีเด่น' จากองค์กร ICG


ความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในรัฐอาระกัน ทางตะวันตกของประเทศพม่าในเดือนมิถุนายนและตุลาคมเมื่อปีที่แล้ว นำมาซึ่งการเสียชีวิตของประชาชนชาวชาติพันธุ์ยะไข่และโรฮิงญาอย่างน้อย 180 คน นอกจากนี้ยังทำให้ชาวโรฮิงญากว่า 125,000 พลัดถิ่น บ้านเรือนเกิดความเสียหายและถูกเผาไหม้เป็นพื้นที่ราว 348 เอเคอร์ หรือราว 1.4 ตารางกิโลเมตร คิดเป็นอาคารและบ้านเรือนจำนวนราว 4,862 แห่ง


หลังจากเกิดเหตุจลาจลทางชาติพันธุ์และศาสนาดังกล่าว รัฐบาลพม่าได้ตั้งคณะกรรมการสอบสวนที่ประกอบด้วยภาคส่วนต่างๆ จำนวน 27 คน รวมถึงผู้นำฝ่ายค้าน อาทิ มิน โก นาย และซากานาร์ นักเคลื่อนไหวสมัยการลุกฮือของนักศึกษาปี 1988 เพื่อค้นหาข้อเท็จจริงและผลิตรายงานเกี่ยวกับเหตุการณ์ดังกล่าว ซึ่งก่อนหน้านี้ประธานาธิบดีเต็งเส่ง ได้กล่าวว่าความรุนแรงในพื้นที่เกิดขึ้นจากพรรคการเมือง พระสงฆ์บางกลุ่ม และคนบางกลุ่มที่กระพือสร้างความเกลียดชังระหว่างกลุ่มคนต่างศาสนา อย่างไรก็ตาม ยังไม่มีมาตรการที่ชัดเจนในการลงโทษผู้กระทำผิด หรือการช่วยเหลือเยียวยาด้านอื่นๆ 


หลังจากเก็บข้อมูลและสัมภาษณ์คนในพื้นที่ราว 100 คนจากกลุ่มชาวโรฮิงญาและชาวอาระกัน ฮิวแมนไรท์วอทช์ ได้เผยแพร่รายงานที่ชื่อ "'All You Can Do is Pray': Crimes Against Humanity and Ethnic Cleansing of Rohingya Muslims in Burma’s Arakan State" ซึ่งชี้ว่าการกระทำหลายด้านของรัฐบาลต่อเหตุการณ์จลาจลนับเป็น "การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์" ต่อชาวมุสลิมโรฮิงญา ไม่ว่าจะเป็นการปิดกั้นความช่วยเหลือจากองค์กรด้านมนุษยธรรมระหว่างประเทศ หรือการที่เจ้าหน้าที่ความมั่นคงของรัฐร่วมกับชาวอาระกันทำร้ายและทำลายที่ อยู่อาศัยของชาวโรฮิงญา เป็นต้น 


"รัฐบาลพม่ามีส่วนในการดำเนินการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ต่อชาวโรฮิงญาที่ยัง คงเกิดอยู่จนถึงวันนี้ ผ่านการปิดกั้นการให้ความช่วยเหลือและการจำกัดการเคลื่อนย้าย" ฟิล โรเบิร์ตสัน รองผู้อำนวยการฝ่ายเอเชียของฮิวแมนไรท์ วอทช์ กล่าว "รัฐบาลจำเป็นต้องยุติการละเมิดดังกล่าว และให้ผู้กระทำผิดรับผิดชอบ มิเช่นนั้น รัฐบาลจะต้องเป็นผู้รับผิดชอบกับความรุนแรงต่อชนกลุ่มน้อยทางชาติพันธุ์และ ศาสนาที่เกิดขึ้นในประเทศ" 

คดีเจริญ วัดอักษร: ชวน ‘ย้อนรอยคำพิพากษา’ อีกหนึ่งบทพิสูจน์กระบวนการยุติธรรม

คดีเจริญ วัดอักษร: ชวน ‘ย้อนรอยคำพิพากษา’ อีกหนึ่งบทพิสูจน์กระบวนการยุติธรรม

 


 
 
“แม้เราจะถูกกำหนดให้เชื่อว่าคำ พิพากษาของศาลในระบบปัจจุบันมีความถูกต้องเป็นธรรมเสมอ แต่ก็ไม่มีใครสามารถมาบังคับให้เราต้องศิโรราบกับที่ไม่ถูกต้องเป็นธรรม ได้...” ถ้อยความจากบทวิพากษ์คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ คดีจ้างวานฆ่า ‘เจริญ วัดอักษร’ โดย กลุ่มรักท้องถิ่นบ่อนอก 
 
หลังจากศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้อง เมื่อวันที่ 16 มี.ค.ที่ผ่านมา โดยกลับคำพิพากษาของศาลชั้นต้นที่ให้ประหารชีวิต ‘ธนู หินแก้ว’ จำเลยที่ 3 ในคดี ในฐานะผู้จ้างวานด้วยเหตุความโกรธแค้นที่ ‘เจริญ วัดอักษร’ เป็นผู้นำชาวบ้านคัดค้านการก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินของ บ.กัลฟ์พาวเวอร์ เจนเนอเรชั่น จำกัด ในพื้นที่ ต.บ่อนอก และเปิดโปงการบุกรุกที่ดินสาธารณะของกลุ่มอิทธิพล ตั้งแต่เมื่อปี 2547


เหตุผลในคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ที่ให้ยกฟ้องระบุว่า “พยานโจทก์ไม่มีเหตุผลหนักแน่นพอที่จะทำให้เชื่อได้ว่านายธนูเป็นผู้จ้างวาน จริง” จึงก่อให้เกิดคำถามต่อกระบวนการยุติธรรมในวงกว้าง


เพื่อไขข้อสงสัยดังกล่าว กรณ์อุมา พงษ์น้อย ประธานกลุ่มรักท้องถิ่นบ่อนอก พร้อมกลุ่มชาวบ้านเสื้อเขียวกว่า 200 คนเดินทางจากจังหวัดประจวบคีรีขันธ์มายังศาลอุทธรณ์ ถ.รัชดา เมื่อวันที่ 23 เม.ย.ที่ผ่านมา ด้วยเป้าหมายในการชี้แจงข้อมูลต่อสาธารณะในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับคดี รวมทั้งคำวินิจฉัยคดีของศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ซึ่งต่างกันราวขาวกับดำ

(อ่านต่อ)

ฟังสื่อกัมพูชาและสื่อไทยชายแดน ประเด็นน่ากังวลจากข่าวเขาพระวิหารคือสงคราม

ฟังสื่อกัมพูชาและสื่อไทยชายแดน ประเด็นน่ากังวลจากข่าวเขาพระวิหารคือสงคราม

 

 

 

ตัวแทนสื่อกัมพูชา เปิดใจประเด็นที่คนกัมพูชากังวลคือสงคราม พร้อมยอมรับคำตัดสินเพราะกัมพูชาเป็นฝ่ายยื่นคำร้องต่อศาลโลกเอง ขณะสื่อชายแดนไทย-กัมพูชาเรียกร้องความร่วมมือระหว่างประเทศ


ซก สุวรรณ ประธานกรรมการสื่อมวลชนกัมพูชา และรองเลขาธิการสหพันธ์สื่อมวลชนอาเซียน กล่าว ในการเสวนาหัวข้อ “ไทย-กัมพูชา-ปราสาทพระวิหาร..รู้ทันข่าว รู้ทันสื่อ” ซึ่งจัดโดยมีเดีย อินไซด์เอาท์ ว่าคนกัมพูชารวมถึงนักข่าวจะติดตามข่าวถ่ายทอดสดจากช่อง 11 ของกัมพูชา และสิ่งที่กังวลคือสงครามมากกว่าเรื่องผลคำตัดสิน ทั้งนี้ฝั่งกัมพูชาเชื่อว่าชนะคดีเพราะกัมพูชาอ้างอิงแผนที่1:200,000 เตามคำตัดสินจากศาลโลก ซึ่งกัมพูชาชนะมา 50 ปีแล้ว

“นักการเมืองกัมพูชาพูดน้อยในเรื่องนี้ เพราะเขาเห็นว่าอยากตีความคำตัดสินใหม่ให้ชัดเจน ไม่อยากให้เป็นเรื่องซ้ำไปซ้ำมาเกี่ยวกับปราสาทเขาพระวิหารซึ่งต้องการการ พัฒนา”

“แต่การนำเสนอไม่เหมือนไทย ผมเห็นว่าไทยออกข่าวทุกช่วงเวลาเลย ทั้งช่องสาม ช่อง 11 ผมดูทีวีของไทยสามช่อง” สำหรับประเด็นในศาลโลกนั้น สำหรับกัมพูชาเชื่อมั่นว่าต้องชนะนะ เพราะเรามีแผนที่ 1:200,000 เพราะเป็นตัดสินจากศาลโลก ซึ่งกัมพูชาชนะมา 50 ปีแล้ว

ส่วนความสนใจของประชาชนนั้น ซก สุวรรณกล่าวว่าประชาชนไม่ค่อยสนใจเท่าไหร่ ข่าวสารเกี่ยวกับเรื่องนี้ส่วนใหญ่ติดตามจากข่าวไทย ส่วนนักข่าวกัมพูชานั้นไปที่กรุงเฮกนั้นมีการรายงานประมาณ 2 ช่วงเท่านั้น คือ  11.00 น. และ 18.00 น.

“การติดตามข่าวสารของฝั่งกัมพูชา กลัวอย่างเดียวคือกลัวสงคราม ส่วนเรื่องคำตัดสินไม่มีความกังวล” ซก สุวรรณกล่าวและว่าประชาชนกัมพูชาผ่านความขัดแย้งมานานแล้วและไม่ชอบเรื่อง ความขัดแย้ง เมื่อมีความขัดแย้งทางกัมพูชาก็จะถือว่ารัฐบาลเป็นตัวแทนของเขา

วาทะเด็ด "สติปัญญาและอุดมการณ์"

วาทะเด็ด "สติปัญญาและอุดมการณ์"




ท่าทางเจ้าตัวจะภูมิใจนักกับวาทะเด็ด หารู้ไม่ว่า เป็นความคิดย้อนยุคสมัยมนุษย์ยังป่าเถื่อนเเละไร้ขื่อเเปเเท้ๆ ใช้วิธีรุนเเรงเเละอาวุธฆ่าฟันกันตัดสินถูกผิด เเทนการใช้วิธีสันติตามอำนาจศาลอย่างผู้ที่เจริญเเล้ว คนที่เกิดยุคนี้เเต่ยังมีวิธีคิดลักษณะนี้ได้ เเสดงว่าไม่ใช่คนจิตปกติเเล้ว...

วันพุธที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2556

ฟ้าต่ำ แผ่นดินสูง : “เขาพระวิหาร” ในภาพยนตร์ที่ห้ามคนไทยดู

ฟ้าต่ำ แผ่นดินสูง : “เขาพระวิหาร” ในภาพยนตร์ที่ห้ามคนไทยดู

 

ห้ามฉาย "ฟ้าต่ำแผ่นดินสูง" เหตุขัดต่อความมั่นคงของ
http://www.prachatai.com/journal/2013/04/46359 

มติใหม่ 'ฟ้าต่ำแผ่นดินสูง' ได้เรท 18+ ให้ดูดเสียงออก 2 วิ
http://www.prachatai.com/journal/2013/04/46409 


โดย ศาสวัต บุญศรี

 
ช่วงการต่อสู้ทางการศาลเพื่อแย่งชิงสิทธิในการครอบครองพื้นที่ทับซ้อน 4.6 ตารางกิโลเมตรใกล้ชิดติดกับปราสาทเขาพระวิหาร ฟ้าต่ำ แผ่นดินสูง หรือ Boundary ภาพยนตร์สารคดีเล็ก ๆ โดยนนทวัฒน์ นำเบญจกุล ได้รับเลือกเป็นภาพยนตร์ฉายเปิดในเทศกาลภาพยนตร์สารคดีศาลายา อีกราวสี่วันต่อมาจากพิธีเปิด ฟ้าต่ำ แผ่นดินสูง ได้รับเสียงตอบรับเป็นอย่างดี มีผู้ชมแทบเต็มความจุของห้องประชุมชั้นห้าของหอศิลปวัฒนธรรมกรุงเทพฯ และปิดท้ายด้วยการฉายที่ธรรมศาสตร์พร้อมการเสวนาของชาญวิทย์ เกษตรศิริ

น่าเสียดายว่าผู้ชมที่ได้ชมไปอย่างเป็นทางการในสามรอบที่ว่าน่าจะเป็น “ผู้โชคดี” เพราะล่าสุดภาพยนตร์เรื่องนี้โดยคณะกรรมการเซนเซอร์ให้เรทห้ามฉายด้วยเหตุผล เกี่ยวกับความมั่นคงและอาจก่อให้เกิดความขัดแย้งต่อความสัมพันธ์ระหว่าง ประเทศ (ซึ่งนนทวัฒน์จะยื่นอุทธรณ์อีกเช่นเดียวกับท่านอื่นที่โดนก่อนหน้า)

มีภาพยนตร์ไทยน้อยเรื่องที่นำเขาพระวิหารมาเป็นใจกลางการเล่าเรื่อง โดยมากมักเป็นสารคดีทางโทรทัศน์ที่ถูกผลิตในทิศทางการสูญเสียดินแดนและเรียก ร้องนำดินแดนทับซ้อนเหล่านี้คืน มีวาทกรรมมากมายถูกผลิตขึ้นในช่วงพันธมิตรประชาชนประชาธิปไตยกลับมาแสดง บทบาททางการเมืองช่วงรัฐบาลประชาธิปัตย์

จุดเริ่มต้นของฟ้าต่ำ แผ่นดินสูงเกิดขึ้นเมื่อนนทวัฒน์เดินทางตามทหารเกณฑ์นายหนึ่งกลับไปยังบ้าน เกิดที่อยู่ใกล้ ๆ ภูมิซรอล เดิมทีนนทวัฒน์ตั้งใจเล่าเรื่องของทหารที่ต้องปฏิบัติภารกิจทั้งในภาคใต้และ เหตุการณ์ที่คอกวัวในเดือนเมษายน 2553 ดังนั้นในช่วงแรกฟ้าต่ำฯ จึงคล้ายสำรวจชีวิตความเป็นอยู่ในท้องถิ่นที่ทหารคนนี้ใช้ชีวิต ทว่าจุดเปลี่ยนของเรื่องก็เปลี่ยนไปเมื่อเขาพบว่าพื้นที่หมู่บ้านแห่งนี้ อยู่ในเขตได้รับผลกระทบจากการเรียกร้องเขาพระวิหารเช่นเดียวกัน

ประมวลภาพ: ‘รักท้องถิ่นบ่อนอก’ ร้องถามความเป็นธรรมอัยการ-ศาลอุทธรณ์ คดีฆ่า ‘เจริญ วัดอักษร’

ประมวลภาพ: ‘รักท้องถิ่นบ่อนอก’ ร้องถามความเป็นธรรมอัยการ-ศาลอุทธรณ์ คดีฆ่า ‘เจริญ วัดอักษร’

 


'เครือข่ายประชาชนอีสาน' ร่วมถอดบทเรียนศาลอุทธรณ์ยกฟ้อง 'คดีเจริญ วัดอักษร'

เครือข่ายประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากกระบวนการยุติธรรมและตัดสินคดีความใน ภาคอีสาน ร่วมรับฟังและแสดงความคิดเห็นกรณีการยกฟ้องของศาลอุทธรณ์ในคดีจ้างวานฆ่า เจริญ วัดอักษร เพื่อนำสู่การถอดบทเรียนกระบวนการยุติธรรมไทย

(อ่านต่อ)

เสวนา 'การขึ้นสู่อำนาจของฮิตเลอร์ : รัฐธรรมนูญ เจตจำนง ความชอบธรรม'

เสวนา 'การขึ้นสู่อำนาจของฮิตเลอร์ : รัฐธรรมนูญ เจตจำนง ความชอบธรรม'

 


 

เสวนา 'การขึ้นสู่อำนาจของฮิตเลอร์' part 1 of 2

เสวนา 'การขึ้นสู่อำนาจของฮิตเลอร์' part 2 of 2

ไต่สวนการตายอากง ‘หนุ่ม เรดนนท์’ เบิกความ ระบบสุขภาพในเรือนจำย่ำแย่

ไต่สวนการตายอากง ‘หนุ่ม เรดนนท์’ เบิกความ ระบบสุขภาพในเรือนจำย่ำแย่

 


 
"นายธันย์ฐวุฒิ เคยรับฟังคำบอกเล่าของนายอำพลที่ได้ไปตรวจรักษาที่สถานพยาบาลของเรือนจำว่า ครั้งแรกที่ตรวจรรักษา แพทย์ไม่ได้วินิจฉัยอาการ แต่ให้ยาแก้ปวดท้องมา ครั้งที่สองนายอำพลโวยวายให้แพทย์ตรวจ แพทย์จึงตรวจให้ แต่มีการพูดจาเหยียดหยามดูหมิ่นก่อน  แพทย์ให้นายอำพลแบมือออก เมื่อเห็นมือสั่นจึงบอกว่า  “อย่าหมิ่นสิ เพราะหมิ่นเลยต้องมาอยู่ที่นี่” "

วันอังคารที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2556

วรพล พรหมิกบุตร อาจารย์มธ. แจ้งจับศาลรัฐธรรมนูญ

วรพล พรหมิกบุตร อาจารย์มธ. แจ้งจับศาลรัฐธรรมนูญ


 


เมื่อเวลา 14.00 น.วันที่ 23 เม.ย. ที่กองปราบปราม รศ.วรพล พรหมิกบุตร อาจารย์ประจำคณะสังคมวิทยาและมนุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เข้าพบพนักงานสอบสวน กก.1 บก.ป.เพื่อแจ้งความดำเนินคดีกับองค์คณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ในความผิดฐานกระทำการ หรือละเว้นกระทำการอันถือว่าเป็นการละทิ้งงาน หรือกระทำการอย่างใดๆ เพื่อให้งานหยุดชะงัก หรือเสียหาย โดยร่วมกระทำการเช่นนั้นตั้งแต่ 5 คนขึ้นไป ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 166  กรณีที่มีผู้ร้องโดยใช้สิทธิตามมาตรา  68 ของรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2550 ว่ารัฐสภา กำลังพิจารณาร่างแก้ไขรัฐธรรมนุญ มาตรา 291 ซึ่งศาลรัฐธรรมนูญ ก็วินิจฉัยว่าการกระทำของสมาชิกรัฐสภา เป็นการกระทำผิดต่อการปกครองในระบอบประชาธิปไตย ตามมาตรา 68 โดยที่ไม่มีการตรวจสอบข้อเท็จจริงจากอัยการสูงสุด ทั้งที่ผู้ร้องก็ได้ยื่นร้องให้อัยการสูงสุดไว้ด้วย

ส่ง"ก่อแก้ว"เข้าเรือนจำ ศาลยกคำร้องขอประกันตัว ชี้ยังไม่สำนึกผิด ทนายยื่นประกันใหม่ทันที

ส่ง"ก่อแก้ว"เข้าเรือนจำ ศาลยกคำร้องขอประกันตัว ชี้ยังไม่สำนึกผิด ทนายยื่นประกันใหม่ทันที 

 


[IMG]

ศาลยกคำร้องขอประกันตัว ชี้ยังไม่สำนึกผิด
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1366603934&grpid=00&catid=01&subcatid=0100


ใบตองแห้ง ประชาไท 

ใบตองแห้ง


"อะไรคือไม่สำนึกผิด วิจารณ์ศาลผิดตรงไหน พวกคุณเป็นใครใหญ่มาจากไหนถึงวิจารณ์ไม่ได้

ก่อแก้วใช้ถ้อยคำแรง แต่เนื้อหาคือบอกว่าประชาชนต้องสู้ ต้องต่อต้าน ต้องแจ้งจับตุลาการศาล รธน. ที่เข้ามายับยั้งการแก้ไข รธน.ทั้งทีไม่มีอำนาจ ถ้าตำรวจไม่จับ ปชช.จับเอง ถ้าศาลวินิจฉัยว่าแก้ รธน.เป็นการล้มล้างการปกครอง ประชาชนก็ต้องสู้แตกหัก

ถาม ว่าทีศาล รธน.ใช้อำนาจเถื่อน มีใครจัดการได้บ้าง ศาล รธน.อยู่เหนือกฎหมาย อยู่เหนือรัฐธรรมนูญ พอประชาชนต่อต้าน ศาลอาญาก็บอกว่าข่มขู่คุกคามศาล

ตุลาการ ที่ตัดสินขัดหลักกฎหมาย ไม่คำนึงถึงเหตุผล เลวร้ายกว่าโจร ถ้ากล้าตัดสินว่าแก้ รธน.เท่ากับล้มล้างการปกครอง ปชช.ก็ต้องแตกหักจริงๆ ต้องต่อต้าน ยอมรับไม่ได้ จะอ้างว่า ปชช.ละเมิดกฎหมายไม่ได้ เพราะศาลละเมิดกฎหมายเสียเอง

หรือ จะบอกว่า ศาลมีอภิสิทธิ์ปิดปากคน ศาลทำอะไรก็ได้ ใช้อำนาจเกินกฎหมายก็ได้ ตัดสินไม่ตรงก็ได้ ตัดสินตามอำเภอใจก็ได้ พวกมึงเป็นไพร่ พวกมึงต่อต้านไม่ได้ พวกมึงต้องก้มหน้ารับสถานเดียว"

Wake Up Thailand

Wake Up Thailand  
  
Coffee with : อัครพงษ์ ค่ำคูณ

Wake Up Thailand ประจำวันที่ 23 เมษายน 2556  ตอนที่ 2
Coffee with : อัครพงษ์ ค่ำคูณ 
http://www.dailymotion.com/user/VoiceTV/1#video=xz8g93


ไทย - กัมพูชา หลังแถลงปิดคดี

Wake Up Thailand ประจำวันที่ 23 เมษายน 2556  ตอนที่ 1
ไทย - กัมพูชา หลังแถลงปิดคดี 
http://www.dailymotion.com/user/VoiceTV/1#video=xz8fl6 


Coffee with : นพดล ปัทมะ

Wake Up Thailand ประจำวันที่ 22 เมษายน 2556  ตอนที่ 2
Coffee with : นพดล ปัทมะ 
http://www.dailymotion.com/user/VoiceTV/1#video=xz7e7v 
 

  
วีรชัยไทยแลนด์ ? 

Wake Up Thailand ประจำวันที่ 22 เมษายน 2556 ตอนที่ 1
วีรชัยไทยแลนด์ ? 
http://www.dailymotion.com/user/VoiceTV/1#video=xz7d2r 

Divas Cafe

Divas Cafe

 

ในมิตรภาพไม่มีคำว่าแพ้-ชนะ 'เขาพระวิหาร'


Divas Cafe ประจำวันที่ 23 เมษายน 2556 
สามเหลี่ยมดราม่า กับ ม.68 
http://www.dailymotion.com/user/VoiceTV/1#video=xz8i54 

Divas Cafe ประจำวันที่ 22 เมษายน 2556 
ในมิตรภาพไม่มีคำว่าแพ้-ชนะ 'เขาพระวิหาร' 
http://www.dailymotion.com/user/VoiceTV/1#video=xz7fzr