สัมภาษณ์: ค่านิยม 12 ประการในทัศนะนักเรียนมัธยม
ฟังเสียงนักเรียนมัธยม เรื่องค่านิยม 12 ประการ
“หลังรัฐประหารเราจะจัดเสวนาเรื่องประชาธิปไตยในห้องเรียน แต่ปรากฏว่าเจ้าของสถานที่เขาไม่อนุญาต ได้ยินคำว่าประชาธิปไตยปุ๊บ แบนเลย” ณัฐนันท์เล่า
นอกจากนี้ในวันเด็กแห่งชาติปีล่าสุด กลุ่มนี้ยังจัดกิจกรรม ‘มอบดอกไม้ให้ทหาร’ ...ไม่ใช่อย่างที่เห็นเมื่อปี 2549 แต่เป็นการมอบดอกไม้ที่ทหารออกมายืนยันว่าจะไม่ทำรัฐประหาร
“กิจกรรมนี้เราเจ็บปวดมาก” ณัฐนันท์พูดถึงความเชื่อที่ผิดพลาด
คนรุ่นใหม่ทั้งสองพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับเราอย่างออกรส พวกเขาติดตามข่าวสารบ้านเมืองอย่างใกล้ชิด และคิดอย่างเป็นระบบ พวกเขายืนยันว่ายึดถือความแตกต่างหลากหลายทางความคิด ชื่นชอบการถกเถียง และอยากให้เพื่อนๆ ตั้งคำถามต่อสิ่งต่างๆ ในสังคม โดยเฉพาะในโรงเรียน จึงจัดกิจกรรมต่างๆ จนครูอาจารย์บางท่านก็มองว่าพวกเขา ‘หัวรุนแรง’
“จุดเริ่มต้นของพวกเราคือ เราอ่านเยอะ เพราะเรายังหาจุดยืนที่แน่นอนไม่เจอ ท่ามกลางสังคมที่แตกแยกและสับสนขนาดนี้ มันทำให้เรายิ่งต้องหาข้อมูล ยิ่งต้องสนทนา เราไม่อยากอยู่ไปวันๆ แบบไม่ต้องคิดอะไรเลย” ณัฐนันท์กล่าว
‘คำถาม’ คือดาวนำทางของเยาวชนกลุ่มนี้ และดูเหมือนเขายังคง ถาม ถาม ถาม แม้ในสถานการณ์ที่ทุกคนถูกขอให้เงียบ
“เห็นได้ชัดเลยว่าเขาต้องการสร้างคนดีที่เป็นแบบเดียวกัน เป็นเหมือนกันทั้งหมด ซึ่งมันพื้นฐานความคิดมาจากระบอบอำนาจนิยม”
“12 ข้อนี้ไม่ดีตรงที่ว่า การศึกษาในศตวรรษที่ 21 คุณควรจะสอนให้นักเรียนคิดต่างอย่างสร้างสรรค์ หรือคุณจะสอนให้นักเรียนจำทั้งหมดแล้วเอาไปปฏิบัติอย่างไม่ตั้งคำถาม”
“แค่ความเป็นคนดี คุณยังไม่ให้นักเรียนคิดเอง ทุกคนก็มีชุดศีลธรรมของเขา แต่คุณยังไปดูถูกผู้เรียนว่าคิดแบบนี้ถึงจะถูก คิดแบบคุณมันไม่ถูกต้อง แทนที่เราจะมาถกกันว่าทำไมคุณถึงคิดแบบนี้ ทำไมเราถือคิดแบบนี้ คนเราแตกต่างกันได้บนพื้นฐานของความสันติ”
“อย่างข้อที่ 7 เองผมก็สงสัยอยู่เหมือนกันว่า ประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขที่ถูกต้อง เขาก็ไม่ได้จำกัดความว่าคืออะไร”
“เข้าใจแล้วเรียนรู้ความเป็นประชาธิปไตย แต่ไม่แน่ใจว่าความเข้าใจของเราตรงกับท่านผู้นำหรือเปล่า เพราะความเป็นประชาธิปไตยของเราคือการถกเถียง คือการรับฟังในสิ่งที่เราไม่อยากรับฟัง”
(ที่มา)
http://www.prachatai.com/journal/2014/09/55739
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น