หน้าเว็บ

วันอังคารที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2556

2 สภาลุย"แก้รธน."ที่มาส.ว. "ปชป.-40ส.ว."งัดเกม"ต้าน"

2 สภาลุย"แก้รธน."ที่มาส.ว. "ปชป.-40ส.ว."งัดเกม"ต้าน"


 
ปชป ป่วนสภาสมศักดิ์ งัดค้อนทุบสนั่น ก่อนเรียก ตร หิ้วสส ปชป ออกจากห้อง
https://www.youtube.com/watch?feature=player_embedded&v=2LZHcozeBwA
 

ดีกรี "การเมืองร้อน" ใน "สภา" ยังไม่มีท่าทีจะยุติแต่อย่างใด ภายหลัง "สภาผู้แทนราษฎร" ยังไม่สามารถผลักดัน ร่าง พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายงบประมาณประจำปี พ.ศ.2557 ให้เสร็จทันตามกรอบเวลาเดิมที่กำหนดไว้ได้

เมื่อ สมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ ประธานรัฐสภา ได้มีหนังสือด่วนที่สุด ลงวันที่ 16 สิงหาคมถึงสมาชิกรัฐสภา เรื่องเพิ่มเติมระเบียบวาระการประชุมร่วมกันของรัฐสภา ครั้งที่ 1 สมัยสามัญทั่วไป ในวันที่ 20 สิงหาคม

หลังจากก่อนหน้านี้ "ประธานรัฐสภา" บรรจุร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ...) พุทธศักราช ... (แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 111 มาตรา 112 มาตรา 115 มาตรา 116 วรรคสอง มาตรา 117 มาตรา 118 ฯลฯ) หรือฉบับที่มาของส.ว.

พร้อม กับมีคำสั่งใหม่เพิ่มเติมให้พิจารณาระเบียบวาระ ร่างรัฐธรรมนูญ แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่...) พุทธศักราช... (แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 190) และพิจารณาระเบียบวาระร่างรัฐธรรมนูญ แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่..) พุทธศักราช ... (แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 68 และมาตรา 237)

โดย 3 ร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติม เป็นการพิจารณาภายหลัง "คณะกรรมาธิการ" มีการพิจารณาเสร็จแล้ว

คำ ยืนยันจาก "คณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎร" (วิปรัฐบาล) รวมทั้งคำยืนยันของ นิคม ไวยรัชพานิช ประธานวุฒิสภา ในฐานะรองประธานรัฐสภา ระบุตรงกันว่าจะมีการพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติม เพียงร่างเดียวเท่านั้น คือ ฉบับที่มาของ ส.ว.

เนื่องด้วย ส.ว.เลือกตั้งชุดปัจจุบันใกล้จะหมดวาระลงในวันที่ 2 มีนาคม 2557

"รัฐบาล" และ "ส.ว.สายเลือกตั้ง" จึงร่วมกันดัน "ร่างรัฐธรรมนูญ" ฉบับที่มาของ ส.ว. จำนวน 13 มาตราเข้าสู่ "รัฐสภา" เป็นร่างแรกก่อน

คณะ กรรมาธิการ (กมธ.) พิจารณาร่างรัฐธรรมนูญ แก้ไขเพิ่มเติม ฉบับที่มาของ ส.ว. ซึ่งมี สามารถ แก้วมีชัย ส.ส.เชียงราย พรรคเพื่อไทย (พท.) เป็นประธาน วางปฏิทินการพิจารณาจะต้องผ่านวาระที่สามให้ได้ภายในกลางเดือนกันยายนนี้

จาก นั้นจะเข้าสู่ขั้นตอนการยกร่าง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส.และ ส.ว. ในระยะเวลา 120 วันหรืออีก 4 เดือนนับจากนั้น

โดยคาด การณ์ว่า กระบวนการยกร่างกฎหมายสูงสุดและกฎหมายลูกทั้งหมดจะเสร็จสิ้นอย่างช้าภายใน เดือนมกราคม 2557 ก่อน "ส.ว." สายเลือกตั้ง ชุดปัจจุบันจะครบวาระในอีก 2 เดือนหลังจากนั้น

เมื่อเปิดบทบัญญัติทั้ง 13 มาตราของร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติม ที่มาของ ส.ว. ที่จะเข้าสู่ที่ประชุมร่วมสองสภา พบว่ามีหลักการและเหตุผลสำคัญคือ

1.กำหนดให้มี ส.ว.ที่มาจากการเลือกตั้งจำนวน 200 คน

2.ไม่ ห้ามให้ผู้มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้ง ส.ว.จะต้องเป็นสมาชิกพรรคการเมืองย้อนหลังกี่ปี เพียงแต่ต้องไม่เป็นสมาชิกหรือผู้ดำรงตำแหน่งอื่นของพรรรคการเมือง

3.กรณีที่เป็นบุพการี คู่สมรส หรือบุตรของผู้ดำรงตำแหน่ง ส.ส.หรือผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ใช้สิทธิสมัครรับเลือกตั้ง ส.ว.ได้

4.ให้ ส.ว.สรรหาชุดปัจจุบันจำนวน 73 คนยังคงมีสมาชิกภาพต่อไปจนกว่าจะครบวาระตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญก่อนการ แก้ไขเพิ่มเติมโดยรัฐธรรมนูญนี้

ถึงแม้ "คณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมฝ่ายค้าน" (วิปฝ่ายค้าน) ซึ่งนำทัพโดย จุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ จาก "พรรคประชาธิปัตย์" (ปชป.) ประกาศไม่เข้าร่วมสังฆกรรมเรื่องกรอบเวลาในที่ประชุมวิป 3 ฝ่าย

พร้อมนำขุนพล "ปชป." 118 คนที่สงวนคำแปรญัตติเข้าอภิปรายในที่ประชุมร่วมกันของรัฐสภาเต็มอัตราศึก

ขณะ ที่รายงานของ กมธ.พิจารณาร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติม ที่มาของ ส.ว. จำนวน 169 หน้า เพื่อประกอบการพิจารณาในการประชุมร่วมกันของรัฐสภา มีผู้ขอแปรญัตติ 202 คน

โดยปรากฏรายชื่อ 57 สมาชิกรัฐสภาแปรญัตติขัดกับหลักการของร่างรัฐธรรมนูญ แก้ไขเพิ่มเติม ฉบับนี้ ส่วนใหญ่เป็น ส.ส.ปชป. และ "ส.ว" ในกลุ่ม 40 ส.ว.

การ พิจารณาร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมในวาระที่สอง แม้ตามบทบัญญัติมาตรา 291 จะกำหนดให้พิจารณาเรียงลำดับแต่ละมาตรา และให้ถือเสียงข้างมากเป็นสำคัญในการลงมติ

แต่เมื่อเช็กเสียงของ "รัฐบาล" เพียงอย่างเดียวก็มีอยู่ในอัตรา 299 เสียง ผนวกรวมกับเสียงของ ส.ว.เลือกตั้งอีกเกือบ 76 เสียง และ ส.ว.สรรหา บางส่วน ซึ่งน่าจะผ่านด่านเสียงข้างมากในแต่ละมาตราไปได้ไม่อยากเย็นนัก

ทำ ให้เสียงข้างน้อยอย่าง "ปชป." ที่มีเสียงอยู่ในมือ 161 เสียง และ "ส.ว." ในกลุ่ม 40 ส.ว.ซึ่งเป็นสายสรรหาส่วนใหญ่ จะต้องผนึกกำลัง "ยื้อ" และ "ต้าน" การพิจารณาครั้งนี้ให้ถึงที่สุด

การวางเกมของฝ่ายที่คัดค้าน ร่างรัฐธรรมนูญ แก้ไขเพิ่มเติมฉบับนี้ ระหว่างวันที่ 20-21 สิงหาคม อาจได้เห็นภาพการประลองกำลังในเวทีสองสภา

เมื่อหักสมาชิกรัฐสภาจำนวน 57 คนออกไปที่ไม่อาจใช้สิทธิอภิปรายได้ จะทำให้มีสมาชิกรัฐสภาขอแปรญัตติอภิปรายได้เพียง 145 คน

ดัง นั้น "ปชป." และ "40 ส.ว." จะต้องงัดทุก "ยุทธวิธี" ทั้งการใช้สิทธิ สงวนความเห็นและสงวนคำแปรญัตติเพื่อใช้สิทธิตามข้อบังคับการประชุมรัฐสภาใน การขออภิปรายในวาระที่สองให้ยืดเยื้อยาวนาน

โดยเป็นไปเพื่อ "ยับยั้ง" และ "สกัดกั้น" มิให้ "ร่างรัฐธรรมนูญ" แก้ไขเพิ่มเติม ฉบับดังกล่าวเดินไปสู่ขั้นตอนการลงมติในวาระที่สาม

เพราะหากร่างรัฐธรรมนูญ ฉบับนี้มีผลบังคับใช้เมื่อใด อายุของ "ส.ว.สรรหา" ตามรัฐธรรมนูญปัจจุบันก็จะต้องนับถอยหลังทันที

ภาระ ทั้งหมดจึงตกมาอยู่ที่ "ประธาน" ซึ่งทำหน้าที่การประชุมคือ "สมศักดิ์" และ "นิคม" ว่าจะเคร่งครัดตามข้อบังคับการประชุมรัฐสภาได้หรือไม่ เพื่อฝ่าด่าน "แนวต้าน" มิให้การอภิปรายต้องมาราธอนซ้ำรอยดั่งที่ผ่านมา !


(ที่มา)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น