หน้าเว็บ

วันศุกร์ที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2557

ร่วมพิทักษ์สืบทอดประชาธิปไตย

ร่วมพิทักษ์สืบทอดประชาธิปไตย


 
Photo: ขณะที่นอนอัลต้าซาวด์เพื่อหาสาเหตุของโรค
หูได้ยินหมอกับผู้ช่วยพูดเรื่องไม่ไปเลือกตั้ง
ด้วยอารมณ์ต่อต้านรัฐบาลรักษาการ ต่อต้านเลือกตั้ง
...นึกในใจแล้วอย่างงี้ตรูจะได้รับการรักษา
ให้หาย หรือให้ตาย ล่ะเนี่ยะ ????
ถ้าบังเอิญหมอกับผู้ช่วยรู้ว่าคนไข้สนับสนุนการเลือกตั้ง 
โดย อ.สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ
โลกวันนี้วันสุข  วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2557 


สถานการณ์ความขัดแย้งในสังคมไทยหลังการเลือกตั้งล่วงหน้าในวันที่ 26 มกราคม นี้ ได้ชี้เห็นว่า การเลือกตั้งทั่วไปที่จะมีขึ้นในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ นี้นั้น กลายเป็นเหตุการณ์สำคัญที่จะส่งผลต่ออนาคตของประชาธิปไตยในประเทศไทย

ทั้ง นี้เพราะความขัดแย้งที่ดำรงอยู่อย่างชัดเจน คือ ความขัดแย้งระหว่างฝ่ายประชาธิปไตย นำโดยรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร และได้รับการสนับสนุนจากประชาชนส่วนข้างมากของประเทศ กับฝ่ายปฏิปักษ์ประชาธิปไตย ที่เปิดฉากโดย ม็อบ กปปส.(คณะกรรมการประชาชนเพื่อการเปลี่ยนแปลงประเทศไทยให้เป็นประชาธิปไตยที่ สมบูรณ์อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข) ของนายสุเทพ เทือกสุบรรณ และได้รับการสนับสนุนจากประชาชนส่วนน้อย แต่ได้ใช้อำนาจอันธพาลข่มขู่ประชาชน ปิดบ้านปิดเมือง สร้างความเดือดร้อนเอือมระอาไปทั่ว และล่าสุด คือการคุกคามการใช้สิทธิเลือกตั้งล่วงหน้าของประชาชน ซึ่งเป็นเรื่องที่ไม่ถูกต้องอย่างยิ่ง

แม้กระนั้น การเคลื่อนไหวของกลุ่ม กปปส. ก็ยังได้รับการสนับสนุนจากกลุ่มชนชั้นกลาง และชนชั้นสูงที่โน้มนำด้วยอคติในการเกลียด พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร กลุ่มคนเหล่านี้ ช่วยกันวาดภาพให้ พ.ต.ท.ทักษิณ และรัฐบาลยิ่งลักษณ์มีลักษณะดังผีร้าย แล้วก็เชื่อฝังใจในวาทกรรมด้านเดียวของตนเอง นำมาสู่การเคลื่อนไหวอันเป็นปฏิปักษ์ประชาธิปไตย แต่ที่ร้ายแรงกว่านั้นก็คือ การที่ขบวนปฏิปักษ์ประชาธิปไตยเหล่านี้ ได้รับการสนับสนุนอย่างเป็นเนื้อเดียวจากพรรคประชาธิปัตย์ที่คว่ำบาตรการ เลือกตั้ง และยังได้รับการสนับสนุนจากจากองค์กรอิสระ ที่มีบทบาทออกนอกหน้าในขณะนี้ ก็คือ ศาลรัฐธรรมนูญ และ คณะกรรมการเลือกตั้ง (กกต.)


ก่อนอื่นคงต้องอธิบายว่า ขบวนการทั้งหมดของ กลุ่ม กปปส.ที่รวมถึงการสนับสนุนจากศาลรัฐธรรมนูญ และคณะกรรมการเลือกตั้งนั้น เป็นขบวนการอนุรักษ์นิยมเจ้า ไม่ใช่ขบวนการปฏิวัติประชาชนตามที่กล่าวอ้างกัน ความคิดที่ชี้นำทั้งหมดเป็นแนวคิดอนุรักษ์นิยม ยึดมั่นในความดีงามของสถาบันดั้งเดิม ต่อต้านประชาธิปไตย และดูถูกประชาชนคนส่วนมาก ความเชื่ออันฝังจิตใจของคนเหล่านี้คือ มวลชนคนต่างจังหวัดนั้นโง่เขลา ตกอยู่ภายใต้อิทธิพลการครอบงำของฝ่ายนักการเมืองชั่ว ดังนั้น คะแนนเสียงและความเรียกร้องต้องการของคนเหล่านี้ จึงไม่ต้องนับ ให้เชื่อแต่มวลชนของ กปปส. ซึ่งเป็นมวลชนตื่นตัวที่มีคุณภาพ และจะเป็นผู้ผลักดันให้ คุณสุเทพ เทือกสุบรรณ เป็นผู้นำการปฏิวัติสังคม สร้างสังคมใหม่ที่ปราศจากนักการเมือง ปราศจากการทุจริตคอรับชั่น ดังนั้น คำตัดสินของศาลรัฐธรรมนูญที่มุ่งจะทำลายฝ่ายนักการเมือง และรัฐบาลยิ่งลักษณ์ จึงเป็นสิ่งที่ถูกต้องไปหมด จนไม่ต้องอิงหลักกฎหมายหรือความเป็นนิติรัฐใดๆ

กลุ่มมวลชนผู้สนับ สนุนม็อบอันธพาลของนายสุเทพ ไม่ยอมรับในข้อเท็จจริงว่า การเข้าร่วมการเลือกตั้งนั่นเอง คือ การแก้ไขปัญหา และการแสวงหาทางออกจากวิกฤตการณ์ทางการเมืองโดยสันติวิธีและเป็นประชาธิปไตย เพราะเป็นการตัดสินกันด้วยการคืนอำนาจให้กับประชาชน ให้ประชาชนตัดสินความขัดแย้งโดยไม่ต้องนองเลือด แต่ขณะนี้ กลุ่ม กปปส.กลับหาทางทำลายการเลือกตั้ง และยั่วยุให้เกิดความรุนแรงตลอดเวลา

ทิศ ทางการเคลื่อนไหวทำลายประชาธิปไตยในขั้นนี้ ดำเนินการโดยศาลรัฐธรรมนูญ ซึ่งมีมติเอกฉันท์ในวันที่ 24 มกราคม ว่า การเลื่อนการเลือกตั้งสามารถทำได้ หากสถานการณ์บ่งชี้ว่า อาจส่งผลเสียหายต่อประเทศชาติได้ โดยศาลรัฐธรรมนูญยกตัวอย่างจากปี พ.ศ.2549 ที่รัฐบาลออกพระราชกฤษฎีกาแก้ไขเพิ่มเติมกำหนดวันเลือกตั้งใหม่ หลังศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่าการเลือกตั้ง 2 เมษายน เป็นโมฆะ ดังนั้น ศาลรัฐธรรมนูญจึงเสนอแนะว่า ประธานกรรมการเลือกตั้งและนายกรัฐมนตรีต้องหารือร่วมกัน เพื่อกำหนดวันเลือกตั้งใหม่

เมื่อเป็นเช่นนี้ นายศุภชัย สมเจริญ ประธานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.)จึงได้ยืนยันว่า ทาง กกต.ได้นัดหารือกับนายกรัฐมนตรีในการที่จะจัดให้มีการเลือกตั้งใหม่ โดยเห็นว่า การจัดการเลือกตั้งที่ผ่านมาแล้วมีปัญหาตั้งแต่การรับสมัครจนถึงการลงคะแนน เสียง เพราะมีมวลชนไปปิดล้อมขัดขวาง จนไม่สามารถจัดการเลือกตั้งให้สุจริตและเทียงธรรม และจะเป็นการสูญเสียงบประมาณแผ่นดิน และว่า ถ้าหากได้ข้อสรุปที่ตรงกันว่าควรจะเลื่อนการเลือกตั้ง ก็จะออกเป็นพระราชกฤษฎีกา กำหนดวันเลือกตั้งใหม่ได้ก่อนวันเลือกตั้งที่ 2 กุมภาพันธ์

ข้ออ้างทางกฎหมายที่พยายามอ้างกันในขณะนี้ ก็คือ มาตรา 78 ของ พรบ.เลือกตั้ง ที่อธิบายว่า ถ้ามีเหตุอันทำให้มีการเลือกตั้งไม่ได้ เพราะเกิดจลาจล อุทกภัย อัคคีภัย เหตุสุดวิสัย หรือเหตุจำเป็นอื่น กกต.ก็มีอำนาจที่จะกำหนดวันเลือกตั้งขึ้นใหม่ได้ แต่ปัญหาของข้อกฎหมายนี้คือ อาจจะถูกตีความว่าขัดรัฐธรรมนูญ เพราะในกฎหมายรัฐธรรมนูญไม่ได้ระบุถึงเหตุสุดวิสัยไว้ ยิ่งกว่านั้น ศาลรัฐธรรมนูญเองเคยวินิจฉัยไว้ในวันที่ 26 ธันวาคม ว่า การชุมนุมของ กปปส.เป็นการใช้สิทธิเสรีภาพกระทำในนามประชาชนที่รัฐธรรมนูญให้การรับรองไว้ เป็นเพียงการเรียกร้องแสดงพลังด้วยการสนับสนุนของประชาชนจำนวนมาก จึงไม่เป็นเหตุสุดวิสัยที่จะไปอ้างในการกำหนดการเลือกตั้งใหม่ได้

จาก นั้น นายอภิสิทธ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ก็ได้อธิบายสนับสนุนว่า สิ่งที่ กกต.และศาลรัฐธรรมนูญกำลังแก้ไข อยู่นั้นไม่ใช่ปัญหาการปฏิบัติเกี่ยวกับขั้นตอนในการเลือกตั้ง แต่เป็นปัญหาการเลือกตั้งทั่วไปในภาพรวม กกต.และศาลจึงกล่าวถึงการกำหนดวันเลือกตั้งใหม่ ไม่ใช่การเลื่อนวันลงคะแนนเพื่อดันทุรังเดินหน้าการเลือกตั้งเดิมต่อไป และได้ย้ำว่า “ที่สำคัญพรรคเพื่อไทยยังไม่ตระหนักอีกหรือว่าวิกฤติวันนี้มาจากการท้าทาย อำนาจศาล ท้าทายกฎหมาย และท้าทายความรู้สึกประชาชน ยังคิดจะเติมเชื้อไฟอีกหรือ”

ดังนั้น จึงเห็นได้ว่า การดำเนินการของศาลรัฐธรรมนูญและคณะกรรมการเลือกตั้ง เป็นไปอย่างสอดคล้องกับการเคลื่อนไหวของม็อบ กปปส.และพรรคประชาธิปัตย์ ที่มุ่งจะทำลายการเลือกตั้ง 2 กุมภาพันธ์ จากที่ กปปส.เสนอให้มีการปฏิรูปก่อนเลือกตั้ง ทั้งที่ไม่มีแผนแม่บทชัดเจนเลยว่า การปฏิรูปจะมีเนื้อหาอย่างไร จะดำเนินการได้อย่างไร มีระยะเวลานานเท่าใด และมีกฎหมายอะไรรองรับหรือไม่ ข้อเสนอเรื่องเลื่อนการเลือกตั้งจากฝ่ายศาลรัฐธรรมนูญและคณะกรรมการเลือก ตั้ง ยังมองข้ามข้อเท็จจริงด้วยว่า ประชาชนส่วนข้างมากของประเทศนั้นสนับสนุนการเลือกตั้ง และต้องการให้มีการเลือกตั้ง 2 กุมภาพันธ์ การที่มวลชนส่วนน้อยพยายามขัดขวางการเลือกตั้งนั้น เป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย เป็นการชอบที่ กกต.จะต้องแจ้งความดำเนินคดีเอาผิดกับคนเหล่านั้น มิใช่โอนอ่อนตามข้อเรียกร้องอันปราศจากหลักการ ไปยอมรับการก่อกวนบ้านเมืองเป็นเงื่อนไขในการปฏิบัติการละเมิดกฎหมายเสียเอง และตราบเท่าที่พระราชกฤษฎีกาเลือกตั้ง 2 กุมภาพันธ์ ยังมีผลบังคับใช้ กกต.ก็จะต้องดำเนินการไปตามนั้น จะบิดพริ้วมิได้

กล่าวโดย สรุปเมื่อมาถึงวันนี้ ก็เห็นได้ชัดว่า การเลื่อนการเลือกตั้งตามข้อเสนอของฝ่ายปฏิปักษ์ประชาธิปไตย แก้ปัญหาอะไรไม่ได้ รัฐบาลยิ่งลักษณ์จึงจะต้องใช้กลไกทุกอย่างที่เป็นไปได้ ดำเนินการให้มีการเลือกตั้งต่อไปอย่างราบรื่นที่สุด ส่วนในฝ่ายของขบวนการประชาชนมีแต่จะต้องสนับสนุนการเลือกตั้ง 2 กุมภาพันธ์ ให้เดินหน้าต่อไป มิใช่เพื่อเป็นการสนับสนุนนายกรัฐมนตรียิ่งลักษณ์ หรือ พรรคเพื่อไทย แต่เป็นการปกป้องประชาธิปไตยของประเทศไทยให้เดินหน้าต่อไปตามหลักการอันถูก ต้อง ชอบด้วยหลักประชาธิปไตยแบบสากลนิยม


(อ่านต่อ)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น