หน้าเว็บ

วันอังคารที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2555

สถาบันกษัตริย์ในอุษาคเนย์กับกระแสการเปลี่ยนแปลง

สถาบันกษัตริย์ในอุษาคเนย์กับกระแสการเปลี่ยนแปลง



  
โดย ปวิน ชัชวาลพงศ์พันธ์ 
นักวิชาการจากสถาบันเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มหาวิทยาลัยเกียวโต 

 
เมื่อวันที่ 25 สิงหาคม มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ร่วมกับร้านหนังสือ Book Re : public จัดเวทีเสวนา "สถาบันกษัตริย์ในโลกปัจจุบันและอนาคต" นำโดย ปวิน ชัชวาลพงศ์พันธ์  นักวิชาการจากสถาบันเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มหาวิทยาลัยเกียวโต ณ ร้าน Book Re : public มีเนื้อหาสาระที่น่าสนใจดังนี้ 
ผม อยากพูดถึงสถาบันกษัตริย์ในบ้านใกล้เรือนเคียงเป็นตัวอย่าง ซึ่งจะสะท้อนว่าถ้าสถาบันกษัตริย์ไม่มีการปรับตัว โอกาสจะอยู่รอดจะเหลือน้อย ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ประเทศที่ยังคงมีระบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์หลงเหลืออยู่มี 4 ประเทศ คือประเทศไทย บรูไน มาเลเซีย และกับพูชา เราจะมาดูตัวอย่างประเทศเพื่อนบ้านในเอเชีย จะพบว่ามีทั้งประเทศที่สถาบันกษัตริย์มีการปรับตัว  และประเทศที่ฝ่าฝืนกฎเกณฑ์ธรรมชาติ ไม่ยอมปรับตัวจนนำไปสู่ความล่มสลาย

วันนี้ผมอยากพูดถึงปัจจัยที่ทำให้สถาบันกษัตริย์ยังคงอยู่ และดูว่าสถาบันกษัตริย์มีการเปลี่ยนแปลงในสภาพสังคมที่มันเปลี่ยนไปหรือไม่  และจะยังอยู่ร่วมกับประชาธิปไตยได้หรือไม่ 

 อย่าง ที่เราทราบกันในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เดิมประเทศส่วนใหญ่ก็อยู่กับระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ แต่ก็มีการยกเลิกไปแล้วในหลายประเทศ เช่น พม่า เวียดนาม ลาว ส่วนที่ยังคงหลงเหลือระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มี 4 ประเทศ ซึ่งมีระดับการครอบงำที่ต่างกันไป

กรณีของบรูไน ถือว่าเป็นสมบูรณาญาสิทธิราชย์เต็มรูปแบบเมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ  ซึ่ง กษัตริย์ก็ต้องพิสูจน์ตัวเองว่ามีความชอบธรรมหรือไม่ ต้องมองรอบๆ ตัวหมายถึงประเทศอื่นๆ และนานาประเทศด้วยว่ามีการปรับเปลี่ยนไปอย่างไรบ้าง ในส่วนกัมพูชา  สถาบันกษัตริย์ตกอยู่ใต้การครอบงำของพลเรือนคือฮุนเซ็น ฮุนเซ็นถือเป็นผู้นำที่อยู่ในอำนาจมายาวนานที่สุด ซึ่งต่างจากประเทศอื่นๆ


ใน มาเลเซีย ไม่มีการยกสถาบันกษัตริย์ให้เป็นเทวราชา ประชาชนสามารถตรวจสอบได้ มองย้อนหลังช่วงการเลือกตั้งมาเลเซียเมื่อ 4 ปีที่แล้ว สถาบันกษัตริย์ก็มีส่วนเกี่ยวข้องกับการเมืองในการเลือกตั้ง โดยนักการเมืองนำเอาสถาบันกษัตริย์มาเป็นเครื่องมือ มีการรณรงค์ให้ประชาชนออกมาคัดค้าน แต่มาเลเซียก็โชคดีที่ไม่มีกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพเหมือนไทย ก็เลยไม่เป็นปัญหาเท่าไรนัก
กรณีเนปาล-ภูฏาน
ถ้ามองไปทั่วโลก  ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์นี้แทบไม่หลงเหลืออยู่แล้ว  และ บางคนก็มองว่าเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาประชาธิปไตย ยกเว้นประเทศอังกฤษที่สถาบันกษัตริย์ยังคงอยู่ได้ เพราะมีพื้นที่ให้ประชาชนในการออกมาแสดงความคิดเห็น และสถาบันกษัตริย์ก็มีการปรับตัวให้เข้ากับระบอบประชาธิปไตย

ย้อน กลับมาดูในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เราจะดูว่าปัจจัยอะไรที่ทำให้สถาบันกษัตริย์อยู่รอด กรณีเนปาล สิ่งที่เราคิดว่าไม่น่าจะเกิดขึ้น ก็สามารถเกิดขึ้นได้ และถือเป็นการเปลี่ยนแปลงของสถาบันกษัตริย์ที่ค่อนข้างรุนแรง อยากจะเปรียบเทียบกับประเทศภูฏาน เพราะมีบริบทใกล้เคียงกัน  กรณี เนปาลอย่างที่รู้ว่าราชวงศ์สุดท้ายก็ล่มสลายไปแล้ว ตอนนี้เป็นสาธารณรัฐไปแล้ว แต่ก่อนล่มสลายได้เกิดโศกนาฎกรรมเมื่อพระบรมโอสาธิราช หยิบปืนสังหารกษัตริย์ พระราชินี  และ ตัวพระองค์เอง ส่วนสาเหตุของการสังหารก็ว่าไปต่างๆ นานา แต่เหตุการณ์นี้นำไปสู่จุดจบของสถาบันกษัตริย์ เมื่อมีการแต่งตั้งลุงเป็นกษัตรย์ สถาบันกษัตริย์รวบอำนาจไว้ส่วนกลางอย่างมาก มีการประกาศภาวะฉุกเฉิน จนถูกต่อต้านจากประชาชนอย่างมาก และนำไปสู่การล้มสถาบันกษัตริย์ในที่สุดตามที่เราทราบกันดี

ส่วน กรณีภูฏานก็มีการปรับตัว โดยเราจะเห็นความเป็นมนุษย์มากขึ้น มีการเลือกตั้ง เพราะคิดว่าอาจจะเห็นตัวอย่างของเนปาล ถ้าจะอยู่ในตำแหน่งนี้ต่อไป จำเป็นต้องอยู่ร่วมกับประชาชน มีการเปลี่ยนผ่านอย่างค่อยเป็นค่อยไป  โดย กษัตริย์จะเป็นตัวกำหนดทิศทาง มีการพูดกันในภูฏานว่ากษัตริย์จิกมีมีความกังวลใจว่ากรณีเนปาลจะกลายเป็น โดมิโนมาถึงภูฏานได้จึงชิงปรับตัวก่อน

ผม คิดว่ากษัตริย์เองก็มีการติดต่อสื่อสารกันตลอด ดังนั้นการเปลี่ยนแปลงของภูฏานก็น่ามาจากเหตุของเนปาลได้ กษัตริย์จิกมีมีการเปิดรับประชาธิปไตยแบบค่อยเป็นค่อยไป โดยสถาบันกษัตริย์ ยังมีอำนาจหลงเหลืออยู่ นำไปสู่การเลือกตั้งครั้งแรก และอย่างที่หลายฝ่ายคาดการณ์คือทั้งพรรครัฐบาล และฝ่ายค้านต่างนิยมเจ้า ในทางตรงข้ามกษัตริย์จิ๊กมีก็ครอบงำในด้านอื่นๆ เป็นการลดอำนาจกษัตริย์เพื่อจะครอบงำประชาธิปไตยนั่นเอง  

ข้อแตกต่างของเนปาลกับภูฏาน ภูฏานยังไม่มีการต่อต้านสถาบัน  ทำให้กษัตริย์จิกมีสามารถควบคุมประเทศได้มาก  แต่เนปาลประชาชนต่อต้านสถาบันกษัตริย์อย่างมาก 

เอเชียตะวันออกเฉียงใต้
กรณีไทย วิกฤตทางด้านการเมือง นำไปสู่การใช้สถาบันมาใช้เป็นเครื่องมือด้านการเมืองโดยกลุ่มอนุรักษ์นิยม  ใน การให้ได้มาเพื่อประโยชน์ส่วนตน ความพยายามในการสร้างปฏิปักษ์ทางด้านการเมืองส่งผลลบต่อสถาบันกษัตริย์ สร้างความสั่นคลอน ดึงสถาบันกษัตริย์ลงมาเกลือกกลั้วกับการเมือง

การ ดึงสถาบันเข้ามามีส่วนร่วมกับการเมือง ทำให้สาธารณะชนตั้งคำถามอย่างมาก ดังนั้นจึงมีความเห็นว่าสาธารณะชนน่าจะแสดงความเห็นต่อสถาบันได้ ปัญหาของไทยคือกลุ่มอนุรักษ์นิยม ไม่ได้อยู่กับความเป็นจริงเอาสถาบันมาเป็นเครื่องมือ ไม่เปิดโอกาสให้มีการวิพากษ์วิจารณ์  วิธีการต่อต้านก็ใช้กฎหมายหมิ่น  ลืมไปว่าสังคมไทยนั้นเติบโต  กระแสประชาธิปไตยที่เกิดขึ้นในโลก และไม่อาจปิดกั้นกระแสการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นทั่วโลกได้

ในบรูไน มีการสร้างความชอบธรรมให้สถาบันกษัตริย์ บนความยึดมั่นในศาสนาอิสลาม ความเชื่อมั่นในชาติ  ศาสนา พระมหากษัตริย์ อุดมการณ์นี้ได้รับการต่อต้านจากคนกลุ่มน้อยในบรูไน ที่ไม่ใช่มุสลิม เช่นชาวจีน จะรู้สึกว่าถูกริดรอนสิทธิ การปกครองด้วยระบบสมบูรณาสิทธิราชย์ที่ผูกกับอิสลามมันยิ่งเลวร้าย และเขารู้สึกว่าสถาบันกษัตริย์มีส่วนในการสร้างความแตกแยกของประเทศ แต่อย่างไรก็ตามชนกลุ่มน้อยนี้ถือว่าน้อยมาก เพราะประชาชนส่วนใหญ่เป็นมุสลิม จึงไม่ค่อยมีผลกระทบเท่าไหร่นัก 

ใน บรูไนก็มีเรื่องอื้อฉาวของสถาบันกษัตริย์ น้องชายของกษัตรย์ (เจฟรีย์) ได้รับมอบหมายให้เป็น รมต.คลัง และก่อปัญหาคอร์รัปชั่น ได้รับมอบหมายให้เป็นผู้นำเจรจากับต่างประเทศในการค้าขายก๊าซธรรมชาติ ดูแลเรื่องการลงทุนเรื่องการค้าขายน้ำมัน ก๊าชธรรมชาติโดยเฉพาะ นอกจากนี้เจฟรีย์ยังมีธุรกิจส่วนตัวในเรื่องนี้ด้วย แต่ปัญหาคือเงินที่ได้จากการซื้อขายน้ำมันเป็นจำนวนหลายหมื่นล้านกลับหายไป

จาก กรณีตัวอย่างที่กล่าวมาทั้งหมดจึงอยากสรุปว่าความอยู่รอดของสถาบันกษัตริย์ นั้นขึ้นอยู่กับไหวพริบของสถาบันกษัตริย์ และคนที่อยู่รอบตัวต้องพยายามปรับตัวให้เข้ากับประชาธิปไตย รวมไปถึงการสร้างภาพลักษณ์ตัวเองในการอยู่รอดด้วย

การปรับตัวต้องทำใน 2 ระดับ คือระดับปัจเจกบุคคล กษัตริย์ต้องสะท้อนความโปร่งใส รับผิดชอบต่อสังคม เป็นแบบอย่างของการประพฤติที่ดี เป็นธรรมราชา ซึ่งมีความแตกต่างจากเทวราชา คือเน้นความเป็นมนุษย์มากกว่า ไม่ใช่เหนือมนุษย์ หากสถาบันกษัตริย์สามารถนำธรรมราชามาใช้อย่างมีไหวพริบ ก็จะมีส่วนสร้างพลานุภาพให้กับสถาบันกษัตริย์ได้ กรณีเนปาลนั้นเป็นเพราะกษัตริย์องค์สุดท้ายขาดความชอบธรรมด้านศาสนา รวบอำนาจมาไว้ที่ตัวเอง จึงพบกับจุดจบดังกล่าว 
ใน ระดับชาติ เป็นความเชื่อผิดๆ ที่ว่าสถาบันกษัตริย์อยู่รอดได้เพราะกองทัพ โดยอ้างถึงความจำเป็นที่ต้องคงไว้ซึ่งความมั่นคง การก่อรัฐประหารในไทย ก็กล่าวอ้างว่าทักษิณเป็นภัยต่อความมั่นคง ซึ่งกลายเป็นปัญหา ในสมัยปัจจุบันโลกมันเปลี่ยนไปมาก เราจะเห็นว่าภารกิจของกองทัพมันเปลี่ยนไป กลายเป็นกองทัพที่ปราบปรามประชาชน

นอก จากนี้เรื่องการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ มีผลโดยตรงต่อสถาบัน กรณีเนปาลนั้นคนจนเยอะมาก เลยเป็นปัญหา กรณีไทย มีการพัฒนาเศรษฐกิจพอสมควร แต่ยังมีปัญหาบ้าง แต่ไม่คิดว่าเป็นปัจจัยที่จะสั่นคลอนสถาบัน เพราะเศรษฐกิจของเรายังพัฒนาต่อไปได้แม้ในช่วงที่มีความขัดแย้งทางการ เมืองอย่างมาก

เรื่อง สุดท้ายสถาบันกษัตริย์จะอยู่รอดได้หรือไม่ยังขึ้นอยู่การสนับสนุนจากต่าง ประเทศ และพันธมิตร กรณีเนปาลนั้นเห็นชัดเจนว่าจากเดิมที่เคยเป็นพันธมิตรที่ดีกับอินเดีย เมื่อเนปาลหันไปร่วมมือกับจีน ทำให้อินเดียไม่พอใจ จึงไม่ให้การสนับสนุนสถาบันเมื่อเกิดปัญหากับประชาชน  ใน ส่วนของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มักจะขอความชอบธรรมจากสหรัฐฯ เป็นต้น ความอยู่รอดของสถาบันกษัตริย์จึงอยู่ที่การบริหารความสัมพันธ์ทั้งในประเทศ นอกประเทศ และกับสถาบันต่างๆ ในสังคม และการปรับตัวอยู่ร่วมกับประชาธิปไตย.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น