นักศึกษากับการออกนอกระบบ
โดย นิธิ เอียวศรีวงศ์
นักศึกษาของมหาวิทยาลัย "นอกระบบ" ที่เหลืออยู่
คงประสบความล้มเหลวต่อไปที่จะขัดขวางการออกนอกระบบของมหาวิทยาลัยเหล่านั้น
เพราะนักการเมืองในสภาไม่สนใจเรื่องนี้
ผมคิดว่า การชุมนุมประท้วงอย่างที่นักศึกษาทำมาหลายครั้งแล้วนั้น ไม่บังเกิดผล น่าจะคิดถึงการล็อบบี้ให้ข้อมูลความรู้แก่นักการเมืองมากกว่า ด้วยความไร้เดียงสาทางการเมืองของตัวผมเอง ผมไม่ทราบว่านี่จะเป็นยุทธวิธีที่ดีกว่าหรือไม่ เพียงแต่แน่ใจว่าการชุมนุมประท้วงอย่างเดียว ไม่บังเกิดผลอะไร อย่างที่ไม่เคยบังเกิดผลอะไรในเรื่องนี้ตลอดมา
ผมจึงอยากแบ่งปันความรู้ (โบราณๆ) เท่าที่มีอยู่กับนักศึกษาในเรื่องนี้
ความ คิดเรื่องเอามหาวิทยาลัยออกนอกระบบราชการเริ่มมีมาตั้งแต่ต้นทศวรรษที่ 2510 ส่วนใหญ่ของผู้เสนอเป็นปัญญาชนนอกระบบ กล่าวคือแม้จะรับราชการอยู่ ก็ไม่เป็นที่วางใจหรือโปรดปรานของเผด็จการทหารในช่วงนั้น ผมเข้าใจว่า จุดมุ่งหมายของปัญญาชนเหล่านั้นมีเป็นสองประการ
1.ระบบราชการทำให้ การศึกษาค้นคว้าและการถ่ายทอดความรู้ไม่เป็นไปโดยอิสระ เพราะจะต้องถูกผู้บริหารมหาวิทยาลัยกำกับให้สอดคล้องกับนโยบายของรัฐ เนื่องจากผู้บริหารเองก็ต้องได้รับความไว้วางใจจากระบอบปกครองเหมือนกัน กล่าวอย่างสั้นๆ ก็คือ ตราบเท่าที่มหาวิทยาลัยยังเป็นหน่วยราชการ ก็ไม่มีทางที่จะมีเสรีภาพทางวิชาการได้
ว่าโดยหลักการก็ใช่ แต่อันที่จริง เสรีภาพทางวิชาการไม่เคยเป็นปัญหาใหญ่ของมหาวิทยาลัยไทย ไม่ใช่เพราะมีเสรีภาพเต็มเปี่ยมนะครับ แต่เพราะไม่มีใครคิดอยากใช้มันต่างหาก แม้ในช่วงนั้นเอง ผมก็ได้ยินมาว่ารัฐพยายามขัดขวางการทำงานบางอย่างของอาจารย์มหาวิทยาลัย เพราะเห็นว่าเป็นอันตรายต่อความมั่นคง แต่รัฐก็หลีกเลี่ยงที่จะใช้วิธีรุนแรงอะไร พอใจเพียงจะขีดเส้นที่มองไม่เห็นเอาไว้ว่าอย่าล้ำเกินเส้นนี้ เพื่อให้อาจารย์มหาวิทยาลัยขีดให้ชัดเอาเอง และตามธรรมชาติคนเราก็มักจะขีดให้ต่ำๆ ไว้ก่อน เพื่อความปลอดภัย แต่การขัดขวางเสรีภาพทางวิชาการของรัฐก็เกิดขึ้นกับอาจารย์เพียงไม่กี่คน และไม่เป็นข่าวใหญ่อะไร
ผมคิดว่า การชุมนุมประท้วงอย่างที่นักศึกษาทำมาหลายครั้งแล้วนั้น ไม่บังเกิดผล น่าจะคิดถึงการล็อบบี้ให้ข้อมูลความรู้แก่นักการเมืองมากกว่า ด้วยความไร้เดียงสาทางการเมืองของตัวผมเอง ผมไม่ทราบว่านี่จะเป็นยุทธวิธีที่ดีกว่าหรือไม่ เพียงแต่แน่ใจว่าการชุมนุมประท้วงอย่างเดียว ไม่บังเกิดผลอะไร อย่างที่ไม่เคยบังเกิดผลอะไรในเรื่องนี้ตลอดมา
ผมจึงอยากแบ่งปันความรู้ (โบราณๆ) เท่าที่มีอยู่กับนักศึกษาในเรื่องนี้
ความ คิดเรื่องเอามหาวิทยาลัยออกนอกระบบราชการเริ่มมีมาตั้งแต่ต้นทศวรรษที่ 2510 ส่วนใหญ่ของผู้เสนอเป็นปัญญาชนนอกระบบ กล่าวคือแม้จะรับราชการอยู่ ก็ไม่เป็นที่วางใจหรือโปรดปรานของเผด็จการทหารในช่วงนั้น ผมเข้าใจว่า จุดมุ่งหมายของปัญญาชนเหล่านั้นมีเป็นสองประการ
1.ระบบราชการทำให้ การศึกษาค้นคว้าและการถ่ายทอดความรู้ไม่เป็นไปโดยอิสระ เพราะจะต้องถูกผู้บริหารมหาวิทยาลัยกำกับให้สอดคล้องกับนโยบายของรัฐ เนื่องจากผู้บริหารเองก็ต้องได้รับความไว้วางใจจากระบอบปกครองเหมือนกัน กล่าวอย่างสั้นๆ ก็คือ ตราบเท่าที่มหาวิทยาลัยยังเป็นหน่วยราชการ ก็ไม่มีทางที่จะมีเสรีภาพทางวิชาการได้
ว่าโดยหลักการก็ใช่ แต่อันที่จริง เสรีภาพทางวิชาการไม่เคยเป็นปัญหาใหญ่ของมหาวิทยาลัยไทย ไม่ใช่เพราะมีเสรีภาพเต็มเปี่ยมนะครับ แต่เพราะไม่มีใครคิดอยากใช้มันต่างหาก แม้ในช่วงนั้นเอง ผมก็ได้ยินมาว่ารัฐพยายามขัดขวางการทำงานบางอย่างของอาจารย์มหาวิทยาลัย เพราะเห็นว่าเป็นอันตรายต่อความมั่นคง แต่รัฐก็หลีกเลี่ยงที่จะใช้วิธีรุนแรงอะไร พอใจเพียงจะขีดเส้นที่มองไม่เห็นเอาไว้ว่าอย่าล้ำเกินเส้นนี้ เพื่อให้อาจารย์มหาวิทยาลัยขีดให้ชัดเอาเอง และตามธรรมชาติคนเราก็มักจะขีดให้ต่ำๆ ไว้ก่อน เพื่อความปลอดภัย แต่การขัดขวางเสรีภาพทางวิชาการของรัฐก็เกิดขึ้นกับอาจารย์เพียงไม่กี่คน และไม่เป็นข่าวใหญ่อะไร
ผมไม่แน่ใจว่า อาจารย์มหาวิทยาลัยในปัจจุบันอยากใช้เสรีภาพทางวิชาการมากน้อยเพียงไร
2.ระเบียบ ราชการ (ทั้งระเบียบการบริหารงานและระเบียบด้านการใช้งบประมาณ) ซึ่งไม่เอื้อต่อการบริหารมหาวิทยาลัย เช่นหาคนเก่งมาทำงานได้ยาก ระเบียบบังคับว่าให้หาใครก็ได้ที่มีวุฒิทางการศึกษาตามข้อบังคับมากกว่าหาคน เก่ง จะส่งเสริมให้อาจารย์ทำวิจัยก็ต้องทำโครงการวิจัยที่กินเวลาไม่เกิน 1 ปี จะปล่อยอาจารย์ออกไปทำวิจัยภายนอกก็ขัดระเบียบราชการ (สมัยนั้นยังไม่มีการลาพักเพื่อทำวิจัย - sabbatical leave)
ปัญหามา อยู่ที่ว่า เมื่อออกจากระบบราชการแล้ว จะเอาเงินที่ไหนมาดำเนินการ สมัยนั้นเสนอให้รัฐลงทุน โดยจ่ายเงินก้อนใหญ่เป็นทุนสำรองที่เรียกกันว่า endowment fund แล้วมหาวิทยาลัยก็จะหารายได้จากเงินก้อนนี้ไปดำเนินงาน แน่นอนรัฐต้องจ่ายงบพัฒนาต่อไป แต่งบดำเนินการมหาวิทยาลัยจะรับผิดชอบเอง
แล้วเรื่องทั้งหมดก็ซาไปในต้นทศวรรษที่ 2510 นั้นเอง
ใน ตอนกลางทศวรรษ 2520 การเคลื่อนไหวเพื่อนำมหาวิทยาลัยออกนอกระบบก็กลับมาใหม่ แต่คราวนี้นำโดยผู้บริหารทบวงมหาวิทยาลัยและมหาวิทยาลัยเอง และมีจุดมุ่งหมายที่ต่างออกไป นั่นคือ
ประการแรก รัฐต้องเสียงบประมาณต่อรายหัวให้แก่นักศึกษามหาวิทยาลัยสูงมากเป็นหลายเท่า ตัว เมื่อเทียบกับนักเรียนประถมและมัธยม ในขณะที่มหาวิทยาลัยมีนักศึกษาอยู่น้อย ซ้ำผลตอบแทนทางเศรษฐกิจของผู้ที่จบการศึกษาระดับมหาวิทยาลัยยังสูงกว่าคน อื่นหลายเท่าเหมือนกัน นับเป็นความไม่เป็นธรรมอย่างยิ่งต่อคนไทยทั่วไป นอกจากนี้ในช่วงนี้ก็ยังเป็นช่วงที่รัฐพยายามจะขยายการศึกษาทั้งภาคบังคับ และเกินภาคบังคับออกไปให้กว้างขวาง ต้องใช้งบประมาณด้านการศึกษาจำนวนมาก ฉะนั้น มหาวิทยาลัยจะต้องเลี้ยงตนเองได้บ้าง เพื่อผ่อนเบาภาระงบประมาณของรัฐลงให้แก่นักเรียนอื่นๆ
ผมคิดว่าข้อถก เถียงนี้ของเขาถูกต้องอย่างยิ่ง ไม่มีทางจะปฏิเสธได้ แต่การที่มหาวิทยาลัยจะเลี้ยงตนเองได้มากขึ้นนั้น อย่างไรเสียก็ต้องกระทบค่าเล่าเรียนในมหาวิทยาลัย การศึกษาเป็นการลงทุนอย่างหนึ่ง ผู้ที่ลงทุนเพื่อหวังกำไรก้อนใหญ่ในภายหน้า จึงต้องรับผิดชอบต่อการลงทุนของตนมากขึ้น ดังนั้น อย่างไรเสียก็ต้องยอมรับว่าค่าใช้จ่ายในการเรียนมหาวิทยาลัยต้องสูงขึ้นแน่ และสูงขึ้นอย่างเป็นธรรมแก่คนไทยทั้งหมดด้วย ผมจึงคิดว่าไม่มีประโยชน์ที่จะต่อต้านเรื่องนี้ เพราะไม่มีใครเอาด้วย
ประการ ต่อมาคือเรื่องการบริหารและงบประมาณอย่างที่การเคลื่อนไหวครั้งแรกได้พูดมา แล้ว แต่ครั้งนี้เน้นเรื่องความ "คล่องตัว" ในการบริหาร ซึ่งผมไม่รู้ว่าแปลว่าอะไร ที่สำคัญกว่านั้นก็คือความ "คล่องตัว" ที่ต้องการนั้นจะทำให้คุณภาพของมหาวิทยาลัยดีขึ้นได้อย่างไร ตรงนี้ไม่ค่อยชัดนัก (อย่างน้อยแก่ผม)
ประการต่อมาคือ เปิดโอกาสให้มหาวิทยาลัยหารายได้จากแหล่งต่างๆ ตามความสามารถ ในตอนที่ผลักดันกันนั้นไม่ได้พูดถึงหารายได้จากสมบัติเก่าที่มีอยู่แล้ว เช่นหอประชุมหรือห้องสมุด แต่พูดถึงงานวิจัย, สิทธิบัตร, การอบรม ฯลฯ เป็นสำคัญ (ระเบียบราชการกำหนดว่า รายได้ที่มหาวิทยาลัยหาได้ต้องส่งคืนคลัง จะเก็บไว้ใช้เองไม่ได้)
ผมคิดว่า ส่วนใหญ่ของเหตุผลเหล่านี้ที่มีผู้เสนอทั้งในการเคลื่อนไหวครั้งแรกและครั้ง ที่สองนี้ ต้องยอมรับ แต่เมื่อยอมรับแล้วควรจะออกนอกระบบหรืออยู่ในระบบต่อไป เป็นอีกเรื่องหนึ่ง ที่เป็นอยู่เวลานี้ก็คือ ทำให้มหาวิทยาลัยเป็นหน่วยราชการอีกชนิดหนึ่งซึ่งมีอิสระจะทำอะไรได้มากกว่า หน่วยราชการทั่วไป โดยมี พ.ร.บ.ของแต่ละมหาวิทยาลัยกำหนดไว้ เรียกว่ามหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ แต่เท่าที่ผมสังเกต พื้นฐานความเป็นราชการก็ยังอยู่อย่างเหนียวแน่นเหมือนเดิม เพราะวัฒนธรรมราชการของเราไม่ได้เกิดขึ้นลอยๆ แต่ตั้งอยู่บนฐานวัฒนธรรมกระฎุมพีไทยนั่นเอง พ.ร.บ.ฉบับเดียวจะมารื้อทำลายฐานทางวัฒนธรรมได้อย่างไร
อย่างไรก็ตาม ดูเหมือนผู้บริหารประเทศได้เลือกไปแล้วที่จะให้มหาวิทยาลัยออกนอกระบบ เป็นมหาวิทยาลัยใน "กำกับ" ของรัฐ ถ้าจะต่อต้านก็ทำได้นะครับ แต่ต้องเข้าใจว่าเรื่องใหญ่มาก เพราะต้องไปรื้ออะไรอีกหลายอย่างในระบบราชการ อันอาจกระทบต่อข้าราชการอีกจำนวนมาก ย่อมสำเร็จได้ยาก
น่าจะกลับ มาคิดมากกว่าว่า ในสภาวะ "นอกระบบ" นี้ จะทำให้มหาวิทยาลัยมีประโยชน์ต่อสังคมยิ่งขึ้นได้อย่างไร ทำให้นักการเมืองเห็นว่า หากเขาไปแก้ไขปรับปรุงร่าง พ.ร.บ.มหาวิทยาลัยในขั้นกรรมาธิการ เขาจะได้รับการสนับสนุนจากผู้เลือกตั้ง
ใน เรื่องความเป็นธรรมในการจัดการศึกษา นักศึกษามักแสดงความห่วงใยว่า คนจนจะไม่มีโอกาสเข้าเรียนมหาวิทยาลัย ถ้าเป็นความห่วงใยคนจนจริง ก็ควรผลักดันให้กำหนดอย่างแน่ชัดลงไปใน พ.ร.บ.ว่า มหาวิทยาลัยจะต้องจัดสรรกี่เปอร์เซ็นต์ของรายได้ เป็นทุนการศึกษา หรือช่วยเหลือนักเรียนที่ขาดแคลนด้านการเงินด้วยวิธีอื่นๆ ในขณะเดียวกันนักศึกษาควรสำนึกด้วยว่า ไม่ว่าค่าเล่าเรียนจะถูกหรือแพง คนจนก็ถูกกีดกันจากการศึกษาระดับมหาวิทยาลัยอยู่แล้ว เพราะระบบการสอบคัดเลือกที่ใช้อยู่จะต้องปรับเปลี่ยนอย่างไร จึงจะเปิดโอกาสให้ลูกคนจนได้เข้ามหาวิทยาลัยปิดบ้าง เป็นอีกเรื่องที่ต้องคิด และศึกษาเปรียบเทียบกับมหาวิทยาลัยในต่างประเทศ
การ หาคนเก่งมาทำงานในมหาวิทยาลัย เท่าที่ผ่านมาไม่ประสบความสำเร็จชัดเจนนัก รายได้ของอาจารย์มหาวิทยาลัยเพิ่มขึ้นกว่าข้าราชการทั่วไปเล็กน้อยเท่านั้น ที่เพิ่มอย่างเห็นหน้าเห็นหลังก็คือรายได้ของผู้บริหาร ซึ่งเอาเข้าจริงก็คือคนหน้าเก่าในมหาวิทยาลัย เงินเดือนที่สูงลิบไม่สามารถชักจูงให้นักบริหารเก่งๆ เข้ามาเป็นผู้บริหารมหาวิทยาลัยได้ อันที่จริงนักบริหารที่เก่งอย่างเดียวไม่พอ ยังต้องเป็นผู้ใส่ใจการอุดมศึกษาด้วย คนที่มีทั้งสองอย่างนี้มีน้อย ระบบบริหารมหาวิทยาลัยแม้แต่ออกนอกระบบแล้ว ก็ไม่ท้าทายคนเก่งเพียงพอ ส่วนใหญ่ก็เป็นการทำงานรูทีนที่น่าเบื่อหน่ายเหมือนเดิม
แต่ผู้ผลัก ดันมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ ไปเชื่อว่าเงินอย่างเดียวแก้ปัญหาได้หมด จึงไม่ได้คิดอะไรในการดึงคนเก่งมากไปกว่ารายได้ คนเก่งจำนวนมากจึงเลือกที่จะไม่มาเหี่ยวตายในมหาวิทยาลัย
ฉะนั้น นักศึกษาควรผลักดันให้นักการเมืองแก้ร่าง พ.ร.บ.ให้การจ่ายค่าตอบแทนมีความยืดหยุ่นกว่านี้ เฉพาะคนเก่งที่ใส่ใจกับงานวิชาการหรือบริหารมหาวิทยาลัยเท่านั้นที่จะได้ค่า ตอบแทนสูง จะต้องมีกระบวนการประเมินคนที่รัดกุมกว่าที่เป็นอยู่ โดยเฉพาะตอนรับเข้าทำงาน
เมื่อนักศึกษากลายเป็น "ลูกค้า" ของมหาวิทยาลัยเต็มตัวไปเช่นนี้ ลูกค้าต้องมีอำนาจตรวจสอบคุณภาพของสินค้าและบริการ ตลอดจนมีอำนาจในการกำกับควบคุมการขายบริการระดับหนึ่ง อำนาจในการกำกับควบคุมนี้แบ่งออกได้เป็นสองอย่าง คือกำกับควบคุมระดับนโยบายอย่างหนึ่ง และระดับบริหารอีกส่วนหนึ่ง
ฉะนั้น ถ้าว่าตามโครงสร้างที่เป็นอยู่ ตัวแทนนักศึกษาต้องได้เป็นกรรมการสภามหาวิทยาลัย และเป็นสมาชิกของที่ประชุมคณบดี ส่วนองค์กรทั้งสองนี้ควรถูกปรับปรุงแก้ไขอย่างไร จึงจะไม่เป็นเพียงตรายางที่ฝ่ายบริหารเลือกมา นั่นเป็นอีกเรื่องหนึ่งที่ควรคิดและศึกษาเปรียบเทียบให้ดี
โดย สรุปก็คือ ในทางการเมือง การต่อสู้ถ่วงดุลมหาวิทยาลัยออกนอกระบบ คือการหาพวก ฉะนั้นจึงไม่อาจทำได้ด้วยการยกเหตุผลความเดือดร้อนของตนฝ่ายเดียว เพราะคนอื่นย่อมไม่เอาด้วย แต่ต้องทำให้ประเด็นการต่อสู้เป็นปัญหาของสังคมโดยรวม แน่นอนว่า หากนักศึกษามีใจคิดเห็นอย่างนั้นอย่างจริงใจ ก็ยิ่งจะมีพลังมากกว่าการเคลื่อนไหวด้วยกโลบายทางการเมือง
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1365393695&grpid=&catid=02&subcatid=0207
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น