ศาลรัฐธรรมนูญกับมาตรฐานมโนสำนึก
โดย วีรพัฒน์ ปริยวงศ์
เกี่ยวกับผู้เขียน นิติศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด
(รางวัลทุนฟุลไบรท์และวิทยานิพนธ์เกียรตินิยม). นิติศาสตรบัณฑิต
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (เกียรตินิยมอันดับหนึ่ง). โทร. +๓๓ ๖ ๔๘ ๓๑ ๓๘ ๕๕
อีเมล verapat@post.harvard.edu.
หมายเหตุจากผู้เขียน ความเห็นนี้ประกอบขึ้นช่วงข้ามคืนหลังจากศาลรัฐธรรมนูญได้มีคำวินิจฉัย เพื่อเสนอสู่สาธารณะในช่วงวันหยุดยาวอันเป็นเวลามงคล แต่ก็ยังพร่องในความสมบูรณ์และหวังจะได้ปรับปรุงต่อไป หากผู้อ่านมีข้อคิดเห็น คำแนะนำ หรือข้อท้วงติง ขอน้อมรับฟังที่ verapat@post.harvard.edu. ประเด็นบางส่วนในที่นี้เคยนำเสนอแล้วในวิทยานิพนธ์ สืบค้นได้ที่ Google: “Verapat Harvard Paper”. อนึ่ง “มาตรา” และ “กฎหมาย” ที่กล่าวถึงในความเห็นนี้ หากบริบทมิแสดงเป็นอื่นหมายถึง พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. ๒๕๕๐ ซึ่งได้คัดบางส่วนไว้ในภาคผนวกของความเห็นนี้ (สำเนากฎหมายฉบับเต็ม ดูได้ที่เว็บไซต์รัฐสภา http://www.parliament.go.th/mp2550/asset/law_party.pdf) ความเห็นฉบับเต็ม โปรดดูที่ http://sites.google.com/site/verapat/
บทนำ
ศาล รัฐธรรมนูญวินิจฉัยโดยเสียงข้างมากโดยมติ ๔ ต่อ ๒ เสียง ให้ยกคำร้องที่นายทะเบียนพรรคการเมืองขอให้ศาลมีคำสั่งยุบพรรคประชาธิปัตย์ เหตุใช้เงินสนับสนุนพรรคการเมืองไม่เป็นไปตามกฎหมายและรายงานการใช้เงินไม่ ตรงตามความเป็นจริง (“กรณีเงิน ๒๙ ล้านบาท”) โดยศาลให้เหตุผลว่า กระบวนการยื่นคำร้องขอให้ยุบพรรคประชาธิปัตย์ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ในที่นี้ ผู้ทำความเห็นอ้างถึงคำวินิจฉัยกลางอย่างไม่เป็นทางการซึ่งศาลได้เผยแพร่ต่อ ประชาชนเป็นลายลักษณ์อักษร ณ เว็บไซต์ศาลรัฐธรรมนูญ (http://www.constitutionalcourt.or.th/) มีทั้งสิ้น ๑๕ หน้า (ผู้ทำความเห็นได้ย่อไว้เป็นภาคผนวก) ซึ่งมีใจความตรงกับคำวินิจฉัยที่ศาลได้อ่านและสื่อมวลชนได้รายงานต่อประชาชน ไปเมื่อวันที่ ๒๙ พฤศจิกายน ๒๕๕๓ แล้ว ต่อมาในวันที่ ๓๐ พฤศจิกายน ๒๕๕๓ สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญได้เผยแพร่ข่าวที่ ๒๔/๒๕๕๓ โดยอธิบายถึงวิธีการลงมติของตุลาการเสียงข้างมากที่มีความเห็นเป็นสองกลุ่ม แต่มิได้มีการระบุไว้ในคำวินิจฉัยอย่างไม่เป็นทางการ
ด้วยความ อัศจรรย์ใจในการให้เหตุผลแห่งคำวินิจฉัย กอปรกับความความเคารพอย่างแท้จริงต่อกฎหมายรัฐธรรมนูญ ผู้ทำความเห็นน้อมและยอมรับคำวินิจฉัยดังกล่าว อีกด้วยสำนึกในสิทธิและหน้าที่ตามมาตรา ๔๕, ๖๙ และ ๗๐ แห่งรัฐธรรมนูญ จึงได้ทำความเห็น ดังมีประการต่อไปนี้
หมายเหตุจากผู้เขียน ความเห็นนี้ประกอบขึ้นช่วงข้ามคืนหลังจากศาลรัฐธรรมนูญได้มีคำวินิจฉัย เพื่อเสนอสู่สาธารณะในช่วงวันหยุดยาวอันเป็นเวลามงคล แต่ก็ยังพร่องในความสมบูรณ์และหวังจะได้ปรับปรุงต่อไป หากผู้อ่านมีข้อคิดเห็น คำแนะนำ หรือข้อท้วงติง ขอน้อมรับฟังที่ verapat@post.harvard.edu. ประเด็นบางส่วนในที่นี้เคยนำเสนอแล้วในวิทยานิพนธ์ สืบค้นได้ที่ Google: “Verapat Harvard Paper”. อนึ่ง “มาตรา” และ “กฎหมาย” ที่กล่าวถึงในความเห็นนี้ หากบริบทมิแสดงเป็นอื่นหมายถึง พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. ๒๕๕๐ ซึ่งได้คัดบางส่วนไว้ในภาคผนวกของความเห็นนี้ (สำเนากฎหมายฉบับเต็ม ดูได้ที่เว็บไซต์รัฐสภา http://www.parliament.go.th/mp2550/asset/law_party.pdf) ความเห็นฉบับเต็ม โปรดดูที่ http://sites.google.com/site/verapat/
บทนำ
ศาล รัฐธรรมนูญวินิจฉัยโดยเสียงข้างมากโดยมติ ๔ ต่อ ๒ เสียง ให้ยกคำร้องที่นายทะเบียนพรรคการเมืองขอให้ศาลมีคำสั่งยุบพรรคประชาธิปัตย์ เหตุใช้เงินสนับสนุนพรรคการเมืองไม่เป็นไปตามกฎหมายและรายงานการใช้เงินไม่ ตรงตามความเป็นจริง (“กรณีเงิน ๒๙ ล้านบาท”) โดยศาลให้เหตุผลว่า กระบวนการยื่นคำร้องขอให้ยุบพรรคประชาธิปัตย์ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ในที่นี้ ผู้ทำความเห็นอ้างถึงคำวินิจฉัยกลางอย่างไม่เป็นทางการซึ่งศาลได้เผยแพร่ต่อ ประชาชนเป็นลายลักษณ์อักษร ณ เว็บไซต์ศาลรัฐธรรมนูญ (http://www.constitutionalcourt.or.th/) มีทั้งสิ้น ๑๕ หน้า (ผู้ทำความเห็นได้ย่อไว้เป็นภาคผนวก) ซึ่งมีใจความตรงกับคำวินิจฉัยที่ศาลได้อ่านและสื่อมวลชนได้รายงานต่อประชาชน ไปเมื่อวันที่ ๒๙ พฤศจิกายน ๒๕๕๓ แล้ว ต่อมาในวันที่ ๓๐ พฤศจิกายน ๒๕๕๓ สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญได้เผยแพร่ข่าวที่ ๒๔/๒๕๕๓ โดยอธิบายถึงวิธีการลงมติของตุลาการเสียงข้างมากที่มีความเห็นเป็นสองกลุ่ม แต่มิได้มีการระบุไว้ในคำวินิจฉัยอย่างไม่เป็นทางการ
ด้วยความ อัศจรรย์ใจในการให้เหตุผลแห่งคำวินิจฉัย กอปรกับความความเคารพอย่างแท้จริงต่อกฎหมายรัฐธรรมนูญ ผู้ทำความเห็นน้อมและยอมรับคำวินิจฉัยดังกล่าว อีกด้วยสำนึกในสิทธิและหน้าที่ตามมาตรา ๔๕, ๖๙ และ ๗๐ แห่งรัฐธรรมนูญ จึงได้ทำความเห็น ดังมีประการต่อไปนี้
(อ่านต่อ)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น