ภาษาไทยวันละคำ!
"มือถือสาก ปากถือศีล" "ปากว่า ตาขยิบ" "ว่าแต่เขา อิเหนาเป็นเอง" "หน้าไหว้ หลังหลอก" "ปากปราศัย น้ำใจเชือดคอ"
สำนวนสุภาษิตไทยเหล่านี้ ได้สะท้อนให้เห็นถึงอัตลักษณ์และลักษณะความเป็นไปของชาติพันธุ์ที่อาศัยอยู่ ใน ณ ดินแดนแถบสุวรรณภูมิหรือลุ่มน้ำเจ้าพระยาได้เป็นอย่างดี นับตั้งแต่อดีตจวบจนถึงปัจจุบัน นั่นเพราะความหมายที่สะท้อนและแสดงออกถึงการกระทำและคำพูดที่มีลักษณะตรง ข้ามกัน หรือขัดแย้งกันเสมอมา สุภาษิตส่วนใหญ่นี้ถูกจะใช้ไปเพื่ออบรมสั่งสอนหรือปกครองคนให้อยู่แต่ในกรอบ ที่ควรจะเป็น เสมือนหนึ่งเป็นคำสั่งสอนจากพ่อสู่ลูก การกล่าวอ้างคำศักดิ์สิทธิ์โดยคนชั้นปกครองนี้เป็นไปเพื่อใช้ควบคุมผู้อยู่ ใต้ปกครองให้อยู่ในโอวาท หรือเป็นการสั่งสอนโดยผู้รู้ หรือผู้ที่ได้รับอาณัติจากสวรรค์ ที่เป็นการชี้นำให้สังคมโน้มเอียงไปทางใดทางหนึ่งตามที่กลุ่มของตนปรารถนา แต่เมื่อเวลาแปรเปลี่ยนไปก็ถูกใช้เป็นการกล่าวอ้างเพียงเพื่อรักษาประโยชน์ หรือมุ่งหาสิทธิพิเศษแห่งตน หรือเป็นเพียงคำกล่าวอ้างเพื่อเบี่ยงเบนประเด็นความสนใจจากสังคมรอบข้าง ณ ชั่วระยะเวลาหนึ่งเท่านั้น
สังคมไทยในอดีตที่ผ่านมา ตั้งแต่ยุคที่ยังคงมีข้าทาสเป็นบริวาร เรื่อยมาจนถึงยุคแห่งความเป็นไทในปัจจุบันที่ทุกคนเชื่ออย่างสุจริตใจว่า ได้หลุดพ้นจากพันธนาการความเป็นบ่าวไพร่จากภายนอกแล้วก็ตาม แต่ในความเป็นจริงก็ยังไม่สามารถสลัดทิ้งจากพันธนาการที่อยู่ในเบื้องลึกของ จิตใจได้ รวมทั้งการสลัดทิ้งเพื่อหลุดพ้นจากการแบ่งชนชั้นตามธรรมชาติได้ ดังนั้นคำว่า เจ้ากับนาย บ่าวกับไพร่ ก็ยังคงฝักรากลึกและวนเวียนอยู่ในมโนสำนึกของชาติพันธุ์คนไทยตลอดมา ถึงแม้คนส่วนใหญ่จะได้รับการศึกษาที่ดีขึ้นและขยับฐานะทางสังคมให้สูงขึ้นใน ระดับหนึ่งก็ตาม และถึงแม้พวกเขาหล่านั้นได้พัฒนาตนเองขึ้นมาเป็นสมาชิกใหม่ในแถวหน้าของ สังคมแห่งชนชั้นกลางระดับล่างจนถึงระดับสูงได้แล้วก็ตามที แต่สิ่งหนึ่งที่ยังคงฝังรากลึกอยู่ในจิตใจที่ไม่อาจโยกคลอนหรือเปลี่ยนแปลง ได้ ก็คือ การแบ่งชนชั้นตามจารีตประเพณี และการสยบยอม หมอบกราบ ด้วยความภักดีโดยสุจริตใจ
(ที่มา)
http://www.prachatai.com/journal/2014/09/55679
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น