หน้าเว็บ

วันเสาร์ที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2555

(เก็บตก)วันสตรีสากลและการต่อสู้ของสหภาพแรงงานอิเลคทรอนิคส์ไทยที่ถูกเลิกจ้าง


(เก็บตก)วันสตรีสากลและการต่อสู้ของสหภาพแรงงานอิเลคทรอนิคส์ไทยที่ถูกเลิกจ้าง

 

 


“วันสตรีสากล” ในสังคมไทย ปัจจุบันมิอาจถูกนิยามความหมายผูกขาดเฉพาะกลุ่มผู้ใช้แรงงานเท่านั้น ผู้หญิงหลากหลายสาขาอาชีพ ได้ตระหนักถึงความสำคัญความหมายของผู้หญิงที่มีความเป็นมนุษย์เสมอภาคกับ ผู้ชาย  การเรียกร้องและการมีข้อเสนอทางสังคมจึงเกี่ยวข้องกับมิติความหลากหลายใน มุมของผู้หญิงแต่ละกลุ่มแต่ละองค์กรแต่ละสาขาอาชีพแต่ละความคิด 

อย่างไรก็ตาม ประวัติศาสตร์การก่อกำเหนิด”วันสตรีสากล” นั้นเกี่ยวข้องกับชนชั้นผู้ใช้แรงงานอย่างมิอาจปฏิเสธได้และล้วนเป็นผู้ใช้ แรงงานที่รักประชาธิปไตยมิใช่อำมาตยาธิปไตยเป็นแน่

“8 มีนาคม” ความหมายผู้หญิงและชนชั้นผู้ใช้แรงงาน

จุดเริ่มต้นวันสตรีสากล  เริ่มจากเมื่อวันที่ 8 มีนาคม  พ.ศ.2400   กรรมกรหญิงในโรงงานทอผ้า รัฐนิวยอร์ค ประเทศสหรัฐอเมริกาได้พากันลุกฮือประท้วงให้นายจ้างเพิ่มค่าจ้าง และเรียกร้องสิทธิของพวกเธอ แต่สุดท้ายกลับมีผู้หญิงถึง 119 คนต้องเสียชีวิตจากเหตุการณ์นี้ ด้วยการที่มีคนลอบวางเพลิงเผาโรงงานที่พวกเธอนั่งชุมนุมกันอยู่ 

ในปี พ.ศ.2450 กรรมกรหญิงในโรงงานทอผ้าที่เมืองชิคาโก ประเทศสหรัฐอเมริกาทนไม่ไหวต่อการเอารัด เอาเปรียบ กดขี่ ทารุณ ของนายจ้างที่ใช้งานพวกเธอเยี่ยงทาส เนื่องจากกรรมกรหญิงเหล่านี้ต้องทำงานหนักถึงวันละ 16-17 ชั่วโมง โดยไม่มีวันหยุด ไม่มีประกันการใช้แรงงานใดๆ เป็นผลให้เกิดความเจ็บป่วยล้มตายตามมาในระยะเวลาอันรวดเร็ว แต่กลับได้รับค่าแรงเพียงน้อยนิด และหากตั้งครรภ์ก็ถูกไล่ออก 
จึงมีการเคลื่อนไหวเรียกร้องสิทธิศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์คืนมา  และมี "คลาร่า เซทคิน" ชาวเยอรมัน  เป็นผู้นำสำคัญในการเคลื่อนไหว

บทบาทของ"คลาร่า เซทคิน"  นั้น เป็นแกนนำสำคัญในการต่อต้านอดอล์ฟ ฮิตเลอร์ แห่งพรรคนาซี และต่อต้านการใช้อำนาจเผด็จการ
 
(อ่านต่อ)
http://www.prachatai.com/journal/2012/03/39586

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น