ก่อนจะมี "สภา น.ส.พ."
วันที่ 09 กันยายน พ.ศ. 2554 เวลา 21:30:00 น.
| โดย สุริวงค์ เอื้อปฏิภาน
(ที่มา คอลัมน์สถานีคิดเลขที่ 12 หนังสือพิมพ์มติชนรายวัน ฉบับประจำวันที่ 9 กันยายน 2554)สภา การหนังสือพิมพ์แห่งชาติ จัดตั้งขึ้นเมื่อปี 2540 โดยในระหว่างนั้นกำลังมีการร่างรัฐธรรมนูญฉบับปี 40 พอดี แล้วดันมีการกำหนดให้มีองค์กรอิสระขึ้นมาควบคุมหนังสือพิมพ์ปรากฏอยู่ในร่าง รัฐธรรมนูญดังกล่าว
ผู้หลักผู้ใหญ่ของวงการ ซึ่งผ่านการต่อสู้อำนาจเผด็จการมายาวนาน รู้ว่านี่คือช่องทางที่อำนาจภายนอกจะเข้ามาควบคุมหนังสือพิมพ์
จึงมีการจัดประชุมเจ้าของ บรรณาธิการ เพื่อป้องกันเสรีภาพหนังสือพิมพ์
มีการลงมติให้จัดตั้งคณะทำงานขึ้นรวบรวมความเห็นของหนังสือพิมพ์ทุกฉบับ โดยคณะทำงานชุดนี้มี นายสมหมาย ปาริจฉัตต์ และนายเรืองชัย ทรัพย์นิรันดร์ จากเครือมติชนเข้าร่วมอยู่ด้วย
หนังสือพิมพ์ทุกฉบับมีความเห็นพ้องต้องกันให้จัดตั้งสภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติขึ้น
"เพื่อ แสดงให้เห็นว่า ผู้ประกอบวิชาชีพทั้งมวลพร้อมที่จะดำเนินการควบคุมกันเอง เพื่อดำรงไว้ซึ่งหลักการพื้นฐานในเรื่องเสรีภาพ ในการแสดงความคิดเห็น อันเป็นหลักประกันความรับผิดชอบในการเสนอข่าวสาร และแสดงความคิดเห็นของผู้ประกอบวิชาชีพนี้"
ผ่านมา 14 ปี
เครือมติชน-ข่าวสด ซึ่งเป็นภาคีสมาชิกที่ให้ความร่วมมือด้วยดีมาตลอด ต้องตัดสินใจลาออก
เพราะถึงจุดที่ต้องบอกว่า เจตนารมณ์ในตอนก่อตั้งสภาการหนังสือพิมพ์ฯนั้น ได้ถูกละเมิดอย่างร้ายแรง
นั่นคือการยอมให้คนบางกลุ่มนำกระบวนการสอบสวนหนังสือพิมพ์ เพื่อไปรองรับผลประโยชน์ของพรรคการเมืองอย่างชัดเจน
นั่นคือปล่อยให้มีการจงใจหาเรื่องสอบสวนเครือมติชน-ข่าวสด ภายใต้การแทรกแซงของอิทธิพลทางการเมือง
เริ่ม ต้นจากการสอบอีเมล์ให้สินบนแล้วไม่มีอะไร จากนั้นก็เพิ่มหัวข้อสอบสวนใหม่ว่า มติชนและข่าวสดเสนอข่าวและภาพเอนเอียงเข้าข้างพรรคเพื่อไทย
ซึ่งสอดคล้องกับคำพูดของหัวหน้าพรรคการเมือง สอดรับกับจดหมายส่วนตัวที่แสดงความภักดีต่อพรรคการเมือง
แล้วในวันที่อนุกรรมการสรุปผลสอบ ก็รีบร้อนนำมาแถลงข่าว จากนั้นรีบเดินทางไปยังสำนักงาน กกต. เพื่อให้การในคดียุบพรรคการเมือง
ยัง มีประเด็นการละเมิดจรรยาบรรณของสภาการหนังสือพิมพ์ฯเองอีก โดยเปิดเผยชื่อเจ้าของนามปากกา อันเป็นการทำลายหลักคุ้มครองคอลัมนิสต์ให้สามารถแสดงความคิดเห็นทางการเมือง ได้อย่างมีเสรีภาพ
สำคัญสุด การปล่อยให้กลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง เข้ามากดดันการพาดหัวข่าวและการเลือกรูปของหนังสือพิมพ์ได้ นั่นคือการเปิดทางให้อำนาจภายนอก อำนาจรัฐ เข้ามาควบคุมหนังสือพิมพ์อย่างง่ายดาย
ทั้งหมดนี้จึงนำมาสู่บทสรุปของการลาออก
แต่ มิได้หมายความว่า มติชน-ข่าวสดจะไม่มีใครควบคุมตรวจสอบ เพราะประชาชนคนอ่านนั่นแหละคือผู้ตรวจสอบสำคัญสุด การซื้อหรือไม่ซื้อในแต่ละวันมีผลมหาศาลยิ่งกว่าสิ่งใด
ถ้าประชาชนเห็นว่าบิดเบือนเอนเอียง เขาตัดสินเอง ฉบับไหนฉบับนั้นต้องยอดตก มีจำนวนพิมพ์เพียงน้อยนิด
ยังไม่นับขั้นตอนของตลาดหลักทรัพย์ การตรวจภาษี ต่างๆนานา
อีกทั้งเครือมติชน-ข่าวสด พิสูจน์ตัวเองมาตลอดเวลากว่า 30 ปีแล้ว
หุ หุ ก่อนจะมีสภาการหนังสือพิมพ์ฯซะอีก |
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น