หน้าเว็บ

วันเสาร์ที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2556

ราชาธิปไตย คือมายาคติ

ราชาธิปไตย คือมายาคติ



 

ภูฏาน ประเทศในอุดมคติของพี่ๆน้องๆ สลิ่มที่รักหลายๆ ท่าน ในด้านที่เป็นสังคมพอเพียง สังคมราชาธิปไตย ถูกจัดอันดับให้มี GNH (Gross national happiness) ว่าเป็นหนึ่งในประเทศที่มีความสุขมากที่สุดในโลก ... เราจะมาดูข้อมูลเชิงลึกกันว่าจริงๆแล้ว ภูฏาน เป็นประเทศในอุดมคติ ที่มีความสุขมากขนาดนั้นจริงๆหรือไม่?

เรื่องอัตราการตายของเด็กทารก ตามการจัดอันดับ ของ CIA World Factbook ในปี 2013 ภูฏานมีอัตราการตายของทารก 40/1000 คน สูงกว่าประเทศไทยเกือบ 3 เท่าตัว
https://www.cia.gov/library/publications/the-world-factbook/fields/2091.html
 

 
เรื่องคุณภาพชีวิต จากการสำรวจของ nationranking.wordpress.com เมื่อปี 2011 จัดอันดับคุณภาพชีวิตของชาว ภูฏาน อยู่ในอันดับที่ 97 ต่ำกว่า กาน่า ซีเรีย อียิปต์ นามิเบีย (ไทยอันดับ 71)
http://nationranking.files.wordpress.com/2011/03/2011-qli2.png
 


เรื่อง บริการสาธารณสุข ในการจัดอันดับโดย WHO ภูฏานอยู่ในอันดับที่ 124 ต่ำกว่า อิรัก อินเดีย ปากีสถาน ลิเบีย (ไทยอันดับ 47)
http://thepatientfactor.com/canadian-health-care-information/world-health-organizations-ranking-of-the-worlds-health-systems/
 


อัตราการรู้หนังสือของประชากรภูฏานตามการสำรวจของ CIA World Factbook อยู่ที่ 47 percent ไม่ถึงครึ่งประเทศ เปรียบเทียบจากประเทศไทยที่มีอัตราการรู้หนังสือร้อยละ 92
http://en.wikipedia.org/wiki/List_of_countries_by_literacy_rate
 


อย่างที่บอกไป GNH อัตรามวลรวมความสุขประชาชาติที่เคยมีการจัดอันดับของภูฏาน ก็ถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างมาก ถึง indicators หรือตัวแปลที่นำมาจัดอันดับ ที่ให้ความสำคัญกับการไม่ทำลายสิ่งแวดล้อมมากเกินไป เลยทำให้ประเทศที่เทคโนโลยี ยังไม่พัฒนา มีปัญหาสิ่งแวดล้อมยังไม่มากเท่าประเทศอุตสาหกรรม แต่มีปัญหา อาชญากรรม สงครามกลางเมือง ยาเสพติดแบบมหาศาล เช่น ประเทศ โคลัมเบีย ติดอันดับต้นๆไปด้วยแบบดูขัดแย้งกับความเป็นจริง  


จากที่กล่าวไปจะเห็นว่า ชาวบ้านคนธรรมดา ชาวภูฏานที่ถูกหลอกด้วยมายาคติเรื่องความพอเพียง มี อัตราการตายของทารกแรกเกิดสูงมาก คุณภาพชีวิตต่ำ บริการสาธารณสุขแย่ การศึกษา อยู่ในระดับที่คนครึ่งประเทศอ่านหนังสือไม่ออก แต่ขณะเดียวกันชนชั้นนำในประเทศภูฏานกลับส่งลูกหลานมาเรียนโรงเรียนอินเตอร์ในเมืองไทย ส่งพ่อแม่มารักษาโรงพยาบาลเอกชนดีๆในเมืองไทย

และเมื่อเร็วๆนี้การเมืองภายในภูฏานก็เกิดการพลิกผันอย่างรุนแรง สั่นสะเทือนแนวคิดว่า "ด้วยความพอเพียง" ตามการรายงานของ คุณ Pipob Udomittipong ด้านล่างนี้

GNH vs GDP ช่วงหลายปีมานี้ แนวโลกสวยบ้านเรามักขายฝัน “ภูฏาน” ว่าเป็นประเทศ “พอเพียง” ผู้คนยึด “ความสุข” (GNH) เป็นหลักมากกว่า “ความร่ำรวย” (GDP) และตอนที่ภูฏานจัดเลือกตั้งครั้งแรกตามพระดำริของกษัตริย์หนุ่มรูปงามขวัญใจสลิ่มไทยเมื่อปี 2008 ปรากฏว่าพรรค DPT ที่มีกษัตริย์หนุนหลังชนะขาดลอยได้ไป 45 (จาก 47) ที่นั่ง แต่จากการเลือกตั้งล่าสุดเมื่อ ก.ค.ที่ ผ่านมา พรรคฝ่ายค้านเดิมหรือ People's Democratic Party (PDP) พลิกล็อกเป็นฝ่ายชนะครับ ได้ที่นั่งไป 32 ส่วนพรรคกษัตริย์ได้ไปแค่ 15 ที่นั่ง


พรรค PDP มีนายTshering Togbay เป็นหัวหน้าพรรค เขาจบปริญญาโทด้านบริหารธุรกิจจากฮาวาร์ด เขาบอกว่าที่พรรคเขาชนะเลือกตั้ง และเขาได้เป็นนายกฯ คนใหม่แทน เป็นเพราะเขาประกาศว่าจะเลิกใช้แนวทางพัฒนาแบบเศรษฐกิจ “พอเพียง” น่ะสิครับ เขาบอกว่ามันเป็นเพียง “empty slogan” ประเทศเสียเวลาให้กับการแสวงหา “ความสุข” มากเกินไป จนหนี้สินท่วมหัว คนว่างงานกันเยอะแยะไปหมด เขาหวังว่าจะกระตุ้นภาคการท่องเที่ยวให้มากขึ้น และพัฒนาเศรษฐกิจตามแนวทางการสร้าง GDP แบบที่นานาอารยประเทศเขาทำกัน ประชาชนเห็นด้วยกับเขาจึงโหวตเขาเข้ามา

ข่าวนี้ประกาศให้บรรดาโลกสวยได้ทราบกันนะครับ เผื่อจะได้เลือกไป “พอเพียง” ในประเทศอื่นบ้าง (ปล. ข่าวนี้ผมอ่านจากบทความของอ.โกวิท วงศ์สุรวัฒน์ในมติชน แต่เดี๋ยวนี้เขาไม่ปล่อยให้อ่านกันฟรี เลยต้องสรุปความใหม่ก็แล้วกัน)

(ที่มา)
http://thediplomat.com/the-pulse/2013/07/18/bhutan-election-results-a-marker-of-gross-national-unhappiness/

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น