หน้าเว็บ

วันอังคารที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2556

ปฏิรูป การเมือง ปฏิรูป รัฐธรรมนูญ แนวทาง รัฐสภา

ปฏิรูป การเมือง ปฏิรูป รัฐธรรมนูญ แนวทาง รัฐสภา





ต้องยอมรับว่าการตัดสินใจนำเอาร่าง พ.ร.บ.รัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมมาตราว่าด้วยส่วนที่ 3 วุฒิสภามาพิจารณาเป็นการตัดสินใจที่แหลมคม

เมื่อเปรียบเทียบกับร่างแก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 190

เมื่อเปรียบเทียบกับร่างแก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 68 และมาตรา 237

เนื้อหา สำคัญคือการแก้ไขมาตรา 111 จากที่กำหนดให้วุฒิสภาประกอบด้วยสมาชิกจำนวนรวม 150 คน ซึ่งมาจากการเลือกตั้งในแต่ละจังหวัด จังหวัดละ 1 คน และมาจากการสรรหาเท่ากับจำนวนรวมข้างต้นหักด้วยจำนวนวุฒิสภาที่มาจากการ เลือกตั้ง

ให้เหลือแต่เพียงมาจาก "การเลือกตั้ง" ในแต่ละจังหวัด

นั่นก็คือ การถ่ายโอนจากอำนาจของ "คณะกรรมการสรรหา" ตามมาตรา 113 เดิมให้ไปอยู่ในอำนาจของ "ประชาชน"

คือจากคน 7 คน มาเป็นจากคนทั่วประเทศ

เท่า กับนำเอา "เนื้อหา" ของรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2540 ได้ย้อนกลับมาอยู่ในกระบวนการประชาธิปไตยอีกครั้งหนึ่ง เท่ากับทำให้เจตนารมณ์ "ร่วม" ของประชาชนได้ปรากฏเป็นจริงผ่าน "รัฐธรรมนูญ" อีกครั้งหนึ่ง

"หัวใจ" ของ "รัฐธรรมนูญ" อยู่ตรงนี้

ที่ว่าการตัดสินใจของพรรคร่วมรัฐบาลในการนำเอาร่าง พ.ร.บ.รัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมในส่วนที่ 3 ว่าด้วยวุฒิสภามีความแหลมคม

1 เพราะอิงอยู่กับจิตวิญญาณ "ประชาธิปไตย"

หลักการสำคัญของ "ประชาธิปไตย" หากสรุปอย่างเถรตรงตามรูปศัพท์ก็คือ "ประชาชนเป็นใหญ่"

อย่างที่ว่า "ของประชาชน โดยประชาชน เพื่อประชาชน"

ความบกพร่องอย่างมีนัยสำคัญของรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2540 ในส่วนว่าด้วยวุฒิสภาอยู่ตรงที่บั่นทอนอำนาจของประชาชน

เห็นคน 7 คนเป็น "เทวดา"

เป็น แนวความคิดอันแทบไม่แตกต่างไปจากรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2534 ของ รสช.ซึ่งอำนาจอันยิ่งใหญ่อยู่กับ รสช.กระทั่ง พล.อ.สุนทร คงสมพงษ์ กล้ากล่าวว่า

"ถ้าสุไม่เอาก็ให้เต้"

แม้ว่าคน 7 คน ซึ่งได้รับการสถาปนาให้มีอำนาจดั่ง "เทวดา" แต่หากเทียบกับประชาชนทั้งประเทศย่อมมีความแตกต่าง การเรียกคืนอำนาจจากเทวดาทั้ง 7 ให้มาอยู่ในมือของประชาชนอีกครั้งหนึ่งจึงเป็นการตัดสินใจอันชอบ

ชอบด้วยความเคารพ "ประชาชน"


ถึงแม้ว่าการพิจารณาในขั้นกรรมาธิการจะมี ส.ส.และ ส.ว.จำนวนมากถึง 202 เสนอขอแปรญัตติซึ่งจะต้องมีการอภิปรายในวาระ 2 วันที่ 20 สิงหาคม

แต่การอภิปรายก็ต้องอยู่ใน "กรอบ"

1 กรอบอันรัฐธรรมนูญกำหนดอย่างแน่นอนว่าเป็นวาระ 2 อันแตกต่างไปจากวาระ 1 อย่างสิ้นเชิง

นั่นก็คือกรอบแห่งการขอแปรญัตติ

ขณะเดียวกัน 1 กรอบแห่งระเบียบและข้อบังคับของการประชุมสภา โดยเฉพาะข้อ 61 และข้อ 129

นี่คือสิ่งที่วิปทั้ง 3 ฝ่ายจักต้องตกลงกัน

ไม่ว่าจะเป็นวิปพรรคร่วมรัฐบาล ไม่ว่าจะเป็นวิปพรรคร่วมฝ่ายค้าน ไม่ว่าจะเป็นวิปสมาชิกวุฒิสภาต้องมีมติร่วมกัน

ยิ่งกว่านั้น ประธานในที่ประชุมก็จะต้องยึดใน 3 หลักการอย่างแน่วแน่

ไม่ ว่าจะเป็นหลักการอันรัฐธรรมนูญได้บัญญัติ ไม่ว่าจะเป็นหลักการอันข้อบังคับการประชุมได้ตรา ไม่ว่าจะเป็นมติอันวิป 3 ฝ่ายได้เห็นร่วมกัน เพราะหากไม่ยึดกุมทั้งประธาน ทั้งวิปและทั้ง ส.ส.และ ส.ว.เสียแล้วสภาก็ย่อมจะเปลี่ยนสีแปรธาตุ

มิใช่สภา "ผู้ทรงเกียรติ"
การประชุมรัฐสภาอันมี ส.ส.และ ส.ว.ร่วมประชุมเช่นนี้จำเป็นต้องมีการถ่ายทอดสดอยู่แล้ว

การ ถ่ายทอดสดนั่นแหละจะเป็น "เครื่องมือ" อันทรงพลานุภาพในการควบคุมทั้งประธานควบคุมทั้งสมาชิกรัฐสภา ว่าใครดำเนินตามระเบียบ กติกาว่าใครเตะถ่วง เล่นเกมซ้ำซากทุกอย่างอยู่ในสายตา "ประชาชน" 

(ที่มา)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น