(กรรมกรทั่วโลกล้วนเป็นพี่น้องกัน)
"โอบามา" เรียกร้องทุกฝ่ายดำเนินการมากกว่านี้เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิสหรัฐ หลังตัวเลขการจ้างงานทรงตัวที่ระดับ 8.2%
7 ก.ค. 55 - นายบารัค โอบามา ประธานาธิบดีสหรัฐ กล่าวว่า สหรัฐอเมริกาต้องทำมากกว่าการกระตุ้นการจ้างงานเพื่อชดเชยตำแหน่งงานที่หด หายไปในช่วงเศรษฐกิจถดถอย โดยทุกฝ่ายต้องดำเนินการมากกว่านี้เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจสหรัฐ
"ภารกิจของเราไม่ใช่แค่การทำให้คนมีงานทำอีกครั้ง
แต่เราต้องฟื้นฟูเศรษฐกิจเพื่อให้ทำงานแล้วได้เงิน
เพื่อให้ทุกคนที่ทำงานหนักมีโอกาสเจริญก้าวหน้า" นายโอบามา กล่าวปราศรัย
นายโอบามา ออกมาแสดงความคิดเห็นหลังจากเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา
กระทรวงแรงงานสหรัฐเปิดเผยว่า ตัวเลขจ้างงานนอกภาคการเกษตรประจำเดือนมิ.ย.
เพิ่มขึ้น 80,000 ตำแหน่ง
ซึ่งน้อยกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ว่าจะเพิ่มขึ้น 90,000-100,000
ตำแหน่งโดยประมาณ ขณะที่อัตราว่างงานทรงตัวที่ระดับ 8.2%
ซึ่งทำให้ตลาดเกิดความกังวลระลอกใหม่เรื่องการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ
ข้อมูลการจ้างงานที่น่าผิดหวังทำให้แนวโน้มที่นายโอบามา
จะได้รับการเลือกตั้งอีกครั้งมืดมนกว่าเดิม
เนื่องจากเศรษฐกิจเป็นประเด็นหลักในการหาเสียงตั้งแต่เริ่มต้น
ขณะที่นายมิทท์ รอมนีย์ ผู้ลงชิงตำแหน่งประธานาธิบดีจากพรรครีพับลิกัน
ก็อาศัยโอกาสนี้ในการโจมตีนายโอบามาเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา
โดยกล่าวว่าอัตราว่างงาน 8.2% ถือว่า "สูงเกินจะรับไหว"
และรัฐบาลจำเป็นต้องผ่อนปรนข้อบังคับต่างๆและลดภาษีเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ
สหภาพแรงงานเซ็กส์เวิร์คเกอร์ฝรั่งเศสประท้วงแนวคิดลงโทษผู้ซื้อบริการทางเพศ
7 ก.ค. 55 -
ที่ผ่านมากลุ่มชนชาวฝรั่งเศสรวมทั้งผู้ประกอบอาชีพขายบริการทางเพศรวมตัวกัน
ประท้วงแนวคิดของ Najat Vallaud-Belkacem
รัฐมนตรีสิทธิสตรีของฝรั่งเศสหลังจากเสนอนโยบายสะกัดการเติมโตของอุตสาหกรรม
ค้าเซ็กส์ ด้วยแนวคิดลงโทษผู้ที่จ่ายเงินซื้อบริการทางเพศ
เมื่อเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา
Morgane Merteiul เลขาธิการทั่วไปของสหภาพแรงงานเซ็กส์เวิร์คเกอร์
ระบุว่า Vallaud-Belkacem
ควรไปทำการบ้านศึกษาดูก่อนว่าอาชีพขายบริการนั้นเป็นอย่างไรและการต่อต้าน
การบังคับใช้แรงงานก็ถือเป็นหลักการเดียวกับการให้สิทธิเสรีภาพแก่ผู้ที่
เต็มใจจะทำงานแบบนี้
มูลนิธิ Scelles ประมาณการว่าในฝรั่งเศสมีผู้ประกอบอาชีพขายบริการทางเพศ
18,000-20,000 คนในปี ค.ศ. 2012 ถึงแม้ว่าอาชีพนี้จะไม่ผิดกฎหมาย
แต่ก็มีการห้ามให้มีลักษณะตัวกลางในการจัดหาหญิงค้าบริการให้ผู้ซื้อ
มีการห้ามการบังคับให้ค้าประเวณี
และการเชื้อเชิญให้ซื้อบริการทางเพศในที่สาธารณะ
แต่ปัจจุบันเริ่มมีผู้สนับสนุนให้มีกฎหมายจำกัดการค้าบริการทางเพศ
เนื่องจากปัจจุบันมีคนขายบริการเดินหาลูกค้าตามที่สาธารณะ
และเกิดกลุ่มมาเฟียที่ลักลอบนำหญิงขายบริการจากเอเชีย, แอฟริกา
และประเทศยุโรปอื่นๆ เข้ามาในฝรั่งเศส
แต่ทั้งนี้กลุ่มผู้ขายบริการทางเพศกลับมองว่าหากมีกฎหมายจำกัดการค้า
บริการทางเพศขึ้นมาจริง
ยิ่งจะทำให้กลุ่มมาเฟียก่ออาชญากรรมแบบนี้เพิ่มมากขึ้น
เปอโยต์ลดคนงาน 8,000 คน
13 ก.ค. 55 - บริษัทผลิตรถยนต์ PSA เปอโยต์-ซีตรองที่มีปัญหาของฝรั่งเศส
กำลังเผชิญกับปัญหายอดขายที่ลดต่ำลงอย่างมากในทวีปยุโรปใต้
ประกาศแผนลดค่าใช้จ่ายกะทันหันและร้ายแรง ด้วยการปรับลดตำแหน่งงานลงถึง
8,000 ตำแหน่งในฝรั่งเศส
และปิดโรงงานผลิตสำคัญโรงหนึ่งทางตอนเหนือของกรุงปารีส
พนักงานที่โรงงานผลิตในเมืองโอลแน-ซู-บัวส์ พร้อมใจกันผละงาน
และจัดการประท้วงขึ้นที่หน้าโรงงานซึ่งเป็นหนึ่งในโรงงานผลิตรถยนต์ที่ใหญ่
ที่สุดของฝรั่งเศส
และเป็นป้อมปราการของการผลิตรถยนต์และสหภาพแรงงานของพนักงานผลิตรถยนต์
ฝ่ายบริหารของบริษัทประกาศปรับลดตำแหน่งงานและปิดโรงงานนี้ระหว่างการประชุมร่วมกับตัวแทนของพนักงานเมื่อวานนี้
บริษัท PSA เปอโยต์-ซีตรอง ซึ่งอาจเผชิญกับการขาดทุนถึง 700 ล้านยูโร
หรือประมาณ 27,100 ล้านบาท ในช่วงครึ่งแรกของปีนี้ กำลังพยายามประหยัดเงิน
1,000 ล้านยูโร ขณะที่บริษัทกำลังต่อสู้เพื่อแข่งขันในตลาดรถยนต์ยุโรป
ที่มีการแข่งขันกันอย่างดุเดือด
บริษัทได้รับผลกระทบหนักจากยอดขายที่ดิ่งลงเหวในยุโรปใต้ที่กำลังเผชิญกับ
ภาวะถดถอยทางเศรษฐกิจ บริษัทได้เห็นยอดขายตกลง 20 % ในยุโรปในช่วงไตรมาสแรก
แผนปรับปรุงโครงสร้างยังรวมถึงการปรับลดตำแหน่งงาน 1,400
ตำแหน่งที่โรงงานผลิตรถยนต์ในเมืองแรน และปรับลดตำแหน่งงานอีก 3,600
ตำแหน่ง ตามโรงงานผลิตอื่นๆ ทั่วฝรั่งเศส
ปัจจุบันบริษัทว่าจ้างพนักงานประมาณ 100,000 คนในฝรั่งเศส และอีกประมาณ
209,000 คนทั่วโลก
การประกาศปรับปรุงโครงสร้างมีขึ้นหลังบริษัทประกาศแผนเมื่อปีที่แล้วว่าจะลดตำแหน่งงานลง 6,000 ตำแหน่ง
นายฟิลิป วาแร็ง
ประธานคณะกรรมการบริหารของบริษัทแถลงต่อสื่อมวลชนในกรุงปารีสว่า
ขณะนี้บริษัทกำลังขาดทุนเดือนละประมาณ 100 ล้านยูโร แต่เขาให้คำมั่นว่า
บริษัทจะไม่ทอดทิ้งใครไว้ข้างทางเด็ดขาด
บริษัทยังหวังว่าการร่วมเป็นพันธมิตรใหม่กับบริษัทเจเนอรัลมอเตอร์สของ
สหรัฐฯ จะช่วยให้บริษัทกลับมามีกำไรในระยะยาว พนักงานที่นัดหยุดงานประมาณ
250 คน มาชุมนุมหน้าโรงงานโอลไน-ซู-บัว หลังมีคำประกาศ
หนุ่มอิสราเอลเผาตัวประท้วงวิกฤตค่าครองชีพแพง โวยรัฐ"ปล้นคนจน-ช่วยคนรวย"
15 ก.ค. 55 - สำนักข่าวต่างประเทศรายงานเมื่อวันที่ 15 ก.ค.ว่า
เกิดเหตุระทึก หนุ่มอิสราเอลรายหนึ่งได้ก่อเหตุจุดไฟเผาตัวเอง
ระหว่างการชุมนุมรำลึกเหตุการณ์ 1
ปีผู้คนประท้วงรัฐบาลอิสราเอลต่อปัญหาค่าครองชีพและปัญหาสังคมต่าง ๆ
ในกรุงเทล อาวีฟ เมืองหลวง
โดยหนุ่มรายนี้มีอาการสาหัสก่อนถูกนำตัวส่งโรงพยาบาล
ขณะที่สื่อมวลชนอิสราเอลรายงานว่า หนุ่มรายนี้ได้ทิ้งจดหมายในที่เกิดเหตุ
มีข้อความว่า"รัฐอิสราเอลได้ขโมยตัวตนของผมและปล้นผม
พวกเขาทำให้ผมไร้ความช่วยเหลือ พร้อมทั้งตำหนิรัฐบาลว่า
กระทำย่ำยีปชช.และนำผลประโยชน์ของคนจนไปให้กลุ่มคนรวย
รายงานระบุว่า
การชุมนุมเมื่อวันเสาร์เป็นความพยายามที่จะกระตุ้นให้ประชาชนอิสราเอลจดจำ
เหตุการณ์ประท้วงเมื่อเดือนก.ค.ปีที่แล้ว ต่อปัญหาราคาบ้านแพง
ก่อนลุกลามไปสู่การประท้วงค่าครองชีพแพง ค่าแรงต่ำ
และการขาดการศึกษาที่ดีให้แก่เยาวชน
และการประท้วงมีขึ้นหลังจากรัฐบาลอิสราเอลได้คณะกรรมการเพื่อศึกษาว่าจะ
สามารถหาทางออกในการแก้ปัญหาสังคมเหล่านี้ได้อย่างไร
โดยผู้นำกลุ่มประท้วงบอกว่า
คณะกรรมการดังกล่าวไม่ได้ช่วยให้มีการเปลี่ยนแปลงใด ๆ เกิดขึ้น
ไม่ยอมให้ลูกจ้างหญิงลาก่อนคลอดโทษปรับสูงสุด3แสนเหรียญไต้หวัน
17 ก.ค. 55 - คณะกรรมการการแรงงานไต้หวัน (CLA) ได้เปิดเผยว่า
ลูกจ้างซึ่งเป็นหญิงมีครรภ์มีสิทธิที่จะขอลาคลอดก่อนการคลอดเพื่อดูแลครรภ์
ได้ตามที่ระบุไว้ในกฎหมายมาตราที่ 4 ของกฎหมายการขอลาหยุดของแรงงาน
และมาตราที่ 15 ของกฎหมายความเท่าเทียมกันทางเพศในการทำงาน
ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่เดือนพ.ค.2553 และ เดือนมกราคม 2554
ตามลำดับโดยหากนายจ้างไม่ยินยอมปฏิบัติตามกฎหมายมีโทษปรับสูงสุด 300,000
เหรียญไต้หวัน
สำนักงานมาตรฐานแรงงาน คณะกรรมการการแรงงานชี้ว่า
ขอเพียงลูกจ้างหญิงได้รับการตรวจวินิจฉัยจากแพทย์ว่ามีความจำเป็นต้องลาหยุด
เพื่อดูแลครรภ์ ซึ่งการลาหยุดนี้สามารถนับรวมกับการลาหยุดกรณีป่วยหนัก
และต้องรับการรักษาในโรงพยาบาลได้ (สูงสุดไม่เกิน 1 ปี)
โดยหากนายจ้างไม่ปฏิบัติตามข้อบังคับดังกล่าวมีโทษปรับตามกฎหมายตั้งแต่
20,000-300,000 เหรียญไต้หวันนอกจากนี้
ตามกฎหมายความเท่าเทียมกันทางเพศในการทำงาน
ได้มีการระบุเกี่ยวกับการขอลาก่อนคลอดเพื่อดูแลครรภ์ของลูกจ้างหญิงไว้อย่าง
ชัดเจนเช่นกันว่า นายจ้างห้ามปฏิเสธ
และนายจ้างไม่สามารถอ้างการลาหยุดนี้เพื่อนำมาหักเงินโบนัสประจำปี
หรือนำมาประเมินการทำงานที่ไม่เป็นผลดีต่อลูกจ้างได้
ลอนดอน จนท.ตม.โหวตสไตร์คงาน หลังโดนลอยแพ-ลดค่าจ้าง
19 ก.ค. 55 - ลอนดอน เกมส์ ยังต้องรับมือกับปัญหาอย่างต่อเนื่อง ล่าสุด
รายงานข่าวเผยว่า สหภาพผู้จ้างงานตรวจพาสปอร์ต ผ่านเข้าเมืองในกรุงลอนดอน
ลงคะแนนโหวตหนุนหลังสไตร์คงาน เมื่อวันที่ 18 กรกฎาคมที่ผ่านมา
จากความไม่พอใจที่โดนตัดเงินค่าจ้างและมีการลดการจ้างงานด้วย
ซึ่งอาจส่งผลก่อให้เกิดปัญหาการบริหารจัดการ
ทำให้ผู้เดินทางต้องรอคิวตรวจเอกสารผ่านเข้าเมืองยาวเหยียด
สำนักข่าวรอยเตอร์เผยว่า
เจ้าหน้าที่ผู้ทำหน้าที่ตรวจคนเข้าเมืองในกรุงลอนดอนมีจำนวนไม่เพียงพอส่งผล
ทำให้ผู้เดินทางเข้าเมืองในช่วงการแข่งขันโอลิมปิกบางกลุ่มต้องเข้าแถวรอ
ตรวจเอกสารเข้าเมืองกันนานนับชั่วโมง ล่าสุด สหภาพการบริการการค้า
และบริการสาธารณะ (พีซีเอส) เปิดเผยกับรอยเตอร์ว่า
สมาชิกของสหภาพที่ทำหน้าที่ตรวจคนเข้าเมือง จำนวน 57
เปอร์เซ็นต์ลงคะแนนเสียงหนุนการสไตร์คงานสืบเนื่องมาจากปัญหาความขัดแย้งกับ
กระทรวงมหาดไทยเรื่องการจ้างงานและการลดเงินค่าจ้างอันส่งผลให้มีจำนวนแรง
งานน้อยลงจนเกิดความล่าช้า
และทางสหภาพจะทำการประกาศรูปแบบการเคลื่อนไหวสไตร์คงาน
และวันที่จะดำเนินการอีกครั้งในวันนี้ (19 กรกฎาคม)
อย่างไรก็ดี รายงานข่าวจากรอยเตอร์ระบุว่า สมาชิกจำนวน 20
เปอร์เซ็นต์ของสหภาพเข้าร่วมการโหวตครั้งนี้ โดย 75 เปอร์เซ็นต์
ของผู้เข้าโหวตหนุนหลังการดำเนินการรูปแบบอื่น
ขณะที่ทางฝ่ายรัฐบาล
ซึ่งได้คัดเลือกสต๊าฟฟ์พิเศษเพื่อช่วยงานในช่วงโอลิมปิกแล้ว อ้างว่า
จำนวนผู้เข้าโหวตมีน้อยเกินกว่าที่จะทำให้สหภาพมีสิทธิ์ชอบธรรมในการสไตร์ค
งาน
ที่ผ่านมา
การบริหารจัดการระหว่างที่นักกีฬาเริ่มทยอยเดินทางเข้ามาในกรุงลอนดอนแสดง
ให้เห็นช่องโหว่ และเริ่มเห็นปัญหาบ้าง เมื่อมีรายงานข่าวว่า
ผู้เดินทางบางคนอาจต้องรอคิวตรวจเข้าเมืองนานหลายชั่วโมง
การแข่งขันโอลิมปิก เกมส์ ที่ลอนดอน เริ่มต้นวันที่ 27 กรกฎาคม
โดยคาดการณ์ว่าจะมีผู้เดินทางเข้าลอนดอนจำนวนแตะหลักหมื่นต่อวัน
และเชื่อว่าช่วงปิดการแข่งขันโดยเฉพาะวันที่ 13
สิงหาคมจะเป็นวันที่สนามบินฮีทโธรว์
ในลอนดอนต้องรับมือกับผู้โดยสารมากที่สุดวันหนึ่ง
จลาจลโรงงาน'ซูซูกิ'อินเดีย คนงานรุมทำร้ายผู้จัดการบาดเจ็บนับร้อย
19 ก.ค. 55 - มารูติ ซูซูกิ ผู้ผลิตรถยนต์รายใหญ่ของอินเดีย
ต้องระงับการผลิต ณ โรงงานแห่งหนึ่งใกล้นิวเดลีเมื่อวันพฤหัสบดี(19)
หลังผู้จัดการรายหนึ่งถูกไฟครอกจนเสียชีวิตและอีกจำนวนมากได้รับบาดเจ็บใน
เหตุจลาจลโดยฝีมือของเหล่าพนักงานผู้โกรธกริ้ว
บริษัทมารุติ ระบุว่าผู้เสียชีวิตคือนายอัฟนิช คูมาร์ เดฟ
ผู้จัดการฝ่ายบุคคลของโรงงาน
โดยซากไหม้เกรียมของเขาถูกพบหลังเกิดเหตุจลาจลเมื่อช่วงค่ำวันพุธ(18)
ซึ่งระหว่างนั้นหัวหน้าแผนกหลายคนก็ถูกเล่นงานและอาคารสำนักงานโดนวางเพลิง
"เราตกอยู่ในความสับสนอลหม่านจากความรุนแรงฝีมือม็อบ"
มารุติระบุในถ้อยแถลง พร้อมยกย่อง เฟด
สำหรับความทุ่มเททำงานด้านอุตสาหกรรมสัมพันธ์ด้วยความรัก" ณ โรงงานมณีสาร์
ห่างจากเมืองหลวงราว 50 กิโลเมตร
หุ้นของมารุติ ดิ่งลงเกือบร้อยละ 9
เหตุนักลงทุนกังวลว่าบริษัทแห่งนี้อาจต้องปิดโรงงานเป็นเวลานาน
หลังจากเมื่อปีที่แล้ว ปฏิบัติการของ มารุติ
ก็เผชิญความยุ่งเหยิงนานหลายเดือนจากปัญหาเกี่ยวกับค่าจ้างและรับรองสหภาพ
บริษัทซึ่งมี ซูซูกิ มอเตอร์ ของญี่ปุ่นเป็นเจ้าของ
เปิดเผยว่าอาคารสำนักงานต่างๆของโรงงานถูกไฟเผาผลาญเสียหายร้ายแรงเกินกว่า
ที่จะซ่อมแซม ขณะที่เหล่าผู้จัดการเกือบ 100 คน ต้องถูกนำตัวส่งโรงพยาบาล
ในนั้นบางรายอาการสาหัส
พวกคนงาน บางส่วนใช้แท่งเหล็กรุมทำร้ายเหล่าผู้จัดการฝ่าย
ทั้งทุบตีบริเวณศีรษะ ขาและหลัง เป็นผลให้เหยื่อเลือดอาบ
กระดูกหักและบางรายก็ถึงขั้นหมดสติ นอกจากนี้บริหารระดับสูงชาวญี่ปุ่น 2 คน
ในนั้นคือผู้จัดการโรงงานมณีสาร์ ก็ถูกนำส่งโรงพยาบาลเช่นกัน
แต่ไม่มีการเปิดเผยถึงอาการบาดเจ็บของพวกเขา
มารูติ ใช้โรงงานแห่งนี้เป็นฐานการผลิตรถยนต์ราว 550,000 คันต่อปี
คิดเป็น 1 ใน 3 ของการผลิตทั้งหมดของบริษัท
และพวกเขาแถลงว่าจะตัดสินใจเร็วๆนี้ว่าจะดำเนินการอย่างไรต่อไปในเรื่องของ
การกลับคืนสู่ปฏิบัติการ
"นี่คือเหตุความไม่สงบของคนงานครั้งเลวร้ายที่สุดที่ผมเคยเห็นมาในรอบ
หลายปีนี้" ตรีเพส ราธอร์ กรรมการผู้จัดการบริษัทที่ปรึกษา ไอเอชเอส
ออโตโมทีฟ อินเดีย บอกกับเอเอฟพี "สถานการณ์เลวร้ายมาก
พวกผู้จัดการระดับอาวุโสอาจไม่อยากทำงานให้มารูติ ณ
โรงงานดังกล่าวอีกแล้วในอนาคต เนื่องจากหวั่นกลัวด้านความปลอดภัย"
ด้าน มเหสวรา ดายัล รองผู้บัญชาการตำรวจเปิดเผยว่ามีคนงานอย่างน้อย 88
คนถูกจับกุมและมีความเป็นไปได้ที่เหล่านั้นจะถูกตั้งข้อกาฆาตกรรมด้วยการก่อ
จลาจลและวางเพลิง
มารูติ เปิดเผยว่าเหตุวุ่นวายเริ่มขึ้นในตอนเช้าวันพุธ(18)
เมื่อพนักงานฝ่ายผลิตรายหนึ่งทำร้ายผู้จัดการฝ่าย
และกล่าวหาว่าสหภาพคนงานพยายามขัดขวางการลงโทษทางวินัยต่อพนักงานรายนี้
จากนั้นก็ปิดกั้นห้ามเหล่าผู้จัดการออกจากโรงงาน
"ไม่ว่าเหตุผลใดๆ นี่ไม่ใช่ปัญหาความสัมพันธ์อุตสาหกรรม
ในธรรมชาติความเห็นต่างระหว่างผู้จัดการและคนงานเกี่ยวกับประเด็นค่าจ้าง
หรือเงื่อนไขการทำงาน
แต่มันคือความรุนแรงที่ไม่ได้เกิดจากแรงยั่วยุและน่าขยะแขยงสิ้นดี"
แต่ทางสหภาพแรงงานอ้างเหตุผลที่ต่างกัน
โดยบอกว่าผู้จัดการคนดังกล่าวข่มเหงคนงานรายนี้ที่เป็นวรรณะต่ำที่สุดของ
อินเดีย แถมเขายังถูกพักงานหลังจากยื่นร้องเรียนอีกด้วย
โรงงานมณีสาร์ มีพนักงานราว 2,000 คน และทำหน้าที่ผลิตรถยนต์ "สวิฟท์" ที่มียอดขายสูงสุดของบริษัท รวมถึง A-star และ SX4 ซีดาน
คนงานชาวกรีกเดินขบวนประท้วงมาตรการรัดเข็มขัด
27 ก.ค. 55 - คนงานจากภาคต่าง ๆ ในกรีซรวมตัวประท้วงในกรุงเอเธนส์
เพื่อต่อต้านมาตรการรัดเข็มขัดของรัฐบาลที่ต้องดำเนินการตามพันธกรณีกับ
สหภาพยุโรป หรือ อียู และกองทุนการเงินระหว่างประเทศ หรือไอเอ็มเอฟ
ประธานสหภาพคนงานต่อเรือแห่งหนึ่ง ระบุว่า
พวกเขาจะเดินหน้าต่อสู้ไปจนกว่าจะได้รับความยุติธรรม
โดยรัฐบาลและบริษัทจะต้องคำนึงว่าพวกเขาคือคนงานไม่ใช่ทาส
ทั้งนี้ ก่อนหน้านี้บริษัทหลายแห่งต้องปลดคนงาน ลดชั่วโมงการทำงาน
และลดเงินเดือนลูกจ้าง
การประท้วงดังกล่าวมีขึ้นในช่วงที่คณะผู้ตรวจสอบจากอียูและไอเอ็มเอฟ
อยู่ระหว่างการเยือนกรีซเพื่อประเมินความคืบหน้าว่ากรีซได้ดำเนินการตาม
พันธกรณีในการขอรับเงินช่วยเหลือหรือไม่
ซึ่งรัฐบาลกรีซได้ยื่นเสนอมาตรการลดรายจ่ายเป็นเงินถึง 12,000 ล้านยูโร
ในระยะ 2 ปีต่อคณะผู้ตรวจสอบ
หมู่เกาะเคย์แมนเสนอ "เก็บภาษีแรงงานต่างชาติ" ครั้งแรกในประวัติศาสตร์
30 ก.ค. 55 -
หมู่เกาะเคย์แมนซึ่งเป็นที่รู้จักในฐานะแหล่งฟอกเงินของมหาเศรษฐีทั่วโลก
เสนอแผนเก็บภาษีโดยตรงจากแรงงานต่างชาติเพื่อบรรเทาปัญหาขาดดุลงบประมาณข้อ
เสนอเก็บ
ค่าธรรมเนียมทำนุบำรุงชุมชนดังกล่าวนับเป็นสิ่งที่ไม่เคยมีมาก่อนในประวัติ
ศาสตร์ของหมู่เกาะแห่งนี้ และหมายความว่า แรงงานต่างชาติที่มีรายได้เกิน
24,000 ดอลลาร์สหรัฐจะถูกหักภาษีโดยตรงร้อยละ 10
มณฑลกว่างตงกวาดล้างเอ็นจีโอครั้งใหญ่
31 ก.ค. 55 - เซาท์ไชน่ามอร์นิ่งโพสต์ -องค์กรพัฒนาเอกชน หรือเอ็นจีโอ
ซึ่งทุ่มเททำงานในการพิทักษ์สิทธิของแรงงานอพยพถูกทางการมณฑลกว่างตง
(กวางตุ้ง) สั่งปิดไปแล้วอย่างน้อย 7 แห่ง สวนทางกับที่เคยประกาศว่า
จะผ่อนคลายข้อกำหนด ที่เข้มงวดในการอนุญาตให้เอ็นจีโอจดทะเบียน
นักเคลื่อนไหวด้านสิทธิแรงงานระบุว่า การสั่งกวาดล้าง ที่ดำเนินมานาน 5
เดือนเป็นสิ่งที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน ทั้งที่ทางการเคยประกาศว่า
กว่างตงจะเป็นมณฑลแห่งแรกบนแผ่นดินใหญ่ ที่มีการผ่อนคลายข้อกำหนด
ในการจดทะเบียนสำหรับเอ็นจีโอตั้งแต่วันที่ 1 ก.ค. เป็นต้นไป
นักเคลื่อนไหวหลายรายกล่าวว่า พวกตนถูกขับไล่ออกจากสำนักงาน
หลังจากเจ้าของอาคารถูกเจ้าหน้าที่รัฐกดดัน
โดยเจ้าหน้าที่เหล่านี้มักมาตรวจสอบอาคารสำนักงานอยู่บ่อย ๆ
เอ็นจีโอด้านสิทธิแรงงานบนแผ่นดินใหญ่มักรายงานเรื่อง
ที่ถูกทางการคุกคามรังควาน เนื่องจากทางการหวาดกลัวว่า กลุ่มเอ็นจีโอ
ซึ่งได้รับเงินทุนจากต่างชาติและคอยเคลื่อนไหวกดดันรัฐบาลอาจเป็นแกนนำ
จัดการผละงานประท้วงครั้งใหญ่ ปลุกปั่นให้มีการเดินขบวนประท้วง
หรือการสร้างความวุ่นวายในสังคม
นายจาง จื่อหรู
ผู้อำนวยการของศูนย์ให้บริการด้านข้อพิพาทแรงงานเซินเจิ้น สปริง บรีซ (
Shenzhen Spring Breeze Labour Disputes Service Centre)
ซึ่งให้ความช่วยเหลือด้านกฎหมายแก่แรงงานกล่าวว่า เขาเช่าอาคารสำนักงาน 7
แห่ง ซึ่งถูกสั่งปิดหมด และสำนักงานของนายจางเป็นเอ็นจีโอรายแรก
ที่ถูกสั่งปิดเมื่อเดือนก.พ. ที่ผ่านมา โดยเจ้าของอาคารได้รื้อป้าย
และตัดน้ำตัดไฟ แม้มีการทำสัญญานาน 3 ปี โดยจ่ายค่าเช่าครบทุกงวดก็ตาม
ด้านนายเฉิน เหมา เจ้าหน้าที่เอ็นจีโอ
ซึ่งทำงานกับศูนย์แรงงานผู้อพยพเซินเจิ้น (Shenzhen Migrant Worker Centre)
มานาน 13 ปี รู้สึกตกใจกับการกวาดล้างขนานใหญ่ของทางการ
ซึ่งเขาไม่เคยพบเห็นมาก่อน โดยสำนักของเขาถูกสั่งปิดเมื่อเดือนพ.ค ที่ผ่าน
อย่างไรก็ตาม
นายเฉินได้ยื่นคำร้องต่อทางการนครเซินเจิ้นเมื่อเดือนที่แล้ว
เพื่อขอทราบเหตุผลของการสั่งปิด โดยนายเฉินยังระบุว่า เจ้าของอาคาร
ซึ่งเป็นที่ตั้งสำนักงานของเขาถูกเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นคุกคามข่มขู่มาตั้งแต่
เมื่อเดือนพ.ย. ปีที่แล้ว แต่นายเฉินมองว่า
ไม่น่าจะมีสาเหตุมาจากที่ทางการกลัวว่า แรงงานอพยพจะก่อความวุ่นวายทางสังคม
ก่อนหน้าการประชุมสมัชชาใหญ่พรรคคอมมิวนิสต์
ซึ่งจะมีขึ้นในปีนี้แต่อย่างใด
(ที่มา)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น