เสวนาวิชาการ: สถาบันกษัตริย์และประชาธิปไตยไทย
ประชาธิปไตยและวิกฤตการณ์ในประเทศไทย DNN 9 3 2012
http://www.youtube.com/watch?feature=player_embedded&v=eThuE3zb4IE
ประชาธิปไตยและวิกฤตการณ์ในประเทศไทย 9 3 2012
http://www.youtube.com/watch?v=UUJunAsNkNc&feature=player_embedded
ประชาธิปไตยและวิกฤตการณ์ในประเทศไทย จากว๊อยส์ทีวี 9 3 2012
http://www.youtube.com/watch?feature=player_embedded&v=I_AsfPNhrOw
เมื่อวันที่ 9 มี.ค. ศูนย์ติดตามประชาธิปไตยไทย คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกับมหาวิทยาลัยแมคกิลล์ ประเทศแคนาดา ร่วมจัดประชุมทางวิชาการในหัวข้อ Democracy and Crisis (ประชาธิปไตยและวิกฤติการณ์) โดยมีนักวิชาการทั้งไทยและต่างประเทศร่วมอภิปรายในหัวข้อประชาธิปไตยกับการ เลือกตั้ง ขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคม และสถาบันกษัตริย์กับประชาธิปไตย
โดยในหัวข้อสุดท้าย มีผู้ร่วมนำเสนอได้แก่ เดวิด เสตร็กฟัสส์ นักวิชาการอิสระ ธงชัย วินิจจะกูล นักวิชาการประวัติศาสตร์มหาวิทยาลัยวิสคอนซิน เมดิสัน และปวิน ชัชวาลพงศ์พันธ์ นักวิจัยสถาบันเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา มหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์
เดวิด เสตร็กฟัสส์ ผู้เขียนหนังสือ Truth on Trial in Thailand: Defamation, Treason, and Lèse-Majesté นำเสนอแบบอย่างของสถาบันกษัตริย์ในยุโรป ในฐานะที่สามารถดำรงมาได้อย่างยาวนาน และอยู่ร่วมกับความเป็นประชาธิปไตยของรัฐได้อย่างไม่มีปัญหา โดยเสตร็กฟัสส์ใช้กรอบ 5 ข้อเพื่อศึกษาสถาบันกษัตริย์ในยุโรปและในประเทศไทยเชิงเปรียบเทียบ ได้แก่ ความสัมพันธ์ระหว่างกษัตริย์และรัฐธรรมนูญ การทำโพล ความโปร่งใสด้านงบประมาณ การใช้กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ และกฎหมายกบฏ
ในแง่ความสัมพันธ์ของกษัตริย์ต่อรัฐธรรมนูญของไทย เมื่อเปรียบเทียบกับประเทศในยุโรปแล้ว ยังนับว่ามีความคลุมเครืออยู่มาก โดยจะเห็นตัวอย่างในประเทศเนเธอร์แลนด์ มาตรา 32 ที่กำหนดให้กษัตริย์ต้องสาบานตนต่อสาธารณะว่าจะพิทักษ์รัฐธรรมนูญ หรือประเทศนอร์เวย์ มาตรา 19 ในรัฐธรรมนูญกำหนดว่ากษัตริย์ต้องสาบานต่อรัฐสภาว่าจะปฏิบัติตามธรรมนูญของ ประเทศ ในขณะที่ในประเทศไทย ยังไม่มีการกำหนดตำแหน่งแห่งที่ในเรื่องนี้อย่างชัดเจน
(อ่านต่อ)
http://www.prachatai.com/journal/2012/03/39600
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น