หน้าเว็บ

วันอาทิตย์ที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2556

“หมอเทวดา”

“หมอเทวดา”

 

 
ชมรมแพทย์ชนบท - Chum Phae, Thailand
 
ชมรมแพทย์ชนบท


รถพยาบาล กว่าหลายร้อยคัน พร้อมด้วย คณะเเพทย์และคณะพยาบาล ได้จัดแถวเพื่อแบ่งสาย ในการร่วมดูแลมวลมหาประชาชน
 
โดย อนุสรณ์ อุณโณ
 
ผมชอบมีปัญหากับหมอมาตั้งแต่เด็ก จำได้ว่าตอนอยู่ ป.1 ผมเคยโวยวายลั่นโรงพยาบาลคลองท่อมเพราะหมอไม่ยอมมาเข้าเวรเสียทีทั้งที่บ้าน พักก็อยู่ในโรงพยาบาล ปล่อยให้ผมต้องทนอยู่กับพิษงูอยู่นานเป็นชั่วโมง พอรู้ความขึ้นมาหน่อยผมไม่เข้าใจว่าทำไมโรงพยาบาลถึงมีแต่คนพูดมะนาวไม่มี น้ำ และทำไมแต่ละคนถึงดูเคร่งขรึมน่ากลัวก็ไม่รู้ กระทั่งพอถึงวัยที่เริ่มคิดเรื่องความเป็นธรรม ผมชักสงสัยว่าที่ถูกพูดกรอกหูมาตั้งแต่เด็กว่าหมอเป็นอาชีพที่เสียสละหรือ ว่าอุทิศตนมันจริงสักแค่ไหน เพราะหากเปรียบเทียบระหว่างค่าตอบแทนกับเรี่ยวแรงและเวลาที่หมอลงไปก็ไม่น่า จะใช่ หรือถ้าจะอ้างเรื่องของการฝึกฝนและความเชี่ยวชาญก็เป็นตรรกะของระบบทุน มากกว่า ไม่ใช่เรื่องของการใจบุญสุนทานอะไร และต่อให้หมอคนไหนเกิดอยากลดค่าบริการทางการแพทย์ของตัวเองลงมา พวกเขาก็ไม่ควรได้รับการยกย่องเชิดชูมากกว่าคนอาชีพอื่นที่ทำในสิ่งเดียวกัน


แต่เพราะสังคมไทยไม่ได้สร้างขึ้นบนการตั้งคำถามเท่ากับการชี้นิ้วสั่งสอน สถานะของหมอจึงไม่เคยถูกท้าทาย แต่กลายเป็นว่าหมอทำอะไรก็ถูกต้องดีงามไปเสียหมดราวกับเป็นเทวดา หรือพูดอีกอย่างหนึ่งก็คือว่า หมอในสังคมไทยประสบความสำเร็จในการแปลง “ทุนทางวัฒนธรรม” จำพวกความรู้ที่พวกเขาสั่งสมมาไปเป็น “ทุน” ประเภทอื่นนับตั้งแต่เงินทอง ชื่อเสียง ความนับหน้าถือตา และโดยเฉพาะอย่างยิ่งคือ “ทุนทางสังคม” จำพวกเครือข่าย เพราะว่าคนที่ได้ดิบได้ดีหรือว่าเป็นใหญ่เป็นโตในองค์กรตระกูล “ส” ทั้งหลายล้วนแต่อยู่ในเครือข่าย “หมอเทวดา” ทั้งนั้น คงไม่มีประเทศใดในโลกนี้ที่หมอจะปรีดิ์เปรมเกษมสันต์กันขนาดนี้

ขณะเดียวกัน “หมอเทวดา” พวกนี้ก็มักใช้อำนาจไปไกลเกินกว่าที่วิชาความรู้ตัวเองมอบให้ พวกเขาเคยชินกับการวินิจฉัยโรคและการสั่งยาโดยไม่มีคนไข้คนไหนทักท้วง ก็เลยได้ใจพากันวินิจฉัยปัญหาบ้านเมืองพร้อมกับสั่งยาให้คนโน้นคนนี้ทำตาม กันไปทั่ว แต่พวกเขาลืมไปว่าสังคมกับสิ่งมีชีวิตนั้นไม่เหมือนกัน แม้จะพอเปรียบเทียบกันได้บ้าง นักทฤษฎีทางสังคมยุคแรกที่พยายามใช้แนวเทียบสิ่งมีชีวิตในการทำความเข้าใจ หรืออธิบายสังคมต่างล้มเหลวไม่เป็นท่าเพราะความที่เปรียบเทียบผิดฝาผิดตัว สังคมไม่ใช่คนไข้ที่หมอจะสั่งให้แก้ผ้าหรือว่านอนถ่างขาให้ทำอะไรได้ตาม อำเภอใจ

และจะว่าไปแล้ว “หมอเทวดา” พวกนี้แหละที่เป็นส่วนหนึ่งของปัญหาที่สังคมไทยกำลังเผชิญอยู่ตอนนี้ เพราะนอกจากอยู่ในระบบการศึกษาในสาขาที่ไม่สู้มีโอกาสได้ตั้งคำถามกับกระบวน การครอบงำของระเบียบอำนาจหลัก “หมอเทวดา” คือกระบอกเสียงหลักของระเบียบอำนาจที่ว่า นับตั้งแต่พวกหมออาวุโสที่ต่างเรียงหน้ากันออกมาเสนอแนวทางการปฏิรูปประเทศ ซึ่งเอาเข้าจริงคือความพยายามที่จะชะลอหรือเบี่ยงเบนกระแสการเปลี่ยนแปลง เสียมากกว่าและที่พวกนี้ทำมาก่อนหน้าก็ไปไม่ถึงไหน ขณะที่พวกหมอชนบทต่างเตรียมขนรถพยาบาลและเวชภัณฑ์มาเสริมทัพ “กำนัน” กันอย่างฮึกเหิมโดยไม่ละอายสักนิดว่าการกระทำเช่นนี้เป็นเบียดบังภาษีของคน ทั้งประเทศเพื่อตอบสนองจุดยืนทางการเมืองของตน ไม่นับรวมหมอดาราที่ออกมาแสดงภูมิได้อย่างน่าเวทนาเพราะอาศัยแต่โวหารทาง ศีลธรรมแทนที่จะเป็นข้อเท็จจริงในการถกเถียงประเด็นทางสังคมการเมือง

“หมอเทวดา” จึงเป็นส่วนหนึ่งและเป็นผลพวงของกระบวนการครอบงำผ่านระบบการศึกษาไทยในรอบ ห้าทศวรรษที่ผ่านมาที่กำลังทำหน้าที่อย่างที่พวกเขาถูกออกแบบมาให้เป็นกัน อย่างแข็งขัน และเมื่อเป็นเช่นนั้น “คนไข้สามานย์” อย่างผมก็คงจะต้องมีปัญหากับ “หมอเทวดา” พวกนี้ต่อไปอีกนาน

(ที่มา)
http://www.prachatai.com/journal/2013/12/50576  

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น