https://www.youtube.com/watch?v=4gXqt4KABsA
โดย อ.ปิยบุตร แสงกนกกุล
ทำไมผมถึงเรียกร้องให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศทำคำประกาศฝ่ายเดียวรับรองเขตอำนาจศาลอาญาระหว่างประเทศโดยทันที?
๑.) เป็นที่ทราบกันดีว่า นับตั้งแต่ธรรมนูญกรุงโรมว่าด้วยศาลอาญาระหว่างประเทศประกาศใช้ในปี ๒๐๐๒ ประเทศไทยบ่ายเบี่ยงไม่ยอมให้สัตยาบันรับรองเขตอำนาจศาลอาญาระหว่างประเทศมา โดยตลอด โดยอ้างว่ากองทัพไม่เห็นด้วย อ้างว่าขัดรัฐธรรมนูญ มาตรา ๘ เพราะไม่คุ้มกันองค์ประมุขของรัฐ (ซึ่งกรณีรับรองเขตอำนาจศาลอาญาระหว่างประเทศ กษัตริย์ไม่จำเป็นต้องได้รับความคุ้มกัน เพราะในระบบกษัตริย์ใต้รัฐธรรมนูญ กษัตริย์ไม่ทำอะไรผิด เพราะกษัตริย์ไม่ได้ทำอะไรเลย จึงไม่ต้องกังวลว่ากษัตริย์จะต้องไปขึ้นศาลอาญาระหว่างประเทศ เว้นแต่พวกที่ไม่สนับสนุนให้สัตยาบันจะคิดว่ากษัตริย์เป็นผู้กระทำการ? ราชอาณาจักรหลายประเทศต่างก็ลงนามให้สัตยาบัน)
การคัดค้านการให้สัตยาบันโดยฝ่ายความมั่นคงและกองทัพ แสดงให้เห็นว่าพวกเขากลัวศาลอาญาระหว่างประเทศ
การทำคำประกาศฝ่ายเดียวรับเขตอำนาจศาลอาญาระหว่างประเทศจึงเป็นการ "ขู่" พวกกองทัพกลับไปว่า หากจะใช้กำลังเข่นฆ่าประชาชน ก็จงระวังเอาไว้
๒.) การรับรองเขตอำนาจศาลอาญาระหว่างประเทศ มีสองวิธี วิธีแรก คือ ให้สัตยาบัน ซึ่งจะเป็นการรับรองเขตอำนาจศาลแบบถาวรตลอดกาลจนกว่าจะถอนสัตยาบัน วิธีที่สอง คือ ทำคำประกาศฝ่ายเดียวตามมาตรา ๑๒.๓ ของธรรมนูญกรุงโรม รับรองเขตอำนาจศาลเฉพาะกรณี เฉพาะช่วงเวลา
การทำคำประกาศฝ่ายเดียวรับเขตอำนาจศาล เป็นอำนาจของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศ ทำได้เองเลย เขียนหนังสือข้อความสั้นๆ ว่าขอประกาศรับเขตอำนาจศาลอาญาระหว่างประเทศ ตั้งแต่วันที่เท่าไร ก็ส่งผลทางกฎหมายทันที
ไม่ติดขัดเรื่องมาตรา ๑๙๐ ของรัฐธรรมนูญ
เมื่อลงนามเมื่อไร ก็เกิดผลในทางกฎหมายทันที หากระบบกฎหมายภายในทำลายการลงนาม (เช่น มีผู้หาช่องทางดันไปศาลรัฐธรรมนูญ และศาลรัฐธรรมนูญเพิกถอนการลงนามคำประกาศฝ่ายเดียวทิ้งเสีย) ก็ไม่ส่งผลใดๆ ในทางกฎหมายระหว่างประเทศ ยังคงมีผลอยู่
ประเทศโก๊ตดิวัวร์ เคยใช้วิธีนี้สำเร็จมาแล้ว และอดีตประธานาธิบดี โลร็องต์ บักโบ ก็กำลังถูกพิจารณาคดีโดยศาลอาญาระหว่างประเทศอยู่
๓.) ในกรณีที่รัฐบาลนี้ยังอยู่ หาก กปปส เห็นว่ารัฐบาลได้ใช้กำลังทำลายชีวิตร่างกายของผู้ชุมนุม กปปส จนเข้าข่ายความผิดอาญาระหว่างประเทศตามธรรมนูญกรุงโรม กปปส ก็มีศาลอาญาระหว่างประเทศเป็นหลักประกัน
๔.) ในกรณีที่เกิดการรัฐประหารโดยศาล โดยองค์กรอิสระ หรือโดยกองทัพ และประชาชนลุกขึ้นต่อต้าน จนถูกรัฐบาลใหม่ใช้กำลังเข้าเข่นฆ่า ประชาชนก็มีศาลอาญาระหว่างประเทศเป็นหลักประกัน
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ โปรดใช้ความกล้าหาญ ใช้อำนาจของท่านลงนามทำคำประกาศฝ่ายเดียวได้เลย เพื่อป้องกันไม่ให้ประชาชนถูกเข่นฆ่าในอนาคต
ยามท่านมีอำนาจ โปรดจงใช้อำนาจนั้นเพื่อประโยชน์ของประชาชนที่เสียสละเพื่อปกป้องประชาธิปไตยโดยมิได้อะไรตอบแทน
หากท่านหมดอำนาจไป และคิดหวังจะลงนามก็อาจสายเกินการณ์
จงทำในระหว่างที่มีอำนาจ
โปรดเสียสละด้วย
๑.) เป็นที่ทราบกันดีว่า นับตั้งแต่ธรรมนูญกรุงโรมว่าด้วยศาลอาญาระหว่างประเทศประกาศใช้ในปี ๒๐๐๒ ประเทศไทยบ่ายเบี่ยงไม่ยอมให้สัตยาบันรับรองเขตอำนาจศาลอาญาระหว่างประเทศมา โดยตลอด โดยอ้างว่ากองทัพไม่เห็นด้วย อ้างว่าขัดรัฐธรรมนูญ มาตรา ๘ เพราะไม่คุ้มกันองค์ประมุขของรัฐ (ซึ่งกรณีรับรองเขตอำนาจศาลอาญาระหว่างประเทศ กษัตริย์ไม่จำเป็นต้องได้รับความคุ้มกัน เพราะในระบบกษัตริย์ใต้รัฐธรรมนูญ กษัตริย์ไม่ทำอะไรผิด เพราะกษัตริย์ไม่ได้ทำอะไรเลย จึงไม่ต้องกังวลว่ากษัตริย์จะต้องไปขึ้นศาลอาญาระหว่างประเทศ เว้นแต่พวกที่ไม่สนับสนุนให้สัตยาบันจะคิดว่ากษัตริย์เป็นผู้กระทำการ? ราชอาณาจักรหลายประเทศต่างก็ลงนามให้สัตยาบัน)
การคัดค้านการให้สัตยาบันโดยฝ่ายความมั่นคงและกองทัพ แสดงให้เห็นว่าพวกเขากลัวศาลอาญาระหว่างประเทศ
การทำคำประกาศฝ่ายเดียวรับเขตอำนาจศาลอาญาระหว่างประเทศจึงเป็นการ "ขู่" พวกกองทัพกลับไปว่า หากจะใช้กำลังเข่นฆ่าประชาชน ก็จงระวังเอาไว้
๒.) การรับรองเขตอำนาจศาลอาญาระหว่างประเทศ มีสองวิธี วิธีแรก คือ ให้สัตยาบัน ซึ่งจะเป็นการรับรองเขตอำนาจศาลแบบถาวรตลอดกาลจนกว่าจะถอนสัตยาบัน วิธีที่สอง คือ ทำคำประกาศฝ่ายเดียวตามมาตรา ๑๒.๓ ของธรรมนูญกรุงโรม รับรองเขตอำนาจศาลเฉพาะกรณี เฉพาะช่วงเวลา
การทำคำประกาศฝ่ายเดียวรับเขตอำนาจศาล เป็นอำนาจของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศ ทำได้เองเลย เขียนหนังสือข้อความสั้นๆ ว่าขอประกาศรับเขตอำนาจศาลอาญาระหว่างประเทศ ตั้งแต่วันที่เท่าไร ก็ส่งผลทางกฎหมายทันที
ไม่ติดขัดเรื่องมาตรา ๑๙๐ ของรัฐธรรมนูญ
เมื่อลงนามเมื่อไร ก็เกิดผลในทางกฎหมายทันที หากระบบกฎหมายภายในทำลายการลงนาม (เช่น มีผู้หาช่องทางดันไปศาลรัฐธรรมนูญ และศาลรัฐธรรมนูญเพิกถอนการลงนามคำประกาศฝ่ายเดียวทิ้งเสีย) ก็ไม่ส่งผลใดๆ ในทางกฎหมายระหว่างประเทศ ยังคงมีผลอยู่
ประเทศโก๊ตดิวัวร์ เคยใช้วิธีนี้สำเร็จมาแล้ว และอดีตประธานาธิบดี โลร็องต์ บักโบ ก็กำลังถูกพิจารณาคดีโดยศาลอาญาระหว่างประเทศอยู่
๓.) ในกรณีที่รัฐบาลนี้ยังอยู่ หาก กปปส เห็นว่ารัฐบาลได้ใช้กำลังทำลายชีวิตร่างกายของผู้ชุมนุม กปปส จนเข้าข่ายความผิดอาญาระหว่างประเทศตามธรรมนูญกรุงโรม กปปส ก็มีศาลอาญาระหว่างประเทศเป็นหลักประกัน
๔.) ในกรณีที่เกิดการรัฐประหารโดยศาล โดยองค์กรอิสระ หรือโดยกองทัพ และประชาชนลุกขึ้นต่อต้าน จนถูกรัฐบาลใหม่ใช้กำลังเข้าเข่นฆ่า ประชาชนก็มีศาลอาญาระหว่างประเทศเป็นหลักประกัน
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ โปรดใช้ความกล้าหาญ ใช้อำนาจของท่านลงนามทำคำประกาศฝ่ายเดียวได้เลย เพื่อป้องกันไม่ให้ประชาชนถูกเข่นฆ่าในอนาคต
ยามท่านมีอำนาจ โปรดจงใช้อำนาจนั้นเพื่อประโยชน์ของประชาชนที่เสียสละเพื่อปกป้องประชาธิปไตยโดยมิได้อะไรตอบแทน
หากท่านหมดอำนาจไป และคิดหวังจะลงนามก็อาจสายเกินการณ์
จงทำในระหว่างที่มีอำนาจ
โปรดเสียสละด้วย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น