หน้าเว็บ

วันเสาร์ที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

รัฐสวัสดิการสแกนดิเนเวีย กับ ขบวนการแรงงาน

รัฐสวัสดิการสแกนดิเนเวีย กับ ขบวนการแรงงาน

 


ประเทศ ในย่านสแกนดิเนเวีย  หรือที่บางคนเรียกว่าประเทศ “นอร์ดิก” ประกอบไปด้วย สวีเดน เดนมาร์ค นอร์เวย์ ไอซ์แลนด์ และฟินแลนด์  ถึงแม้ว่ารูปแบบรัฐสวัสดิการของสแกนดิเนเวียจะมีความแตกต่างตามประเทศต่างๆ อยู่บ้าง  แต่จุดร่วมสำคัญคือบทบาทของขบวนการแรงงานและแนวคิดสังคมนิยมประชาธิปไตย (Social Democrat) ในการต่อสู้เพื่อก่อตั้งรัฐสวัสดิการหลังสงครามโลกครั้งที่สอง เนื่องจากระบบรัฐสวัสดิการและบทบาทของขบวนการแรงงานแยกออกจากกันไม่ได้ สิ่งที่เรามักจะเห็นในสังคมสแกนดิเนเวียคือ

  • สัดส่วนคนงานที่เป็นสมาชิกสหภาพแรงงานมักจะสูง (70-80% โดยเฉลี่ย) และ สภาแรงงานต่างๆไม่ได้แบ่งแยกตามแนวการเมืองหรือศาสนา  อย่างที่เกิดขึ้นในฝรั่งเศษ หรือ อิตาลี่
  • รัฐ ส่งเสริมระบบไตรภาคี ระหว่างสหภาพแรงงาน นายจ้าง และ รัฐ หรือระบบทวิภาคีระหว่างสหภาพแรงงานกับนายจ้าง ภายใต้การกำกับของรัฐ เพื่อสร้างเสถียรภาพให้กับระบบเศรษฐกิจทุนนิยม และเพื่อลดความเหลื่อมล้ำระหว่างพลเมือง
  • ข้อตกลงระหว่างนายทุนกับสหภาพแรงงาน นำไปสู่ระดับค่าจ้างและสวัสดิการที่เป็นมาตราฐานระดับชาติหรือระดับอุตสาหกรรม
  • รัฐ มีบทบาทสำคัญในการควบคุมตลาดแรงงานและปกป้องสภาพการจ้าง โดยที่ความเหลื่อมล้ำระหว่างผู้ที่ได้รับเงินเดือนสูงสุดกับผู้ที่ได้รับ เงินเดือนต่ำสุดในสังคมน้อยกว่าในประเทศอังกฤษ สเปน เยอรมัน และ ฝรั่งเศษ
  • รัฐ สวัสดิการเป็นระบบถ้วนหน้าที่ใช้งบประมาณจากการเก็บภาษี ต่างจากระบบประกันสังคมที่อาศัยเงินสมทบจากคนงานและนายจ้าง และในระบบรัฐสวัสิการนี้ การบริการสาธารณะ อย่างเช่น การศึกษา หรือ ระบบสาธารณูปโภค ทั้งบริการพลเมืองและสร้างงานให้พลเมือง โดยที่ชายและหญิงมีส่วนร่วมในการทำงานค่อนข้างจะเท่าเทียมกัน  เพราะมีระบบเลี้ยงเด็กและคนชราที่สนับสนุนโดยรัฐ และนโยบายที่ช่วยครอบครัว
  • รัฐ สวัสดิการแบบ “ถ้วนหน้า” นี้ ที่ครอบคลุมชนชั้นกลางด้วย สามารถหลีกเลี่ยงการตั้งบางกลุ่มให้เป็นเป้าหมายเฉพาะในการรับสวัสดิการได้ เพราะการตั้งเป้าหมายแบบนั้นจะทำลายศักดิ์ศรีของคนจน และทำให้ระบบขาดประสิทธิภาพด้วย เนื่องจากอาจเกิดหลายโครงการซ้อนกัน
  • นโยบาย เศรษฐกิจมักจะเน้นค่าจ้างสูงเพื่อบังคับให้บริษัทที่ไม่มีประสิทธิภาพล้ม ละลายไป และย้ายแรงงานกับการลงทุนไปสู่บริษัทที่มีประสิทธิภาพสูง
  • ไม่ มีการออกกฎหมายเพื่อระบุอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ  เพราะค่าจ้างโดยทั่วไปถูกกำหนดโดยการเจรจาระหว่างสภาพแรงงานและนายทุนเป็น หลัก โดยที่รัฐคอยปกป้องคุณภาพการทำงาน
  • รัฐสวัสดิการพัฒนาพร้อมๆ กับการพัฒนาประชาธิปไตยและการมีส่วนร่วมของพลเมือง


ถ้าพิจารณาข้อแตกต่างระหว่างประเทศต่างๆ ของสแกนดิเนเวีย ในเรื่องนโยบายต่างประเทศ จะเห็นว่าในปี 1949 เมื่อสงครามเย็นเกิดขึ้น เดนมาร์ค และนอร์เวย ตัดสินใจเข้าร่วมกับสหรัฐอเมริกาในแนวร่วมทหาร NATO และ เดนมาร์คก็ให้สหรัฐสร้างฐานทัพบนเกาะกรีนแลนด์ และล่าสุดส่งทหารไปช่วยสหรัฐรบในอัฟกานิสถาน แต่สวีเดนกับฟินแลนด์รักษาความอิสระ เป็นกลาง ไม่เข้าข้างฝ่ายใดในยุคสงครามเย็น

(อ่านต่อ)
http://redthaisocialist.com/2011-05-20-06-58-02/321-2012-02-04-18-54-02.html

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น