หน้าเว็บ

วันอังคารที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2555

คณะละครใต้ดิน 'เบลารุส' ศิลปะในประเทศเผด็จการสุดท้ายของยุโรป

คณะละครใต้ดิน 'เบลารุส' ศิลปะในประเทศเผด็จการสุดท้ายของยุโรป


ละครของคณะเบลารุส ฟรี เธียร์เตอร์ เรื่อง Numbers
บอกเล่าถึงสถิติสภาพทางสังคมและการเมืองในเบลารุ
(คลิกดู)

คณะละคร 'เบลารุส ฟรี เธียร์เตอร์' (Belarus Free Theater) เมื่อดูเผินๆ อาจจะดูเหมือนคณะละครบันเทิงทั่วไปที่จัดแสดงละครให้ความบันเทิงกับผู้ชมที่ ชื่นชมการแสดงละครของเช็คสเปียร์และอื่นๆ ตามโรงละครในยุโรป แต่เบื้องหลังคณะละครที่มีกันอยู่ราวสิบชีวิตนี้ กว่า 7 ปีของการก่อตั้งคณะละคร พวกเขาต้องเผชิญการคุกคามในรูปแบบต่างๆ จากรัฐบาลเบลารุส - ประเทศเผด็จการสุดท้ายในยุโรป - มาแล้วนับไม่ถ้วน ตั้งแต่ถูกตำรวจเข้าบุกรุกระหว่างการแสดง ไปจนถึงการถูกประกาศตัวว่าเป็น "ศัตรูของรัฐ" เพียงเพราะละครที่พวกเขาจัดแสดง ทำให้สมาชิกบางส่วนต้องลี้ภัยออกมาอาศัยอยู่ที่ประเทศอังกฤษปีกว่าแล้ว 

ในประเทศเบลารุส การเข้าไปชมละครของพวกเขา ก็ใช่ว่าจะสามารถตีตั๋วและเข้าไปชมได้เช่นเดียวกับที่อื่นๆ แต่ผู้ชมจะต้องแสดงความประสงค์ในการชม หาเบอร์โทรศัพท์ของผู้จัดการคณะ และโทรศัพท์ไปหาเพื่อจะรอนัดหมายสถานที่ และเพียงไม่กี่ชั่วโมงก่อนการแสดง ผู้ชมที่ได้รับการติดต่อ จะได้รับการนัดหมายไปยังสถานที่แห่งหนึ่ง และจากนั้น จะมีรถมารับพาไปยังสถานที่ที่คณะเบลารุส ฟรี เธียร์เตอร์จะมีการแสดง ซึ่งก็มักจะเป็นตึก อพาร์ทเมนท์ หรือบ้านร้างที่ห่างไกลสายตาจากเจ้าหน้าที่รัฐ เนื่องจากคณะละครเบลารุสฯ เป็นคณะละครที่ผิดกฎหมายภายในประเทศ เนื่องจากรัฐอนุญาตให้มีเพียงโรงละครที่ควบคุมโดยรัฐเท่านั้น จึงทำให้พวกเขาต้องแสดงกันแบบ "ใต้ดิน" ผู้ชมมักได้รับคำแนะนำให้นำบัตรประชาชนติดตัวไปด้วยเสมอ เพราะถ้าหากถูกจับกุม จะได้รับการปล่อยตัวได้เร็วขึ้น เนื่องจากสามารถแสดงอัตลักษณ์ของตนเองได้ 

"เพราะฉะนั้น เรามักพูดเสมอว่า ผู้ชมชาวเบลารุสเป็นผู้ชมที่มีความกล้าหาญมากที่สุดในโลก" นาตาเลีย โกเลียดากล่าว เธอและนิโกไล กาเลซิน สามีของเธอที่เป็นนักเคลื่อนไหวเพื่อสิทธิมนุษยชน ก่อตั้งคณะละครเบลารุส ฟรี เธียร์เตอร์ขึ้นมาในปี 2005 เพื่อแสดงละครเกี่ยวกับเรื่องต้องห้ามต่างๆ ในสังคม ไม่ว่าจะเป็นเรื่องชนกลุ่มน้อยทางเพศ การลักพาตัว โทษประหารชีวิต ไปจนถึงนักโทษการเมือง พวกเขาได้มาเยือนกรุงเทพฯ เมื่อต้นเดือนที่ผ่านมา เพื่อมาเก็บข้อมูลเรื่องโทษประหารชีวิตในเมืองไทย ก่อนที่จะเดินทางต่อไปมาเลเซีย ในโอกาสนี้ พวกเขาได้นำเสนอกิจกรรมและผลงานของคณะละครให้กับผู้ที่สนใจในเมืองไทยด้วย

(อ่านต่อ) 
http://www.prachatai.com/journal/2012/08/42340

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น