หน้าเว็บ

วันพุธที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2555

เสรีภาพอินเทอร์เน็ต ในฐานะนโยบายของพรรคการเมือง: ความเคลื่อนไหวระดับสากล

เสรีภาพอินเทอร์เน็ต ในฐานะนโยบายของพรรคการเมือง: ความเคลื่อนไหวระดับสากล

 



โลโก้พรรคไพเรต

 


การสื่อสารทางดิจิทัลโดยเฉพาะทางอินเทอร์เน็ตได้เข้ามาปฏิวัติระบบการ สื่อสาร ทำให้ประชาชนทั่วไปสามารถติดต่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นได้อย่างกว้างขวางและ สะดวกรวดเร็ว ข้อมูลที่ไม่เคยเข้าถึงก็ค้นหาได้ง่ายกว่าแต่ก่อน โดยรวมแล้วน่าจะพูดได้ว่าอินเทอร์เน็ตทำให้ประชาชนมีประชาธิปไตยทางข้อมูล มากขึ้น ความก้าวหน้าแบบก้าวกระโดดของเทคโนโลยีนี้ทำให้หลายฝ่ายโดยเฉพาะรัฐเริ่ม กังวลและหันมาควบคุมการใช้และการแสดงความคิดเห็นบนอินเทอร์เน็ตด้วยเหตุผล ด้านความมั่นคงหรือการรักษาอำนาจ ตัวอย่างก็มีมากมายคงไม่ต้องยกมากล่าวกันอีกในที่นี้ ในขณะเดียวกันก็มีคนอีกกลุ่มหนึ่งที่เชื่อว่าสังคมปัจจุบันจะพัฒนาต่อไปได้ ก็ต่อเมื่อประชาชนมีเสรีภาพอินเทอร์เน็ตอย่างแท้จริง ทั้งการเข้าถึงข้อมูลและการแสดงความคิดเห็นได้อย่างเสรี สองแนวคิดที่แตกต่างนี้คือจุดเริ่มต้นของพลวัตระหว่างการเมืองกับเสรีภาพอิน เทอร์เน็ต

จากโลกออนไลน์มาสู่นโยบายทางการเมือง

ในที่นี้จะขอยกเรื่องราวของพรรคการเมืองพรรคหนึ่งซึ่งถือกำเนิดขึ้นมาท่าม กลางวัฒนธรรมอินเทอร์เน็ตที่กำลังเบ่งบานขึ้นมาเป็นกรณีศึกษา ชื่อว่าพรรคไพเรต (Pirate Party) ที่แปลว่าโจรสลัดนั่นเอง พรรคไพเรตก่อตั้งขึ้นที่ประเทศสวีเดน เมื่อวันที่ 1 มกราคม 2006 [1] โดย ถือว่าตนเองเป็นตัวแทนของผู้คนในยุคสังคมสารสนเทศ (Information society) ชื่อพรรคได้แรงบันดาลใจมาจาก Piratbyrån องค์กรต่อต้านลิขสิทธิ์ของสวีเดน ผู้ก่อตั้งเว็บไซต์ เดอะไพเรตเบย์ (The Pirate Bay) ซึ่งเป็นเว็บไซต์ที่ให้บริการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์โดย ตรงผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ส่วนใหญ่จะนำมาใช้แลกเปลี่ยนข้อมูลต่างๆ โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย เจ้าของธุรกิจดนตรีและภาพยนตร์จึงเรียกคนที่แบ่งปันและดาวน์โหลดข้อมูลเหล่า นี้ว่า “โจรสลัด” แล้วชื่อนี้ก็กลายมาเป็นคำเรียกเหมาโหลของใครก็ตามที่พยายามต่อสู้เพื่อ เสรีภาพในการแบ่งปันข้อมูล

จุดหมายหนึ่งที่พรรคนี้จงใจนำคำว่าโจรสลัดมาใช้เป็นชื่อพรรคก็เพื่อที่จะ กระตุ้นให้คนในสังคมหันกลับมาคิดและตรึกตรองเรื่องการละเมิดลิขสิทธิ์และการ ผูกขาดทรัพย์สินทางปัญญา [2] แต่เดิมอุดมการณ์ของพรรคมีพื้นฐานมาจากหลักจริยธรรมของแฮกเกอร์ (hacker ethic) ที่เชื่อในหลักของการแลกเปลี่ยนข้อมูลโดยเสรีและเรื่องความรู้และไอเดียเป็น สมบัติสาธารณะ

นโยบายหลักของพรรคไพเรตสวีเดนในตอนที่ก่อตั้งคือการปฏิรูปกฎหมายเกี่ยว กับลิขสิทธิ์และสิทธิบัตร การปกป้องสิทธิความเป็นส่วนตัว (privacy) ทั้งในโลกไซเบอร์และในชีวิตประจำวัน รวมถึงความโปร่งใสของระบบบริหารราชการ [3] จำนวนสมาชิกพรรคสะท้อนเหตุการณ์ทางสังคมของสวีเดนในช่วงปี 2006-2009 ได้ดีมากๆ ต้นปี 2006 สมาชิกพรรคมีจำนวน 2,000-3,000 คน ช่วงกลางปี 2006 ตำรวจได้บุกเข้ายึด server ของไพเรตเบย์ ถัดมาไม่กี่วันพรรคไพเรตสวีเดนได้จัดการประท้วงต่อต้านการจับกุมขึ้นและ เมื่อผู้สื่อข่าวรายงานเรื่องนี้ออกไปทำให้พรรคไพเรตเป็นที่รู้จักในวงที่ กว้างขึ้นและปัญหาเรื่องกฎหมายลิขสิทธิ์กลายเป็นประเด็นสังคมในสวีเดน [4] จำนวนสมาชิกพรรคตอนนั้นก็เพิ่มขึ้นเป็นหลักหมื่น

เมื่อศาลตัดสินคดีนี้ในปี 2009 จำนวนสมาชิกพรรคเพิ่มเป็น 50,000 คน [5] ถือเป็นพรรคใหญ่อันดับสามของสวีเดนถ้านับตามจำนวนสมาชิก ในปีเดียวกันนั้นเองพรรคไพเรตสวีเดนได้รับคะแนนเสียง 7.1% จากการเลือกตั้งสมาชิกสภาสหภาพยุโรป (European Parliament) ได้เก้าอี้สมาชิกสภาสหภาพยุโรปมาหนึ่งที่นั่ง [4]

(อ่านต่อ)
http://www.prachatai.com/journal/2012/08/41838

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น