หน้าเว็บ

วันเสาร์ที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2555

เรื่องเล่าข้างหลังภาพ (story telling behind the picture)


 





 

เรื่องเล่าข้างหลังภาพที่ 7 ระบบเศรษฐกิจแบบไหลริน (trickle down effect economics) เป็นระบบเศรษฐกิจที่เชื่อการกระจายรายได้ขึ้นอยู่กับความเติบโตทาง เศรษฐกิจ โดยการไหลรินของผลประโยชน์ จากนายทุนใหญ่ ไปสู่นายทุนย่อย และสู่คนยากคนจน จากเมืองสู่ ชนบท ซึ่งของประเทศไทยก็มีแนวคิดนี้เช่นเดียวกัน

ในเกือบทุกรัฐบาลที่เน้นพัฒนาเศรษฐกิจให้เจ้าของทุนทั้งจากนอกประ เทศ ในประเทศเพื่อสร้างงาน สร้างรายได้แก่ประชาชน แต่ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง ก็คือผลกำไร และรายได้ส่วนใหญ่ตกกับนายทุน และนักการเมือง จนปัจจุบันประเทศไทยมีการกระจายราย ได้ในระดับค่อนข้างต่ำ โดยได้คะแนนการพัฒนาคน(Human Development Index : HDI )ในลำดับ 103 ของโลก มีคะแนนการกระจายรายได้ ตามค่า สัมประสิทธิ์ความไม่เสมอภาค (Gini coefficient) = 0.536 ซึ่งมีความเหลื่อมล้ำมากที่ในสุดในภูมิภาคอาเซียน

 จากความไม่เป็นธรรมในการกระจายรายได้ จนเกิดภาวะ "รวยกระจุก จนกระจาย" มีรายได้แตกต่างกันระหว่างครัวเรือนคนรวย กับครัวเรือนคนจน ถึง 12.3 เท่า การเก็บภาษีในอัตราเดียวทั้งสินค้าจำเป็น และฟุ่มเฟือย การไม่เก็บภาษีที่ดิน และมรดก การเก็บภาษีอัตราก้าวหน้าที่หยุดอยู่เพียง 23 % เป็นต้น

การกระจายทรัพยากรทางสุขภาพเช่นแพทย์ในกรุงเทพฯ มีมากกว่าในเขตชนบทภาคอีสานประมาณ 8-10 เท่าตัว ซึ่งในปัจจุบันมีแพทย์เฉลียในเขตชนบทของไทยใกล้เคียงกับของประเทศอัฟริกาใต้ทะเลทรายซาฮารา(Sub-Sahara) การลงทุนหลายพันล้านบาทเพื่อสร้างเมดิคัล ฮับ(medical hub) ในเมืองหลวง แต่มีงบเพียงน้อยนิดในการพัฒนาในเขตชนบท ซึ่งตามด้วยการดึงแพทย์ พยาบาลไว้ในเมืองใหญ่ การพัฒนาการศึกษาที่เรามีเด็กที่เก่งได้เหรียญทองวิทยาศาสตร์โอลิมปิก แต่ผลสัมฤทธฺในการสอบของเด็กวิชาคณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษต่ำลงทุกปี จนไม่ถึง 30%

ในปัจจุบัน ทั้งนี้รัฐบาลคือผู้ดูแล รับผิดชอบในการจัดสรรทรัพยาของประเทศให้เกิดความเป็นธรรม แต่ที่ผ่านยังทำได้น้อยทั้งที่ทำงาน แบบรู้เห็นเป็นใจกับนายทุน หรือทำงานแบบตามกระแสไปวันๆ ยังไม่ได้รับรายงานก็ไม่ทราบ หวังว่าภาพที่เห็นจะลดลง ๆ ในประเทศของเราจากการเข้ามีส่วนร่วมในการบริหารประเทศ ของภาคประชาชนมากขึ้นต่อไป

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น