หน้าเว็บ

วันพฤหัสบดีที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2557

เลื่อน ไม่เลื่อน เลือกตั้ง 2 กุมภาพันธ์ รัฐประหารเงียบ?

เลื่อน ไม่เลื่อน เลือกตั้ง 2 กุมภาพันธ์ รัฐประหารเงียบ?
 


มีแนวโน้มว่าจะลงเอยแบบ "เสียแรงเปล่า" เหมือนกับอีกหลายๆ ความพยายามที่ผ่านมา

เมื่อ การจัดประชุมเพื่อพิจารณาข้อเสนอว่าควรจะเลื่อนการเลือกตั้งออกไปตามข้อเสนอ ของคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ที่รัฐบาลเป็นเจ้าภาพ ซึ่งอุตส่าห์ชักชวนองค์กรที่เกี่ยวข้องกว่า 70 แห่ง เมื่อวันที่ 15 มกราคม ถูกตัวละครสำคัญปฏิเสธไม่เข้าร่วมตั้งแต่ต้น

ไม่ว่าจะเป็น กกต. ผู้แสดงออกมาตลอดว่าไม่ต้องการจัดเลือกตั้งในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ พรรคประชาธิปัตย์ ผู้บอยคอตการเลือกตั้งมาแต่ต้น และตัวแทนม็อบนกหวีด ที่ประกาศว่าจะเอาแต่ชัยชนะสถานเดียว

ไม่มีการเจรจาใดๆ อีกต่อไป
แล้วเลือกตั้ง 2 กุมภาพันธ์ จะเดินหน้าต่อไปได้หรือไม่

พิจารณาจากท่าทีของนายสมชัย ศรีสุทธิยากร กกต.ด้านกิจการบริหารงานเลือกตั้ง ที่เปิดแถลงเมื่อวันที่ 14 มกราคม ถึงเหตุผลที่ไม่เข้าร่วมประชุมด้วย ก็พอจะเห็นเค้าลางๆ

"กก ต.ยังเห็นด้วยกับแนวทางที่ว่าต้องพูดคุยระหว่างรัฐบาลและ กกต.ก่อน เพราะถ้าหาก 2 ฝ่ายยังไม่สามารถพูดคุยเป็นไปในทางเดียวกัน การขยายวงที่ใหญ่ขึ้นจะได้ข้อยุติยาก"

ตนประสานไปยังนายสุรนันทน์ เวชชาชีวะ เลขาธิการนายกรัฐมนตรี และนายพงศ์เทพ เทพกาญจนา รองนายกฯ นัดนายกรัฐมนตรีให้มาพบหารือกับ กกต. ทั้ง 5 คน

ถ้ายังเห็นต่างกัน กกต.จะเสนอไปให้ศาลรัฐธรรมนูญตีความว่า แนวทางในการแก้ไขปัญหาการเลือกตั้งที่เห็นต่างกันอยู่

ศาลรัฐธรรมนูญจะว่าอย่างไร

ปฏิกิริยานอกทำเนียบก็ร้อนแรงไม่แพ้กัน

หลังนั่งร่วมเวทีแถลงในชื่อเครือข่าย "2 เอา 2 ไม่เอา" ร่วมกัน เมื่อสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา

ต้นสัปดาห์ เมื่อผู้ร่วมแถลงอย่าง ดร.สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ ประธาน TDRI และ นพ.สมศักดิ์ ชุณหรัศมิ์ เลขาธิการมูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ (มสช.) ออกแถลงในนามส่วนตัว ว่าแม้จะเห็นด้วยกับการเลือกตั้ง แต่ก็ควรให้เลื่อนการเลือกตั้งออกไป

ดร.เกษียร เตชะพีระ นักวิชาการผู้เอาจริงเอาจังอย่างยิ่งกับการรักษาหลักการประชาธิปไตยและการ เลือกตั้ง และเป็นผู้ร่วมก่อตั้งสมัชชาปกป้องประชาธิปไตย (สปป.) และเครือข่าย 2 เอา 2 ไม่เอา ก็แถลงเหตุผลโต้ในทันควันว่า
การเลื่อนการเลือกตั้งเป็นการเปิดช่องให้อำนาจนอกระบบแทรกแซงเข้ามาฉวยโอกาสปล้นอำนาจอธิปไตยไปจากประชาชน

และการเลื่อนเลือกตั้งออกไปก็ไม่แก้ไขความขัดแย้งเช่นกัน


ขณะ ที่ราคาที่ต้องจ่ายให้การรักษากรรมสิทธิ์ของประชาชนคือค่าเลือกตั้งทั้งหมด หลายพันล้านก็คุ้ม เพราะประชาชนยังคงครอบครองและคุมได้ แต่ถ้าเลื่อนเลือกตั้ง เปิดช่องโหว่ให้อำนาจนอกระบบเข้าทำลายระบอบและกฎกติกา จะเอาอำนาจนั้นไปทำอะไรยังไงก็ไม่มีทางรู้ได้

ประชาชนที่ไม่ยินยอมแก่การปล้นอำนาจนั้นจะลุกขึ้นต่อต้าน นำมาซึ่งสงครามและความเสียหายมหาศาลอย่างไรก็ไม่รู้ได้

ต่างชาติจะปฏิเสธที่จะลงทุนค้าขายกับเราต่อไปเพราะปกครองด้วยระบอบที่เขาคาดเดาไม่ได้ ก็คาดเดายาก

นายวรเจตน์ ภาคีรัตน์ แกนนำกลุ่มนิติราษฎร์ และ สปป. ระบุว่า ข้อเสนอให้เลื่อนการเลือกตั้งออกไป แต่ให้คณะรัฐมนตรีรักษาการต้องออกจากตำแหน่งทั้งคณะ หรือแม้ไม่ได้แสดงออกอย่างชัดแจ้ง แต่ภายในใจต้องการเช่นนั้น เป็นข้อเสนอที่น่าชิงชังรังเกียจ

เพราะผู้เสนอมองไม่เห็นหัวของผู้คน จำนวนมหาศาลที่รักสันติภาพ เคารพความแตกต่างในระบอบประชาธิปไตย และต้องการแก้ปัญหาความขัดแย้งที่เกิดขึ้นตามวิถีทางของอารยชน

ขณะที่นายเอกชัย ไชยนุวัติ อาจารย์นิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม โฆษก สปป. ให้นิยามว่า

การเลื่อนการเลือกตั้งคือรัฐประหารเงียบ

และ ท้ายที่สุด หลังการประชุมร่มกับองค์กรต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเลือกตั้ง และสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเข้าแจกแจงชี้แจงข้อกฎหมายทั้งหมดแล้ว

น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ปฏิบัติหน้าที่นายกรัฐมนตรี แถลงว่า

การเลือกตั้งไม่สามารถเลื่อนออกไปได้


(ที่มา)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น