หน้าเว็บ

วันเสาร์ที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2554

วิกิลีกส์เผย "ไมโครซอฟท์" สนับสนุนเผด็จการตูนิเซีย "เซ็นเซอร์-ดักฟังเน็ต" 
รูปภาพ

วิ กิลีกส์เผย ไมโครซอฟท์จัดอบรมไอทีให้กับอดีตรัฐบาลเผด็จการตูนิเซีย ซึ่งความรู้จากการอบรมถูกนำไปใช้ติดตามและจับกุมนักกิจกรรมออนไลน์ที่ต่อ ต้านรัฐบาล ทั้งนี้หลังการตกลงดังกล่าวรัฐบาลตูนิเซียได้ซื้อซอฟต์แวร์จากไมโครซอฟท์ 12,000 ชุด องค์กรผู้สื่อข่าวไร้พรมแดนเรียกร้องให้มีมาตรการจัดการกับธุรกิจที่สนับ สนุนการละเมิดสิทธิมนุษยชน


เอกสารที่อ้างว่าเป็นโทรเลขของสถาน ทูตสหรัฐระบุว่า ไมโครซอฟท์ บริษัทซอฟต์แวร์ยักษ์ใหญ่จากสหรัฐอเมริกา ได้จัดโครงการฝึกอบรมให้กับของอดีตรัฐบาลเผด็จการตูนิเซีย (ซึ่งเพิ่งถูกโค่นล้มไป) เพื่อแลกกับการที่รัฐบาลตูนิเซียจะยกเลิกนโยบายใช้ซอฟต์แวร์โอเพนซอร์ส โดยต่อมารัฐบาลตูนิเซียได้ใช้ความรู้จากการอบรมดังกล่าว ในการสร้างเว็บไซต์ปลอมเพื่อหลอกเอารหัสผ่านจากนักข่าว บล็อกเกอร์ และนักเคลื่อนไหวทางการเมือง


ข้อตกลงระหว่างไมโครซอฟท์และรัฐบาล ตูนิเซีย ซึ่งลงนามในปี ค.ศ. 2006 ระบุถึงความร่วมมือในเรื่อง รัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ ความมั่นคงไซเบอร์ สิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา และการพัฒนาความสามารถสำหรับโครงการเทคโนโลยีสารสนเทศต่าง ๆ ของตูนิเซีย โดยไมโครซอฟท์จะตั้งศูนย์นวัตกรรมไมโครซอฟท์ในตูนิเซีย เพื่อพัฒนาการผลิตซอฟต์แวร์ในท้องถิ่น


"โดยผ่านโครงการอาชญากรรม ไซเบอร์ ไมโครซอฟท์จะอบรมเจ้าหน้าที่ของกระทรวงยุติธรรมและกระทรวงมหาดไทย ถึงการใช้คอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ตเพื่อต่อสู้กับอาชญากรรม ในส่วนหนึ่งของโครงการนี้ ไมโครซอฟท์จะเปิดเผยซอร์สโค้ดต้นฉบับของซอฟต์แวร์ของตนให้กับรัฐบาล ตูนิเซีย" โทรเลขฉบับดังกล่าวระบุ


ผู้เขียนโทรเลขดังกล่าว ยังให้ความเห็นต่อไปว่า "ในทางทฤษฎีแล้ว การเพิ่มความสามารถในการบังคับใช้กฎหมายของรัฐบาลตูนิเซียนั้นเป็นเรื่องดี แต่เมื่อพิจารณาการที่รัฐบาลตูนิเซียแทรกแซงอินเทอร์เน็ตอย่างหนัก ทำให้มีคำถามว่าโครงการนี้จะเพิ่มความสามารถของรัฐบาลตูนิเซียในการจับตาดู พลเมืองของตัวเองหรือไม่" และจบด้วยความเห็นที่ว่า "ในตอนสุดท้ายแล้ว ผลประโยชน์ที่ไมโครซอฟท์จะได้รับ จะมีมากกว่าราคาที่จ่ายไปมาก"


จาก การประเมินสถานการณ์เสรีภาพทั่วโลก "Freedom in the World" โดยองค์กรฟรีดอมเฮาส์ในปี ค.ศ.2011 ตูนิเซียถูกจัดเป็นประเทศที่ "ไม่เสรี" การประเมินระบุว่ารัฐบาลอดีตประธานาธิบดีไซเน่ เอล-อะบีดีน เบน อาลี ควบคุมการเลือกตั้งอย่างหนัก และรัฐบาลได้คุกคามและจับกุมบล็อกเกอร์ นักข่าว และฝ่ายตรงข้ามทางการเมือง ต่อมาเมื่อต้นปี ค.ศ.2011 ระบอบของ เบน อาลี ถูกโค่นล้ม และกลายเป็นจุดกำเนิดของการปฏิวัติต่อเนื่องในหลายประเทศตะวันออกกลาง ที่เรียกว่า "Arab Spring" หรือ "ฤดูใบไม้ผลิอาหรับ"


เมื่อต้น เดือนกันยายนนี้ องค์กรผู้สื่อข่าวไร้พรมแดน (RSF) ได้ออกแถลงการณ์ เรียกร้องให้รัฐบาลทั่วโลกดำเนินมาตรการแทรงแซงทางการเงินกับองค์กรธุรกิจ ที่สนับสนุนรัฐบาลเผด็จการในการปราบปรามประชาชนของตัวเอง ในแถลงการณ์ดังกล่าวระบุชื่อบริษัทต่าง ๆ ในประเทศตะวันตก (สหรัฐอเมริกา, แคนาดา, ฟินแลนด์, และฝรั่งเศส) ซึ่งรวมถึงบริษัทเทคโนโลยีและผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต ที่ให้ความร่วมมือกับรัฐบาลในประเทศลิเบีย, บาห์เรน, ซีเรีย, จีน และไทย ในการดักฟังและติดตามจับกุมฝ่ายตรงข้ามทางการเมือง


(กรณีที่ เกี่ยวข้องกับประเทศไทยนั้น เป็นกรณีที่บริษัทเน็ตเฟิร์ม บริษัทสัญชาติแคนาดาซึ่งให้บริการให้เช่าพื้นที่เว็บอยู่ในแคลิฟอร์เนีย ได้ให้ข้อมูลหมายเลขไอพีและที่อยู่อีเมลของผู้ใช้เน็ตรายหนึ่งแก่กรมสอบสวน คดีพิเศษ -ดีเอสไอ- ของไทย ซึ่งนำไปสู่การจับกุมและคุมขัง การให้ข้อมูลส่วนตัวนี้ผิดกฎหมายของทั้งสหรัฐอเมริกาและแคนาดา)


ใน แถลงการณ์ดังกล่าว ยังได้ระบุถึงคำพูดของประธานบริษัทไมโครซอฟท์สาขารัสเซีย ที่กล่าวว่าไมโครซอฟท์รัสเซียนั้นพร้อมที่จะมอบซอร์สโค้ดรหัสโปรแกรมของสไก ป์ (Skype) ให้กับหน่วยงานความมั่นคงของรัสเซีย ไมโครซอฟท์เข้าซื้อกิจการสไกป์เมื่อเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา โดยซอฟต์แวร์ดังกล่าวเป็นเครื่องมือสื่อสารที่เป็นที่นิยมของผู้ใช้อินเทอร์ เน็ตทั่วไป รวมถึงนักเคลื่อนไหวทางการเมือง


ไมโครซอฟท์เป็น สมาชิกของพันธมิตร โกลบอลเน็ตเวิร์กอินิชิเอทีฟ (Global Network Initiative) หรือ GNI ซึ่งเป็นการรวมตัวของบริษัทเอกชน กองทุนการเงิน และองค์กรปกป้องสิทธิเสรีภาพ เพื่อปกป้องสิทธิมนุษยชนและเสรีภาพอินเทอร์เน็ต ปัจจุบัน GNI มีสมาชิกจากทั่วโลก 30 ราย สมาชิกอื่น ๆ ได้แก่ กูเกิล, ยาฮู!, อิเล็กทรอนิกส์ฟรอนเทียร์ฟาวเดชั่น (EFF), ฮิวแมนไรท์วอช, และคณะกรรมการคุ้มครองสื่อ (Committee to Protect Journalists) เป็นต้น การที่ไมโครซอฟท์เป็นสมาชิก GNI นี้ ทำให้องค์กรผู้สื่อข่าวไร้พรมแดนคาดหวังให้ไมโครซอฟท์แสดงบทบาทผู้นำในการ คุ้มครองสิทธิมนุษยชน


แม้อินเทอร์เน็ตจะเป็นสื่อที่ไร้พรมแดน แต่ในปัจจุบัน การติดตามจับกุมผู้ก่อ "อาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์" (ซึ่งรวมไปถึงการเผยแพร่ข้อมูลที่ขัดแย้งกับรัฐบาล) สามารถทำได้ผ่านกลไกและมาตรการระดับนานาชาติหลายส่วน ทั้งข้อตกลงการส่งผู้ร้ายข้ามแดน ความร่วมมือระดับนานาชาติในเรื่องของความมั่นคงทางไซเบอร์ (เช่น ความร่วมมือแบบพหุภาคี IMPACT) กลไกตำรวจสากล (อินเทอร์โพล) และกฎหมายอินเทอร์เน็ตในหลายประเทศที่ระบุว่า ไม่ว่าการกระทำบนอินเทอร์เน็ตนั้นจะเกิดขึ้นในทางกายภาพที่ใดในโลก ก็จะมีความผิดตามกฎหมายของประเทศนั้น ๆ อยู่ดี เช่น มาตรา 17 ของพ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 ของประเทศไทยที่ระบุว่า :


ผู้ใดกระทําความผิดตามพระราชบัญญัตินี้นอกราชอาณาจักรและ


(1) ผู้กระทําความผิดนั้นเป็นคนไทย และรัฐบาลแห่งประเทศที่ความผิดได้เกิดขึ้นหรือผู้เสียหายได้ร้องขอให้ลงโทษ หรือ


(2) ผู้กระทําความผิดนั้นเป็นคนต่างด้าว และรัฐบาลไทยหรือคนไทยเป็นผู้เสียหายและผู้เสียหายได้ร้องขอให้ลงโทษ จะต้องรับโทษภายในราชอาณาจักร


อย่างไรก็ตาม ในขณะนี้ยังไม่มีกลไกและมาตรการระดับนานาชาติใด ๆ ที่ชัดเจน ที่จะบังคับเอาผิดกับบริษัทเอกชนที่สนับสนุนรัฐบาลในอีกประเทศในการก่อ อาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์หรือการละเมิดสิทธิมนุษยชน ด้วยเหตุนี้องค์กรผู้สื่อข่าวไร้พรมแดนจึงเรียกร้องว่ารัฐบาลทั้งหลายจำเป็น ต้องมีมาตรการร่วมกัน ในการหยุดยั้งอาชญากรรมที่สนับสนุนโดยบริษัทเอกชน เพื่อปกป้องอินเทอร์เน็ตและผู้ใช้อินเทอร์เน็ต


ในปี 2554 ประเทศไทยถูกฟรีดอมเฮาส์จัดเป็นประเทศ "กึ่งเสรี" โดยมีแนวโน้มที่แย่ลง (Freedom in the World 2011) และมีสถานการณ์สื่อมวลชนอยู่ในระดับ "ไม่เสรี" (Freedom of the Press 2011) เช่นเดียวกับสถานการณ์อินเทอร์เน็ตที่ "ไม่เสรี" เช่นกัน (Freedom on the Net 2011) ซึ่งประเด็นหลักอันหนึ่งที่ประเทศไทยถูกจัดอยู่ในกลุ่มไม่เสรีในการจัด อันดับต่าง ๆ หลายสำนัก ก็คือการใช้พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์และกฎหมายอื่น ๆ ในการจับกุมผู้ใช้เน็ตที่คิดเห็นต่างจากรัฐ



ก่อนหน้านี้ วิกิลีกส์ก็ได้เปิดเผยรายงานของกงสุลสหรัฐประจำเชียงใหม่ ที่พูดคุยกับกลุ่มธุรกิจของสหรัฐฯ ในเชียงใหม่เมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2554 โดยระบุว่าผู้บริหารของไมโครซอฟท์ไทยกังวลต่อแนวทางการสนับสนุนซอฟต์แวร์โอ เพนซอร์สของรัฐบาลไทย



ที่มา: Companies that cooperate with dictatorships must be sanctioned, Reporters Without Borders, 2 ก.ย. 2554; Wikileaks: Microsoft aided former Tunisian regime, ZDNet, 5 ก.ย. 2554; ผ่าน Slashdot; อ่านโทรเลขฉบับเต็ม: Microsoft Inks Agreement With GOT

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น