หน้าเว็บ

วันพุธที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2555

แรงงานเป็นเรื่องการต่อสู้แบบสากล

แรงงานเป็นเรื่องการต่อสู้แบบสากล

 

 


เหตุที่จำเป็นต้องต่อสู้แบบเป็นสากล เพราะกรรมาชีพทั่วโลกล้วนเป็นผู้ถูกกดขี่เหมือนกันทั่วโลก การกดขี่ขูดรีดนั้นเกิดจากที่ตัวระบบทุนนิยม ไม่ใช่เป็นการเอารัดเอาเปรียบในลักษณะปัจเจกต่อปัจเจก ดังนั้นแล้วขบวนการแรงงานจึงต้องไม่ทำเฉพาะ การต่อรองเรียกร้องผลประโยชน์ในโรงงานเท่านั้น แต่ขบวนการแรงงานต้องเป็นขบวนการสากล ที่ปลดปล่อยมวลมนุษยชาติผู้ถูกกดขี่ขูดรีดทุกคนด้วย

โดย ฮิปโป

บท ความนี้เป็นส่วนหนึ่งของคำจำกัดความ เกี่ยวกับเรื่องขบวนการแรงงานของ แดน กาลิน (Dan Gallin) ที่เขียนไว้ในหนังสือชื่อว่า The Labor Movement ซึ่งเป็นเอกสารสั้นๆ ที่วิเคราะห์ถึงขบวนการแรงงานโลก ตั้งแต่จุดเริ่มต้นจนถึงยุคปัจจุบัน แต่ในส่วนของบทความชิ้นนี้ ได้หยิบยกแค่เพียงประเด็นบางส่วนมากล่าวถึงเท่านั้นคือ จุดกำเนิดและใจความหลักของขบวนการแรงงานสากล ซึ่งถือว่าเป็นจุดเริ่มต้นของการต่อสู้ของขบวนการแรงงานอย่างที่เห็นใน ปัจจุบัน  

ประวัติศาสตร์และเรื่องราวความเป็นมา ของการเกิดกระบวนการแรงงานนั้น เกิดมาจากการปฏิวัติอุตสาหกรรมของระบบทุนนิยม ซึ่งเป็นเหตุให้เกิดสองชนชั้นใหม่ขึ้นมาคือ ชนชั้นกรรมมาชีพและชนชั้นนายทุน การถือกำเนิดของสองชนชั้นใหม่นี้เอง ที่ทำให้เกิดการกดขี่ขูดรีดและเกิดความเลื่อมล้ำทางชนชั้นสูงขึ้น ด้วยเหตุนี้เองที่เป็นชนวนให้เกิดแนวคิดในการปฏิรูปทางสังคม ก่อเกิดเป็นขบวนการต่อสู้ของแรงงานอย่างเป็นรูปธรรม ในรูปแบบของการเคลื่อนไหวต่อสู้ของสหภาพแรงงาน และในที่สุดการเคลื่อนไหวของแรงงานก็ได้ขยายวงกว้างไปสู่ การเกิดเป็นพรรคการเมืองของแรงงานด้วย โดยมีเป้าหมายและวัตถุประสงค์คือ ทำให้เกิดการปกป้องและคุ้มครองสิทธิขั้นพื้นฐานของแรงงาน และมนุษย์ทุกคนในสังคม สร้างกฎหมายที่เป็นประโยชน์ต่อชนชั้นแรงงาน และปกป้องผลประโยชน์เฉพาะหน้าของผู้ที่เป็นลูกจ้าง 

โดยในช่วงปลาย ทศวรรษ 1830 ได้เกิดกลุ่มที่ต่อสู้เพื่อสังคมมากมาย จากการรวมตัวกันของนักสหภาพแรงงาน นักประชาธิปไตย และนักสังคมนิยม กลุ่มเหล่านี้ได้หลอมเป็นองค์กรอันหนึ่งอันเดียวกันโดยใช้ชื่อว่า “สหพันธ์สากล เพื่อการปลดปล่อยกรรมาชีพ” เพราะจุดประสงค์อย่างเดียวกัน คือการปลดปล่อยชนชั้นกรรมาชีพ และได้ตีพิมพ์หนังสืออย่างเป็นทางการที่ชื่อว่า “สหภาพแรงงาน” โดยมีเนื้อหาใจความหลักในแนวคิดของมาร์กซ์และเองเกลส์ว่า...

“ผู้ใช้แรงงานทั้งหลายเป็นผู้ปลดปล่อยตนเอง ด้วยการลงมือทำเท่านั้น โดยไม่รอให้คนอื่นมาเป็นผู้กระทำ เพราะเป็นไปไม่ได้ที่ชนชั้นอื่นมามาปลดปล่อยชนชั้นกรรมาชีพ ดังนั้นแล้วชนชั้นแรงงานทั้งหลาย จงรวมพลังกันทั่วโลก เพราะระบบทุนนิยมนั้นแพร่กระจายไปทั่วโลก ดังนั้นแล้วกรรมาชีพจึงจำเป็นเชื่อมโยงพลังการต่อสู้ให้เป็นสากล”   

เหตุที่จำเป็นต้องต่อสู้แบบเป็นสากล เพราะกรรมาชีพทั่วโลกล้วนเป็นผู้ถูกกดขี่เหมือนกันทั่วโลก การกดขี่ขูดรีดนั้นเกิดจากที่ตัวระบบทุนนิยม ไม่ใช่เป็นการเอารัดเอาเปรียบในลักษณะปัจเจกต่อปัจเจก ดังนั้นแล้วขบวนการแรงงานจึงต้องไม่ทำเฉพาะ การต่อรองเรียกร้องผลประโยชน์ในโรงงานเท่านั้น แต่ขบวนการแรงงานต้องเป็นขบวนการสากล ที่ปลดปล่อยมวลมนุษยชาติผู้ถูกกดขี่ขูดรีดทุกคนด้วย

ถ้าเราเข้าใจ รูปแบบของการต่อสู้ในลักษณะสากลแล้ว เราจะเข้าใจว่าเราไม่ได้ต่อสู้เพียงลำพัง การต่อสู้ของเราจะเป็นการต่อสู้ ให้กับผลประโยชน์ของคนรุ่นลูกรุ่นหลาน รวมถึงคนที่ยังไม่ได้เกิดเลยด้วยซ้ำ ดังนั้นการต่อสู้ของกรรมชีพ จึงเป็นการต่อสู้เพื่อปลดแอกจากการกดขี่ขูดรีด ของระบบทุนนิยมอย่างแท้จริง

(ที่มา)
http://turnleftthai.blogspot.dk/2012/07/blog-post_1756.html

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น