ประชาธิปไตยแท้
มีคำกล่าวอันลือลั่นของของ เจมส์ คอนนอลลี่
(James Connolly)นักสงคมนิยมไอร์แลนด์ ว่า
“พรุ่งนี้คุณอาจสามารถขับไล่ทหารอังกฤษออกจากไอร์แลนด์
แล้วชักธงเขียวไว้เหนือปราสาทดับลิน” แต่ทว่า
“ประเทศอังกฤษจะยังคงปกครองคุณ ผ่านบรรดานายทุน เจ้าของที่ดิน นักการคลัง
รวมทั้งการบริหารจัดการธุรกิจอย่างเป็นระบบ และสถาบันปัจเจกต่างๆ
ที่วางรากฐานเอาไว้แล้วในประเทศนี้”
โดย จอห์น โมลิเนคซ์ แปลโดย อุษา แสงจันทร์
Real Democracy by John Molyneux
ที่มา http://www.swp.ie/content/can-we-get-real-democracy
เสียงร้องหา “ประชาธิปไตยที่แท้จริงเดี๋ยวนี้!!” เป็นเรื่องสำคัญ และยังมีคำขวัญที่ใช้กันบ่อยคือ “พวกเค้าไม่ได้เป็นตัวแทนของพวกเรา!” นี่เป็นความเคลื่อนไหวของกลุ่มผู้โกรธแค้น ที่รวมตัวกันกลางจัตุรัสเมืองต่างๆในประเทศสเปน ช่วงฤดูร้อนปี 2011 สิ่งนี้ได้เปลี่ยนรูปแบบของเมืองสเปนไปแล้ว พวกเขาตั้งคำถามเรื่องของประชาธิปไตย เรียกร้องประชาธิปไตย “ที่แท้จริง” ซึ่งกลายเป็นประเด็นหลักในการเคลื่อนไหวของมวลชนหลายปีที่ผ่านมา
และประเด็นเดียวกันนี้ทำให้เกิดความเคลื่อนไหวในสหรัฐและที่อื่นๆ เช่น การเคลื่อนไหวประท้วงในบัลแกเรีย ทำให้รัฐบาลฝ่ายขวาของ โบอิโก โบริหอฟ (Boiko Borisov) ต้องพ่ายแพ้ สังเวยการขึ้นราคาค่าไฟฟ้าอย่างมหาศาล การร้องหาประชาธิปไตยทางตรง ควบคู่ไปกับการโจมตีรัฐบาลโกงกิน เป็นนโยบายหลักของ “การเคลื่อนไหวห้าดาว 5-Star Movement” นำโดยนักแสดงตลก เบ็บเป้ กิลโล (Beppe Grillo) สามารถเพิ่มคะแนนเสียงเป็น 25% ในการเลือกตั้งในประเทศอิตาลี
ขณะเดียวกันในเดือนพฤศจิกายนปีที่แล้ว มีพรรคการเมืองเกิดใหม่ในประเทศไอร์แลนด์ ชื่อ ประชาธิปไตยทางตรงไอร์แลนด์ Direct Democracy Ireland (DDI) เวบไซต์ของพวกเขาให้คำนิยามประชาธิปไตยทางตรงว่าเป็นรูปแบบหนึ่งของการ ปกครองในระบอบประชาธิปไตย ซึ่งประชาชนมีสิทธิ ดังต่อไปนี้ :
ที่มา http://www.swp.ie/content/can-we-get-real-democracy
เสียงร้องหา “ประชาธิปไตยที่แท้จริงเดี๋ยวนี้!!” เป็นเรื่องสำคัญ และยังมีคำขวัญที่ใช้กันบ่อยคือ “พวกเค้าไม่ได้เป็นตัวแทนของพวกเรา!” นี่เป็นความเคลื่อนไหวของกลุ่มผู้โกรธแค้น ที่รวมตัวกันกลางจัตุรัสเมืองต่างๆในประเทศสเปน ช่วงฤดูร้อนปี 2011 สิ่งนี้ได้เปลี่ยนรูปแบบของเมืองสเปนไปแล้ว พวกเขาตั้งคำถามเรื่องของประชาธิปไตย เรียกร้องประชาธิปไตย “ที่แท้จริง” ซึ่งกลายเป็นประเด็นหลักในการเคลื่อนไหวของมวลชนหลายปีที่ผ่านมา
และประเด็นเดียวกันนี้ทำให้เกิดความเคลื่อนไหวในสหรัฐและที่อื่นๆ เช่น การเคลื่อนไหวประท้วงในบัลแกเรีย ทำให้รัฐบาลฝ่ายขวาของ โบอิโก โบริหอฟ (Boiko Borisov) ต้องพ่ายแพ้ สังเวยการขึ้นราคาค่าไฟฟ้าอย่างมหาศาล การร้องหาประชาธิปไตยทางตรง ควบคู่ไปกับการโจมตีรัฐบาลโกงกิน เป็นนโยบายหลักของ “การเคลื่อนไหวห้าดาว 5-Star Movement” นำโดยนักแสดงตลก เบ็บเป้ กิลโล (Beppe Grillo) สามารถเพิ่มคะแนนเสียงเป็น 25% ในการเลือกตั้งในประเทศอิตาลี
ขณะเดียวกันในเดือนพฤศจิกายนปีที่แล้ว มีพรรคการเมืองเกิดใหม่ในประเทศไอร์แลนด์ ชื่อ ประชาธิปไตยทางตรงไอร์แลนด์ Direct Democracy Ireland (DDI) เวบไซต์ของพวกเขาให้คำนิยามประชาธิปไตยทางตรงว่าเป็นรูปแบบหนึ่งของการ ปกครองในระบอบประชาธิปไตย ซึ่งประชาชนมีสิทธิ ดังต่อไปนี้ :
1.สามารถเลือกผู้สมัครของตนเองเพื่อเป็นตัวแทน
2.เรียกร้องให้มีการลงประชามติ ในประเด็นใดก็ตามที่มีจำนวนประชาชนเห็นว่ามีความจำเป็นโดยการรวบรวมลายเซ็นจำนวนหนึ่ง
3.ออกกฎหมาย และทำประชาพิจารณ์ หากมีจำนวนประชาชนจำนวนหนึ่งเห็นด้วย โดยการรวบรวมลายเซ็นจำนวนหนึ่ง
4สำหรับผู้แทนคนใดก็ตามที่ทำผิดสัญญา ให้ไล่ออก
ความคิดเหล่านี้กำลังอยู่ในความนิยม ทำให้คนจำนวนมากเห็นด้วยและจะทำให้มีการสนับสนุนที่สำคัญตามมา ความจริงมีอยู่ว่าทั้งสองพรรคหลักในไอร์แลนด์ อย่างพรรคเฟียนนาเฟล (Fianna Fail) และพรรคไฟน์เกล (Fine Gael) เดิมล้วนมีอิทธิพลอยู่เหนือชีวิตด้านการเมืองของชาวไอริช นับแต่การสถาปนารัฐ แต่ในปัจจุบันจากผลคะแนนการออกเสียงเลือกตั้ง เมื่อเอาทั้งสองพรรคมารวมกัน ยังน้อยกว่า 50% เพราะห้าปีหลังจากได้รับเงินช่วยเหลือจากธนาคาร การตัดสวัสดิการและการฉ้อโกงและปัญหาการเมืองน้ำเน่าทำให้ประชาชนโกรธแค้น
การทรยศหักหลังชนชั้นคนทำงานอย่างมโหฬาร โดยพรรคแรงงานและพรรคที่เป็นพันธมิตร รวมถึงเหล่าผู้นำสหภาพแรงงาน ทำให้คนทำงานจำนวนมากรู้สึกถูกหลอกอย่างแรง การต่อสู้จากชนชั้นแรงงานอย่างเป็นรูปธรรมแม้จะยังไม่เกิดขึ้น เพราะผู้คนจำนวนมาก กำลังรอฟัง “สิ่งใหม่ๆ ท้าทายเรานักสังคมนิยมทั้งหลายว่าจะตอบรับพัฒนาการแบบนี้อย่างไร?
ก่อนอื่น เราก็ต้องต้อนรับความคิด เรื่องประชาธิปไตยแท้นี้เนื่องจากเรายอมรับประชาธิปไตยทางตรง (Direct Democracy) ซึ่งประชาชนพลเมืองมีสิทธิโดยตรงในการปกครองหรือการวินิจฉัย ตัดสินปัญหาของประเทศ ทั้งชาวสังคมนิยมและชาวมาร์คซิสต์ ได้วิพากษ์วิจารณ์สิ่งที่เรียกกันว่า “ประชาธิปไตยตัวแทน” และระบบรัฐสภาทุนนิยมมาตั้งแต่สมัยคอมมูนปารีส Paris Commune ในปี 1871 ซึ่งเป็นเหตุการณ์ที่ไม่ธรรมดา แต่น้อยคนจะรู้เห็นเพราะเป็นการบันทึกไว้ในหนังสือประวัติศาสตร์ มันเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับการลุกฮือของชาวปารีส และรวบอำนาจการปกครองประเทศไว้ถึงสองเดือนครึ่ง จากนั้นพวกเขาถูกสยบอย่างโหดเหี้ยมและรุนแรง ด้วยการร่วมมือของทหารฝรั่งเศสและเยอรมัน นี่เป็นตัวอย่างนำร่องของประชาธิปไตยทางตรงที่มีระบบผู้แทน
• คำวิจารณ์ของมาร์คซ์ในช่วงนั้นมีดังนี้
ประชาคม (Paris Commune ในปี 1871) ประกอบด้วย สมาชิกสภาเทศบาล เลือกขึ้นมาโดยการออกเสียงเลือกตั้งทั่วไป จากเขตเลือกตั้งต่างๆ ของเมือง มีความรับผิดขอบ และยกเลิกเพิกถอนได้ในระยะสั้น ผู้แทนทุกคนต้องได้รับเงินเดือนในระดับเฉลี่ยของคนงานทั่วไป
… ผลประโยชน์จากการเป็นตัวแทนสำหรับบุคคลที่มีตำแหน่งสูงหายไป
… Commune ต้องการล้างการบีบคั้นโดยพลังทางจิตวิญญาณ ของ “อำนาจบาทหลวง” โดยริบเงินสนับสนุน และเลิกให้การรับรองโดยรัฐ พระทุกรูปถูกส่งกลับไปให้ใช้ชีวิตเรียบง่าย จากเงินบริจาคของผู้ศรัทธา ตามแนวทางของผู้เผยแพร่ศาสนาคริสต์รุ่นแรก
สถาบันการศึกษาทั้งหมดเปิดรับประชาชนให้เรียนฟรีและในขณะเดียวกัน ทั้งโบสถ์ และรัฐต้องไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยว
• พวกเราในประเทศไอร์แลนด์ทุกวันนี้สามารถเรียนรู้จาก Paris Commune เมื่อ 142 ปีมาแล้วได้สักแค่ไหน?
นักวิจารณ์ชาวสังคมนิยมกล่าวถึงประชาธิปไตยรัฐสภาที่มีอยู่ในไอร์แลนด์ ยุโรป อเมริกาเหนือ รวมทั้งในที่อื่นๆ โดยเน้นประเด็นต่างๆ ดังนี้
1.ตัวแทนที่ได้รับเลือก เป็นพวกที่ไม่รับผิดชอบต่อผู้คนที่เลือกพวกเขาเข้ามา และเป็นพวกที่ผู้เลือกตั้งไม่สามารถตรวจสอบได้ ยกเว้นในทุกๆ ห้าปี ที่ความเสียหายได้เกิดขึ้นแล้ว ระบบนี้ทำให้เกิดการผิดสัญญา การโกงกิน
2.เรื่องที่ทำให้เชื่อใจกันไม่ได้แบบนี้ มาจากความจริงที่ว่าพวกเราออกเสียงกัน ทุกๆ สี่หรือห้าปี โดยการเป็นปัจเจกบุคคลที่มีความสำคัญน้อยที่สุด เราไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มใด ไม่ได้อยู่บนพื้นฐานของการอภิปรายกลุ่มใด ผลก็คือ ผู้ลงคะแนนรู้สึกว่าตนเองไร้อำนาจ และอ่อนแอมากต่ออิทธิพลของสื่อ ซึ่งก็คือสื่อที่เหล่ามหาเศรษฐีเข้ามาควบคุม ในช่วงเลือกตั้งพวกเขาจะไม่ออกมาแสดงตัวว่า ผู้แทนคนนั้นๆอยู่ในสังกัดของตนเอง ต่างกับชาวสังคมนิยมที่ชอบการออกเสียงตามที่ชุมนุม ที่พวกเขาสามารถอภิปราย หรือแลกเปลี่ยนความเห็นกันได้ต่อหน้าต่อตาแทนการใช้สื่อ
3.รัฐสภา (และสภาท้องถิ่น) เป็นเพียงส่วนหนึ่ง แต่กลไกรัฐในส่วนอื่นๆ อย่างเช่น ระบบราชการ ระบบศาล ทหาร ตำรวจ ต่างก็ไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง นี่หรือประชาธิปไตย?? มันไม่ใช่เลย
4.สิ่งสำคัญที่สุดคืออำนาจแท้จริงในสังคมไม่ได้อยู่ในรัฐสภา อำนาจแท้จริงอยู่ที่ธนาคาร และบรรษัทที่ควบคุม ความร่ำรวย ควบคุมการคลัง และผลผลิตของสังคม พวกนี้ก็เหมือนทหารและตำรวจ นั่นคือ นายทุนที่ควบคุมสถาบันเหล่านี้ไม่ได้ขึ้นอยู่กับการเลือกตั้งใดๆ และไม่สามารถเรียกตัวมาคุยกันได้
มีคำกล่าวอันลือลั่นของของ เจมส์ คอนนอลลี่ (James Connolly)นักสงคมนิยมไอร์แลนด์ ว่า “พรุ่งนี้คุณอาจสามารถขับไล่ทหารอังกฤษออกจากไอร์แลนด์ แล้วชักธงเขียวไว้เหนือปราสาทดับลิน” แต่ทว่า “ประเทศอังกฤษจะยังคงปกครองคุณ ผ่านบรรดานายทุน เจ้าของที่ดิน นักการคลัง รวมทั้งการบริหารจัดการธุรกิจอย่างเป็นระบบ และสถาบันปัจเจกต่างๆ ที่วางรากฐานเอาไว้แล้วในประเทศนี้” ไม่ว่าเราจะชักธงเขียวหรือธงแดง เหนือรัฐสภา ทว่าพวกนายทุนก็จะยังปกครองพวกเราอยู่ดี โดยผ่านการควบคุมเงินทุน และผลผลิตของพวกเขา
ข้อเสนอต่างๆ ที่จะทำให้ผู้แทนในสภามีความรับผิดชอบ และเปิดทางให้มีการลงประชามติในประเด็นที่ประชาชนคิดว่าจำเป็นอย่างมาก คือการก้าวไปสู่ทิศทางที่ถูกต้อง ควรได้รับการสนับสนุน แต่ก็ไปไม่ได้ไกลพอ เพราะไม่ได้จัดการแก้ปัญหาพื้นฐานที่ไม่เป็นประชาธิปไตย โดยเฉพาะกับบรรดาธุรกิจใหญ่ๆ ธนาคาร และบรรษัท ตัวการพวกนี้ CEO และบรรดาผู้มีอำนาจในการตัดสินใจ เป็นผู้ที่ประชาชนไม่สามารถเรียกตัวมาคุยได้เช่นกัน หากปราศจากการขับเคลื่อนของชนชั้นคนงาน โดยล้มเลิกซึ่งระบอบกรรมสิทธิ์เอกชน ก็อย่าหวังจะเห็นประชาธิปไตย
สมาชิกประชาธิปไตยทางตรงไอร์แลนด์ DDI เตรียมตัวที่จะไปไกลได้ขนาดไหนในทิศทางนี้ ก็ยังเป็นเรื่องที่ต้องคอยดูกันต่อไป แต่จากความจริงที่ว่า ผู้ก่อตั้งของพวกเขาคือ เรย์มอนด์ ไวท์เฮด (Raymond Whitehead) ซึ่งเป็น เจ้าของไนท์คลับและภัตตาคาร พ่อค้าโบราณวัตถุ และครูของสำนัก “Transcendental Meditation and The Science of Creative Intelligence” กับความจริงที่ว่าผู้นำของพวกเขา เบน กิลรอย (Ben Gilroy) เป็นสมาชิกสมาคมลับของอภิสิทธิ์ชน แค่นี้ก็ส่อให้เห็นว่าเกิดปัญหาแน่นอน
สิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่งในการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยแท้คือ การขับเคลื่อนของมวลชนจากล่างสู่บน ซึ่งมีส่วนสำคัญมากจากคนงานจัดตั้ง “อำนาจที่แท้จริงของประชาชน” ไม่อาจเป็นไปได้ในระบบทุนนิยม เนื่องจากระบบเศรษฐกิจและการเมือง โดยตัวของมันเองเป็นการปกครองคนส่วนใหญ่โดยคนส่วนน้อย
--------------------------
หมายเหตุเพิ่มเติม
Karl Marx, The Civil War in France, http://www.marxists.org/archive/marx/works/1871/civil-war-france/ch05.htm
สำหรับภาษาไทย ดูหนังสือ “อะไรนะลัทธิมาร์คซ์ เล่ม1” เรื่องคอมมูนปารีส หน้า 76-80. ใจ อึ๊งภากรณ์บรรณาธิการ ชมรมหนังสือประชาธิปไตยแรงงาน ๒๕๔๒
(ที่มา)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น